Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เคหการเกษตร
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2021 เวลา 12:00 • การเกษตร
ในช่วงขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร เราจะทำอย่างไรดี?
จากการลงพื้นที่ทีมงานเคหฯได้มีการสุ่มสอบถามชาวสวนต่างๆว่า “คิดว่าปี 2564 ภาคเกษตรจะเป็นอย่างไร” คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ จะกังวลเรื่องของแรงงาน เนื่องจากก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 แรงงานก็ค่อนข้างหายากอยู่แล้ว แรงงานบางส่วนย้ายไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม บางส่วนก็กลับประเทศหลังจากเก็บเงินได้จำนวนนึง พอเจอการระบาดอีก ยิ่งหายากไปใหญ่ เพราะการกลับเข้าประเทศไทยเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้น ดังนั้นถ้าจะแก้ปัญหานี้ แต่ละสวนจะต้องปรับตัวและปรับสมดุลของสวน โดยการ“รักษาแรงงาน”ที่มีอยู่ให้ได้มากและนานที่สุด และ โดยการ“ใช้เครื่องทุนแรง”มาช่วยในสวนมากขึ้น เผื่อให้สมดุลกับงานและกำลังคนที่มีอยู่
แต่การจะนำเครื่องทุนแรงมาช่วยนั้น ก็ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ประสิทธิภาพของเครื่องทุ่นแรง โครงสร้างของสวน และ การบริหารจัดการระหว่างเครื่องทุ่นแรงและแรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นเผื่อที่จะได้เห็นภาพชัดขึ้น ทางทีมงานเคหฯ จะขอยกตัวอย่างจากผู้ที่ใช้จริง
>> แนวคิด “การใช้เครื่องทุนแรง” ของชาวสวนรุ่นใหม่ โดย คุณวุฒิชัย คุณเจตน์ (สวนสุขเกษม จ.จันทบุรี)
เนื่องจากปัญหาแรงงานขาดแคลน คุณวุฒิชัยจึงได้นำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้สวนทุเรียนพื้นที่ 90 ไร่ของครอบครัว จากประสบการณ์ลองผิดลองถูกเครื่องทุ่นแรงหลากหลายชนิด จึงได้ข้อสรุปว่า “การเลือกใช้เครื่องทุ่นแรงจะต้องยึดหลักทางสายกลางจึงจะสามารถนำมาใช้จัดการสวนให้อย่างสมดุลและพอดี”
หลักแนวคิดในการจัดการสวนของคุณวุฒิชัย คุณเจตน์ (สวนสุขเกษม จ.จันทบุรี)
>> แล้วทางสายกลางนั้นคืออะไร?
การจัดการสวนมีปัจจัย 3 อย่างที่จะช่วยให้สวนขับเคลื่อนกลไกการผลิตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ “ ขั้นตอนการทำงานภายในสวน = สภาพแวดล้อม + ปัจจัยการผลิตต่างๆ ” ซึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือ แรงงาน หากขาดแรงงาน การจัดการสวนก็จะเสียสมดุล ดังนั้นจึงต้องมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเพื่อเข้ามาเสริมหรือทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป แต่การเลือกใช้เครื่องทุนแรงก็ต้องเลือกให้เหมาะกับขั้นตอนการทำงานของแต่ละสวน เช่นการใช้รถพ่นสารเคมีระบบแอร์บลาสต้องการพื้นที่ด้านข้างรถเพื่อกระจายสารเคมีเข้าทรงพุ่ม แต่หากพื้นที่ตรงนั้นเป็นทรงพุ่มที่ชนกันจะทำให้การกระจายของสารเคมีไม่ทั่วทั้งต้น จะเห็นได้ว่า “ปัจจัยการผลิตมีผลต่อการวางแผนการจัดการ” ซึ่งหากต้องการจะแก้ปัญหาตรงนี้ สามารถทำได้ 3 แบบ คือ
1. ปรับทรงพุ่มและระบบปลูก
2. ปรับแต่งเครื่องมือ หรือ
3. ปรับทั้ง 2 แนวทางร่วมกัน
ดังนั้น เกษตรกรจึงควรปรับ “วิธีการทำงาน” ให้สอดคล้องกับการใช้เครื่องทุ่นแรง
เครื่องทุนแรงในสวนไม้ผล
>> ในวันที่แรงงานลดลง เราจะพัฒนางานในสวนได้อย่างไร
ขั้นที่ 1 : ต้องแจกแจงออกมาก่อนว่า “ในรอบปีสวนของตนเองมีงานอะไรต้องทำบ้าง?”
ยกตัวอย่างการทำสวนทุเรียน ในรอบปีจะต้องจัดการพ่นสารกำจัดศัตรูพืช กำจัดวัชพืช การเตรียมต้นและความสมบูรณ์ของต้น การแต่งดอกแต่งผล การค้ำโยงต้น ไปจนกระทั่งการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ขั้นที่ 2 : หากเผชิญวิกฤติ “แรงงานลดลง” คำถามคือ 1. จะปรับงานอย่างไร และ 2. ควรใช้เครื่องมือแบบใด?
คุณวิฒิชัยได้ปรับการทำงานโดย
1. ลดการโยงผลทุเรียน ลดขนาด และไว้ผลในกิ่งใหญ่
2. ลดเวลาการใช้สารเคมี โดยการลดขนาดทรงพุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการพ่นสารเคมีด้วยแรงงานและเครื่องจักร
3. กำจัดวัชพืช โดยใช้รถตัดหญ้าในบริเวณที่รถวิ่งได้ ในส่วนที่รถตัดหญ้าไม่สามารถเข้าได้ ก็ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชร่วมกับการใช้แรงงานคน
4. ระบบน้ำ โดยการปรับมาใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์มากขึ้น เพื่อลดความถี่ในการเปิด-ปิดวาล์วน้ำ
แต่สุดท้ายแล้ว หากไม่สามารถปรับวิธีการตามข้างต้นได้ สิ่งที่ทำได้ คือ “การลดเป้าหมายของการผลิตลงมาอยู่ในระดับที่ตนเองทำไหว” ซึ่งคุณวุฒิชัยเอง ก็มีการลดขนาดทรงพุ่มทุเรียนต้นใหญ่ เพื่อทำงานได้เร็วขึ้น แม้ตัวอย่างที่นำมาเสนอนี้จะเป็นกรณีของสวนทุเรียน แต่หากทุกท่านเข้าใจแก่นแท้ของแนวคิดนี้และรู้จักหยิบไปใช้เป็น เชื่อว่า ไม่ว่าคุณจะปลูกพืชใด หลักการหรือแนวคิดพื้นฐานที่กล่าวมานี้ก็จะทำให้คุณสามารถแก้ปัญหาและดึงสมดุลสวนของคุณกลับมาได้แน่นอน
หากใครสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเกษตร ฝากติดตาม “เคหการเกษตร” ผ่านช่องทางต่างๆดังนี้
> Website :
www.kehakaset.com
> FB : KEHAKASET MAGAZIBE วารสารเคหการเกษตร
https://www.facebook.com/kehakaset/
> Youtube channel : KEHAKASET MAGAZIBE วารสารเคหการเกษตร
https://youtube.com/user/TheSupaNa1
> IG : KEHAKASET
https://instagram.com/kehakaset
> Blockdit : Kehakaset
https://www.blockdit.com/kehakaset
บันทึก
2
5
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย