9 ก.พ. 2021 เวลา 05:06 • ปรัชญา
การพัฒนางานของตัวเองด้วยการเพิ่ม "วัตถุดิบ" ในตัว
1
ถ้าคุณรู้สึกว่าทำงานในส่วนที่ตัวคุณเองทำมาได้ดีในระดับนึงแล้ว แต่รู้สึก "ตัน" ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านคำว่า "ดี" ไปเป็น "ดีมาก" หรือ "ยอดเยี่ยม" ได้
3
บางทีสิ่งที่คุณควรทำอาจจะไม่ใช่แค่การศึกษาเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งขึ้นหรือว่าลงมือทำเรื่องนั้นๆ ให้มากขึ้นเพื่อหวังว่าจะทำออกมาได้ดีขึ้นและเชี่ยวชาญขึ้น แต่สิ่งที่คุณต้องเพิ่ม อาจจะเป็นเป็น "วัตถุดิบ" ที่มีอยู่ในตัวคุณด้วย
2
คำว่า "วัตถุดิบ" หมายความว่ายังไง?
I-shaped VS Generalist VS T-shaped (https://bowkraivanich.com/how-to-be-creative/)
"วัตถุดิบ" ในที่นี้คือคลังความรู้หรือศาสตร์ของความรู้ที่คุณมีอยู่ในตัว มันโอเคนะที่คุณจะมีความรู้เชิงลึกในบางเรื่อง แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นการรู้ให้กว้างด้วยจะเป็นสิ่งที่จะมาเสริมงานเชิงลึกของคุณหรือเชื่อมโยงงานต่างๆ เข้าด้วยกันได้ดีมากขึ้น ว่าง่ายๆ คือการทำตัวเองให้มี T-Shaped Skills (https://en.wikipedia.org/wiki/T-shaped_skills)
4
ถ้าคุณเป็นนักธุรกิจ การเพิ่มความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจะช่วยทำให้ธุรกิจก้าวหน้าขึ้น เพราะมันจะทำให้คุณบริหารจัดการสภาพคล่องและรู้จักการ Leverage พลังของเงินตราได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ถ้าคุณเป็น Designer การเพิ่มความรู้เรื่อง Marketing จะทำให้งานออกแบบต่างๆ ของคุณถูกทำออกมาให้ตอบโจทย์ธุรกิจได้มากขึ้น งานของคุณก็จะมีคุณค่าขึ้น
ถ้าคุณเป็นนักขาย การเพิ่มความรู้เรื่องจิตวิทยา จะทำให้คุณขายดีขึ้น เพราะคุณเข้าใจสิ่งที่คนคิดและตัดสินใจมากขึ้น
4
โดยสรุปคือวัตถุดิบเป็นองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่คุณมี ยิ่งคุณมีวัตถุดิบให้เลือกใช้มากเท่าไหร่ คุณยิ่งจับต้นชนปลายและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้มากเท่านั้น
แล้วคุณจะสามารถเพิ่มวัตถุดิบในหัวได้ยังไงบ้าง?
1. อ่านหนังสือ
การอ่านหนังสือเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มวัตถุดิบในหัวเพราะ 1. โดยมากแล้ว หนังสือจะเป็นที่ที่รวบรวมประสบการณ์หรือหลักการที่ผู้เขียนกลั่นกรองมาแล้ว 2. หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง
1
ตัวอย่างที่ผมชอบเป็นของ Elon Musk ที่ให้ความสำคัญไปกับการอ่านหนังสือไล่ไปตั้งแต่การเขียนโปรแกรม ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ ไปจนถึงเรื่องศาสนาและปรัชญา ซึ่งคนอย่าง Elon Musk นั้นเป็นคนแบบ Expert-Generalists (คำศัพท์คำนี้ถูกเรียกครั้งแรกโดย Orit Gadiesh ที่เป็น Chairman ของ Bain & Company)
3
ความหมายของ Expert-generalist คือการเป็นคนที่ศึกษาและรู้รอบในหลายๆ ด้าน ทำความเข้าใจหลักการในแต่ละด้านและประยุกต์ใช้และเชื่อมโยงหลักการเหล่านั้นกับความเชี่ยวชาญของตัวเอง
1
Note: อย่างนึงที่ผมชอบมาก คือเห็นครั้งแรกแล้วรู้สึกขำเลยคือ มีคนชอบถาม Elon Musk ว่าเขาเรียนรู้การสร้างจรวดมาจากไหน ซึ่งคำตอบของเขามีอยู่สั้นๆ แค่ 3 คือคือ "I read books"
1
2. ไปเรียนรู้จากคนอื่น
การเรียนรู้จากคนอื่นโดยเฉพาะคนที่อาจจะมาจากอุตสาหกรรมหรือมีความเชี่ยวชาญที่ต่างจากคุณก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณเพิ่มวัตถุดิบในหัว
