5 ก.พ. 2021 เวลา 13:21
คุณก็อาจเป็นอัจฉริยะ แค่ยังไม่ถึงเวลาเปิดเผยตัว
.
.
หลายครั้งเรามักจะได้ยินเรื่องราวของเด็กที่มีไอคิวเกิน 140 ขึ้นไป เพราะเด็กที่มีไอคิวอยู่ในระดับนี้ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มของคน “อัจฉริยะ” และทุกครั้งที่มีการวัดผล พบว่าเด็กกลุ่มนี้จะเกิดเป็นความสนใจจากคนจำนวนมาก
.
ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1920 ลูวิส เทอร์แมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดผู้บุกเบิกการทดสอบไอคิว (IQ) เขาเชื่อว่าผลการทดสอบนี้จะเป็นตัวบ่งบอกความเป็นอัจฉริยภาพภายในตัวของเด็ก
.
จากการที่ลูวิสได้ทำการทดลองตามติดวิถีชีวิตของเด็กในแคลิฟอร์เนียกว่า 1,500 คน โดยเป็นเด็กที่มีไอคิวสูงกว่า 140 แต่ผลการทดลองพบว่า มีเด็กอัจฉริยะอยู่จำนวนหนึ่งที่เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยต่อไม่ไหว ซึ่งทำให้ลูอิสพบว่า ความเป็นอัจฉริยะมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและลึกกว่าที่เขาคิด
.
การเป็นอัจฉริยะไม่ได้มาพร้อมกับเด็กแรกเกิดเสมอไป
.
David Galenson นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Chicago พบว่าความเป็นอัจฉริยะไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาให้เห็นตอนอายุน้อยเท่านั้น แต่ความเป็นอัจฉริยะอาจจะถูกแสดงให้เห็นได้ในช่วงอายุกลางคนหรืออายุที่กำลังเข้าใกล้ 50 ปี
.
ดังนั้น อัจฉริยะจึงมี 2 ประเภท
.
ประเภทที่ 1 เด็กที่แสดงความเป็นอัจฉริยะตั้งแต่อายุยังน้อย
.
หลายคนอาจจะคิดว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นคนที่มีไอคิวมากที่สุดในโลก เพราะเขามีไอคิวถึง 205-225 แต่เราขอย้อนกลับไปถึงเรื่องราวของเด็กผู้ชายที่ชื่อว่า William James Sidis คนที่ถูกนิยามว่า “เป็นคนที่ฉลาดที่สุดในจักรวาล” ความสามารถของ William James Sidis คือ อ่านภาษารัสเซียได้ในวัย 1 ขวบ, อ่านภาษาอังกฤษได้ในวัย 3 ขวบ และต่อมาเขาอ่านภาษาในโลกได้มากถึง 200 ภาษา และยังสามารถเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย Harvard Law School ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดอีกด้วย
.
ทำไมถึงไม่มีคนจดจำชื่อของ William James Sidis ในฐานะคนที่ฉลาดที่สุดในจักรวาล
.
เพราะหลังจากที่ William James Sidis จบการศึกษา Law School ชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไป เขากลายเป็นบุคคลที่ไม่แสวงหาความรู้, ไม่ทำงาน เกิดเป็นกระแสถามถึงเหตุที่ว่าทำไมเขาจึงเป็นเช่นนี้? บางคนบอกว่าพ่อแม่กดดันเขามากเกินไป, เขาฉลาดเกินไป และบางคนบอกว่าเขาปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ ทำให้ความเป็นอัจฉริยะของเขาหยุดลงที่อายุ 17 ปี
.
ประเภทที่ 2 คนที่เปิดเผยความเป็นอัจฉริยะออกมาในวัยกลางคน
.
คนกลุ่มนี้ที่ไม่เผยความเป็นอัจฉริยะออกมาในตอนเด็ก อาจเป็นเพราะว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เด็กถูกปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์จากกรอบแนวคิดบางอย่างไว้ อย่างเช่น เรื่องราวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในวัยเด็กเขามีผลการเรียนแย่ และยังมีความผิดปกติในการอ่านและเขียนอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะอาการของเด็กที่เป็นโรค Dyslexia หรือ โรคที่มีความบกพร่องทางการอ่านและการเขียน แต่สุดท้ายเขาก็กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วโลกต่างรู้จัก
.
ชาร์ลส์ ดาร์วิน ในวัยเด็กเขาถูกจัดอยู่ในกลุ่มของเด็กไม่เก่ง แต่เมื่อเติบโตขึ้นมา เขาได้กลายเป็นนักธรรมชาติวิทยา นักธรณีวิทยา และนักชีววิทยา ที่เสนอทฤษฎีซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่
.
.
โดยกลุ่มคนที่เป็นอัจฉริยะประเภทที่ 2 อาจจะถูกป้อนข้อมูลบางอย่างที่ทำให้ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ในสมอง จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการปะติดปะต่อความคิด ผ่านการลองผิดลองถูก และกระบวนการสังเกตและวิเคราะห์ ส่งผลให้ความเป็นอัจฉริยะในตัวกว่าจะเผยออกมาก็ถึงวัยกลางคนแล้ว
.
ดังนั้น ความเป็นอัจฉริยะจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง และความเป็นอัจฉริยะไม่ได้เป็นตัวกำหนดทิศทางของชีวิต สิ่งที่จะกำหนดทิศทางความเป็นอัจฉริยะได้คือ การฝึกฝนเรียนรู้ในแบบที่เหมาะกับตัวเอง
.
R. Buckminster Fuller เคยกล่าวไว้ว่า “ทุกคนเกิดมาเป็นอัจฉริยะ แต่วิธีการดำเนินชีวิตทำให้พวกเขาไม่เป็นอัจฉริยะ”
.
อ้างอิง:
5
โฆษณา