8 ก.พ. 2021 เวลา 02:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
TQR … เพราะความเสี่ยง คือ โอกาส
หุ้น IPO ที่กำลังจะเข้าตลาด ทำธุรกิจเกี่ยวกับประกันภัย เห็นชื่อปุ๊บ คำถามแรกที่นึกถึงคือ เป็นอะไรกับ TQM
.
ตอบแบบนี้ครับ
..
1. TQR ไม่ใช่บริษัทลูกของ TQM แต่ครอบครัวพรรณิภา คือ คุณอัญชลิน กับคุณนภัสนันท์ ถือหุ้นตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในปี 2555 สัดส่วน 60% (หลัง IPO เหลือ 44.3%) และ TQM ไม่ได้เข้ามาบริหารงาน แค่ถือหุ้นใหญ่
.
2. TQM กับ TQR เป็นนายหน้าประกันภัยเหมือนกัน แต่ TQM เป็น B2C คือ เป็นนายหน้าระหว่างบริษัทประกันกับคนทั่วไป ขณะที่ TQR เป็น B2B เป็นนายหน้าระหว่างบริษัทบริษัทประกัน กับ บริษัทประกันภัยต่ออีกที
.
3. พูดให้เห็นภาพง่ายๆ คือ สมมติเราซื้อรถมา อยากทำประกัน ก็อาจจะมีเจ้าหน้าที่ของ TQM โทรมาหา ชวนให้ทำประกันกับบริษัทที่มีให้เลือกหลายที่ โดยที่เราไม่ได้ไปติดต่อกับบริษัทประกันโดยตรง เราได้ประกันความคุ้มครอง TQM ได้ค่าธรรมเนียม บริษัทประกันได้เงินประกันจากเรา
.
4. ต่อมา บริษัทประกันอาจเริ่มกลัวว่า ทุนประกันสูง มีความเสี่ยง (น้ำท่วม โรคระบาด เป็นต้น) เลยไปหาบริษัทรับประกันภัยต่อมากระจายความเสี่ยงด้วย (เช่น THRE) สมมติทุนประกัน 100 ตัวเองอาจจะรับภัยเอง 40 ส่งต่อให้บริษัทประกันภัยต่อ 60 แต่ทีนี้บริษัทรับประกันภัยต่อในไทยอาจไม่เยอะ แต่ต่างประเทศมีเยอะกว่า TQR เลยเข้ามาเป็นนายหน้าหาให้แล้วคิดค่าธรรมเนียมเอา
ถามว่า ธุรกิจนี้น่าสนใจแค่ไหน❓
.
ข้อมูลจาก TQR Roadshow บอกว่า ตลาดประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันต่อปีประมาณ 250,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 4% ต่อปี สัดส่วนของประกันภัยต่อ คือ 30% คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 75,000 ล้านบาท ถือว่าใหญ่อยู่เหมือนกัน
.
TQR มีเบี้ยประกันต่อปีประมาณ 7,000 - 8,000 ล้านบาท แปลว่า มีส่วนแบ่งอยู่ 10-11% ของตลาด
..
แต่อัตรากำไรของ TQR นั้นน่าตื่นเต้นกว่า
.
💎 GPM อยู่ที่ 75-80% สูงมาก ถ้าเทียบกับ TQM 48-50%
💎 NPM อยู่ที่ 30-40% สูงมากเช่นกัน ถ้าเทียบกับ TQM 17-22%
..
สาเหตุที่ GPM สูง เพราะ business model ไม่มีอะไรมาก ใช้ความเชี่ยวชาญของคนเป็นหลัก ในการคำนวณ ในการติดต่อสื่อสาร แต่การที่มาร์จิ้นสูงก็จะเป็นตัวเรียกให้คู่แข่งเข้ามามากเช่นกัน
..
NPM ก็เลยสูงตาม เพราะหลักๆ ก็มีแค่ค่าพนักงาน ค่าเสื่อมบ้างนิดหน่อย แต่มีบางปีเช่น ปี 2560, 2561 ที่ NPM ลงมา 20 ต้นๆ เพราะมีค่าที่ปรึกษาจะขยายไปต่างประเทศมากขึ้น และมีรายการพิเศษสำรองไว้เรื่องข้อพิพาททางกฎหมาย
.
มาดูรายได้และกำไรที่เป็นตัวเลขจะได้ภาพชัดขึ้นครับ
.
🔹 ปี 2560 รายได้รวม 105 ล้านบาท กำไรสุทธิ 23.6 ล้านบาท
🔹 ปี 2561 รายได้รวม 154 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32.8 ล้านบาท
🔹 ปี 2562 รายได้รวม 132 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44 ล้านบาท
.
📈 9 เดือน ปี 2562 รายได้รวม 102 ล้านบาท กำไรสุทธิ 38.2 ล้านบาท
📈 9 เดือน ปี 2563 รายได้รวม 160 ล้านบาท กำไรสุทธิ 68.6 ล้านบาท
..
แนวโน้มรายได้และกำไรดูเติบโตดี อาจมีบางปีที่สะดุดบ้าง จากการแข่งขันที่สูงของธุรกิจรถยนต์ ทำให้รายได้ลด แต่ยังรักษากำไรไว้ได้
.
9 เดือนปีที่แล้ว ตัวเลขดูโตกระโดด ต้องติดตามว่าจะมาต่อเนื่องมั้ย เพราะว่าได้มาจากธุรกิจอย่างประกันสุขภาพ ประกันภัย Cyber ประกันภัยอัญมณีและทองคำ คือ อาจจะเป็นเพราะปีที่มี COVID ด้วยหรือเปล่า ทำให้เกิดการตื่นตัวกันเยอะ
📌 TQR ยังไม่ได้กำหนดราคา IPO แต่จะมีหุ้นที่ออกมาขายไม่เยอะ 60 ล้านหุ้น เท่านั้น และดูเหมือนว่าจะไม่ได้ต้องการเงินมากเท่าไหร่
.
📌 เพราะในวัตถุประสงค์การใช้เงินเขียนว่า จะเอาไปใช้พัฒนาระบบ IT ทำให้เป็น platform มากขึ้น 20 ล้านบาท และเอาไปใช้พัฒนาแบบจำลอง ทำโมเดลประกันต่างๆ อีก 20 ล้านบาท เช่นกัน เงินที่เหลือก็จะเอาไปลงทุนธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
.
📌 เพื่อนๆ คนไหนสนใจลองไปทำการบ้านกันต่อได้นะครับ ส่วนตัวผมมองว่า ดีที่มาร์จิ้นสูง รายได้ กำไรเติบโตได้ดี แต่ก็ยังแอบคิดว่า รายได้กำไรจะโตได้เยอะมากๆ แค่ไหนในอนาคต คู่แข่งเข้ามาง่ายหรือเปล่า และมีโอกาสแค่ไหนที่บริษัทประกันจะไปคุยกันเองโดยตรงกับประกันภัยต่อ
..
อย่าลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนลงทุนทุกครั้ง วิตามินหุ้นเพียงให้ข้อมูลประกอบการลงทุนเท่านั้น
.
#TQR #IPO #วิตามินหุ้น
1
โฆษณา