วิธีการเรียนรู้จากคนอื่นที่ง่ายที่สุดคือลองไปงานอีเวนต์ งานสัมมนา หรืองาน Meetup อะไรก็แล้วแต่ที่พูดคุยในหัวข้อที่คุณสนใจ (แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ลึกหรือยังไม่เชี่ยวชาญ)
หรืออีกวิธีที่น่าสนใจคือการไปเข้าค่ายหรือเข้าร่วมอบรมระยะยาว (หรือมี Community ที่เข้มแข็ง) ซึ่งตัวอย่างค่าย/ที่อบรมดีๆ นั้นมีอยู่หลายที่เช่น YMC, JUMC, RE-CU และ ABC เป็นต้น
1
นอกจากนั้นแล้ว การลองหา Mentor (ที่ปรึกษา) ที่มีประสบการณ์มากกว่าคุณ ก็สามารถช่วยเพิ่มวัตถุดิบให้กับคุณเพื่อเตรียมความพร้อมให้คุณก้าวไปสู่ขั้นถัดไปได้เช่นเดียวกัน เช่นถ้าตอนนี้ธุรกิจของคุณตอนนี้มียอดขายสิบล้าน และต้องการเพิ่มเป็นร้อยล้าน คุณก็อาจจะเข้าไปขอคำปรึกษากับนักธุรกิจที่มียอดขายร้อยล้าน
1
Note: ถามว่าคุณจะสามารถเข้าถึง Mentor ของคุณได้ยังไง? วิธีการที่ผมคิดว่าน่าดีก็คือการไปงานอีเวนต์หรือการเข้าค่ายอบรมนี่แหละครับ คอนเนกชั่นดีๆ จะเกิดขึ้นที่นั่น แต่ถ้าคุณรอสร้างคอนเนกชั่นไม่ไหว การทักเข้าไปพูดคุยกับคนที่คุณอยากขอคำปรึกษาเลยก็สามารถทำได้ครับ ผมคิดว่าถ้าคุณตั้งใจ จริงใจ เข้าหาอย่างเหมาะสม รวมไปถึงมีคำขอที่ชัดเจน (เช่นขอเวลาคุยโทรศัพท์ 15-30 นาที) โอกาสที่คุณจะได้รับคำปรึกษาก็จะมีอยู่ไม่น้อยแน่ๆ ครับ
1
3. ออกเดินทาง
การออกเดินทางไปที่ใหม่ๆ จบเจอโลกใหม่ๆ คนใหม่ๆ ที่ใช้ชีวิตและมีวิธีคิดไม่เหมือนกับคุณ ก็จะช่วยให้คุณได้รับวัตถุดิบใหม่ๆ ที่เอามาต่อยอดได้เช่นเดียวกัน คำแนะนำของผมคือให้ลองออกเดินทางไปในที่ที่ออกจาก Comfort Zone ของคุณครับ
2
ผมเคยออกเดินทางไกลมา และก็มีหลายอย่างที่ผมได้เรียนรู้ครับ ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ "6 ข้อคิดทางธุรกิจที่ผมเรียนรู้หลังจากเดินทางมาครึ่งค่อนโลก" (https://sitthinunt.com/entrepreneurship/business-lessons-from-travel/)
5
สรุป
สิ่งที่จะทำให้งานของคุณออกมาดีและแตกต่างนั้น นอกจากความตั้งใจในตอนที่คุณสร้างสรรค์ผลงานแล้ว วัตถุดิบที่คุณมีก็เป็นเรื่องสำคัญ
เอาจริงๆ เลยคือถ้าวัตถุดิบในตัวคุณมีน้อย ตั้งใจยังไงผลลัพธ์ก็ออกมาน้อย แต่ถ้าวัตถุดิบในตัวคุณมีมาก โอกาสที่จะหยิบจับมันออกมาเชื่อมโยงกันก็จะมากขึ้นไปด้วย
เพราะฉะนั้นแล้วมาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไปด้วยกันนะครับ :)
1
Note: คุณโบ Partner ของผมที่ Magnetolabs เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ไว้ ซึ่งมันขยายความสิ่งที่ผมแชร์ในบทความนี้ได้ดีเลย ผมแนะนำให้คุณไปอ่านต่อได้ที่ "อย่าเพิ่งไปคิดที่จะ Creative หากเรานั้นยังไร้ซึ่งประสบการณ์" (https://bowkraivanich.com/how-to-be-creative/)
1
บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกที่ https://sitthinunt.com/self-development/work-improvement/
ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ Entrepreneurship, Self-Development, Talent Management & Productivity เป็นประจำ
ไม่พลาดบทความดีๆ ที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพียงเลือกติดตามผ่านทางช่องทางด้านล่าง :)
4. LINE: https://lin.ee/ac2WqRU หรือแอด LINE ID: @sitthinunt
หรือเข้าไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในเว็บไซต์อื่นของผมได้ที่ https://magnetolabs.com/blog/ และ https://contentshifu.com/author/bank/
โฆษณา