7 ก.พ. 2021 เวลา 08:00 • ธุรกิจ
เปิดร้านไปแล้วซักพักอยากจดบริษัทควรเริ่มยังไงดี ?
2
เปิดร้านไปแล้วซักพักอยากจดบริษัทควรเริ่มยังไงดี
(แนะนำให้แชร์เก็บไว้เลย)
เชื่อว่าคงมีหลายคนที่กำลังคิดว่า เราเปิดร้านมาตั้งนานแล้ว
ไม่เคยคิดจะจดบริษัทมาก่อน ที่ผ่านมาก็จัดการแบบบ้านๆมาตลอด
1
ที่นี้พอวันนึงอยากทำให้มันถูกต้องเพื่อที่จะได้โตต่อได้
แบบไม่ต้องกลัวโดนภาษีย้อนหลัง ควรจะต้องเริ่มยังไงดี
ขั้นตอนจะยุ่งยากมั้ย
1
วันนี้ผมเลยทำการสรุปขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนจดบริษัท
ออกมาเป็นลำดับขั้นตอนง่ายๆ เพื่อที่คุณจะสามารถเอาไปปรับใช้
และให้มีความพร้อมก่อนจะทำการจดบริษัทได้ ดังนี้
3
1. ทำการจดทะเบียนพาณิชย์ (ทะเบียนการค้า)
กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าหากคุณประกอบธุรกิจ
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น
จะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์หรือที่เราเรียกว่าทะเบียนการค้า
หลังจากเริ่มธุรกิจแล้วไม่เกิน 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับ
จริงๆแล้วการจดทะเบียนพาณิชย์นั้น
ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการจดนิติบุคคลเพราะเป็นคนละเรื่องกัน
การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นเป็นการบอกว่า คุณได้เริ่มต้นประกอบกิจการ
อย่างถูกต้องและเปิดเผย มีหลักแหล่งและสถานที่ตั้งของกิจการชัดเจน
มีชื่อปรากฎอยุ่ในระบบการค้าของประเทศอย่างถูกต้อง
เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ฉะนั้นต่อให้ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอย่างน้อย
ก็ควรรีบไปจดทะเบียนพาณิชย์ให้เรียบร้อยก่อนที่จะโดนปรับ
และส่งผลต่อธุรกิจคุณ
2. แยกเงินส่วนตัวกับเงินร้าน
อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ร้านอาหารที่เปิดมานานที่ไม่ได้จดบริษัท
ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ทำการแยกเงินส่วนตัวของเจ้าของ
กับเงินของร้านออกจากกันออกชัดเจน
เมื่อไหร่ที่เงินขาดก็หยิบเงินจากทางร้านไปใช้ส่วนตัว
ร้านหมุนเงินไม่ทันก็เอาส่วนตัวไปจ่ายแทน
1
ทำให้สุดท้ายไม่รู้ว่าธุรกิจเรากำไรหรือขาดทุนจริงๆเท่าไหร่
หากไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ก่อนจดบริษัทแล้วรับรองได้ว่า
จะยิ่งปวดหัวหนักกว่าเดิมแน่นอน
ทางที่ดีคือการตั้งเงินเดือนตัวเองให้ชัดเจนให้พอต่อการใช้จ่าย
ในแต่ละเดือนจะมีพี่น้องพ่อแม่กี่คนก็ควรจะตั้งเป็นเงินเดือนให้หมด
แต่ถ้าไม่อยากจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปี
ก็แนะนำให้ตั้งเงินเดือนตัวเองไม่เกินเดือนละ 25,000 บาทโดยประมาณ
เพราะเป็นเรตรายได้ต่อเดือนที่ต่ำที่สุดที่จะไม่ต้องเสียภาษี
(แต่ก็ต้องทำการยื่นภาษีนะ)
3
3. แยกค่าใช้จ่ายออกเป็นหมวดๆให้ครบ
1
พอคุณทำการตั้งเงินเดือนส่วนตัวของเจ้าของร้านเรียบร้อยแล้ว
สิ่งที่จำเป็นต้องทำต่อมาคือ การแยกค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกมาให้ชัดเจน
เป็นหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น
ค่าวัตถุดิบ (Cost of goods sold)
ค่าพนักงาน (Labor costs)
ค่าเช่าร้าน (Rent)
ค่าน้ำไฟ (Utilities costs)
ค่าการตลาด (Marketing costs)
ไปจนถึงค่าใช้จ่ายจิปาถะ (Miscellaneous) ฯลฯ
4
เพื่อที่จะทำให้คุณรู้ว่าคุณมีค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดอยู่เท่าไหร่ต่อเดือน
เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ โดยที่ต้องมีการบันทึกค่าใช้จ่ายทุกอย่างให้ครบ
และถูกต้องทั้งหมด ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่คุณได้มา
อาจไม่สะท้อนภาพรวมธุรกิจคุณทั้งหมด
4. จ้างนักบัญชีมาวางระบบบัญชี
หลายคนอาจจะงงว่าในเมื่อเรายังไม่จดบริษัท
แล้วเราจะรีบจ้างนักบัญชีมาทำไม
การที่ร้านคุณจ้างนักบัญชีมาวางระบบไว้ก่อนที่จะทำการจดบริษัทนั้น
เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากคุณทำการจดบริษัทก่อน
แล้วค่อยว่าจ้างนักบัญชีมาวางระบบบัญชี
จะสร้างความปวดหัวให้กับทั้งทางร้านที่จะต้อง
ทำการเปลี่ยนวิธีการทำงานการจัดการเอกสารใหม่ทั้งหมด
รวมถึงตัวนักบัญชีเองที่ก็คงไม่เข้าใจรูปแบบการทำธุรกิจของคุณ
และสับสนกับรูปแบบเอกสารที่ควรจะเป็น
ส่งผลให้อาจมีปัญหาตอนส่งข้อมูลให้สรรพากรในแต่ละเดือนได้
2
การจ้างนักบัญชีมาวางระบบให้ร้านก่อนจะทำให้คุณมีเวลา
ในการเรียนรู้ขั้นตอนการจ่ายเงินทั้งเงินเดือนพนักงาน
ค่าวัตถุดิบ ค่าเช่า ฯลฯ อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่อยากจ่ายเมื่อไหร่ก็จ่าย
รวมถึงการนับเงิน การฝากเงินเข้าบัญชีเพื่อป้องกัน
การทุจริตจากพนักงานในอนาคตหากวันนึงคุณไม่อยู่ที่ร้าน
2
5. เก็บเอกสารทุกอย่างให้ครบ
ต่อให้คุณยังไม่ทำการจดบริษัทและต้องนำเอกสารทั้งหมด
ไปยื่นสรรพากร แต่อย่างน้อยก็ควรเริ่มเก็บเอกสารทุกอย่างให้ครบ
โดยแยกออกมาเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายไม่นำมาปนกัน
เพราะจะทำให้ยากต่อการลงบันทึกและสรุปงบกำไรขาดทุนประจำเดือน
รวมถึงการรวบรวมเอกสารส่งนักบัญชีในแต่ละอาทิตย์ด้วย
1
ถ้าจะให้แนะนำทริคง่ายๆ คุณอาจแยกลิ้นชักไว้สองเก๊ะ
คือเก๊ะรายรับกับเก๊ะรายจ่าย เวลามีเอกสารหรือใบเสร็จก็โยนเข้าไปในเก๊ะ
แล้วพอสิ้นอาทิตย์มีเวลาก็ค่อยมาลงบันทึก ไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน
สำหรับค่าใช้จ่ายไหนที่ไม่มีบิลหรือใบเสร็จเป็นหลักฐาน เช่น
ค่าแท็กซี่ ค่าซ่อมอุปกรณ์ คุณอาจเขียนเป็นบิลเงินสด
แล้วให้ผู้รับเงินเซ็นรับก็ได้ เพื่อที่จะได้เอามาเป็นหลักฐาน
ในการจ่ายเงินของคุณ
พอคุณฝึกทำไปเรื่อยๆก็จะเกิดเป็นนิสัยและความเคยชิน พอวันนึง
คุณได้ทำการจดบริษัทแล้วก็จะไม่ยากต่อการปรับเปลี่ยนการทำงาน
3
6. จดบริษัทและจด VAT
พอคุณได้ฝึกทำทุกอย่างก่อนหน้านี้จนเกิดความเคยชินแล้ว
ก็สามารถไปจดบริษัทได้ ซึ่งปัจจุบันสำนักงานบัญชีหลายๆที่
ก็รับดำเนินการจดบริษัทไม่ต้องเสียเวลาไปทำเอง
ซึ่งหากคุณคิดว่าร้านคุณมีรายได้เกินปีละ 1.8 ล้านบาทแน่นอน
คุณก็ควรทำการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ไปพร้อมกันเลย
ซึ่งหากคุณไม่ได้มีการคิดต้นทุนตรงนี้ที่เพิ่มขึ้นไว้ในราคาขายตั้งแต่แรก
แล้วทำการผลักภาระ VAT นี้ไปให้ลูกค้ารับผิดชอบทั้งหมด
ก็อาจจะกระทบต่อลูกค้าเก่าของคุณได้
เพราะจะทำให้ราคาที่ลูกค้าต้องจ่ายจริงนั้นสูงขึ้น
ฉะนั้นอาจจะต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าให้ดีก่อน
ว่าทำไมคุณถึงมีการคิด VAT ตรงนี้เพิ่ม หรืออาจจะมีการปรับ
รูปแบบเมนูใหม่โดยทำการรวม VAT ลงไปในต้นทุนแล้ว
ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อความรู้สึกของลูกค้าอย่างแน่นอน
ติดตาม Torpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
โฆษณา