8 ก.พ. 2021 เวลา 13:50 • ธุรกิจ
วิธีคิดแก้ปัญหาแบบ Elon Musk
.
Elon Musk ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เรียกว่า First Principles เป็นวิธีการคิดย้อนกลับไปที่แก่นแท้ของปัญหาที่แท้จริง ผ่านการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น
.
เป็นการคิดที่มองจากภาพรวมขนาดใหญ่และทำการย่อยให้ไปถึงสิ่งที่เล็กที่สุด เช่น ร่างกาย ไปที่ อวัยวะ และสุดท้ายไปที่ หน่วยเซลล์
.
3 ขั้นตอนที่เขาใช้ในการแก้ปัญหาคือ
.
ขั้นตอนแรก: มองเหตุผลตามความเป็นจริง
.
อีลอน มักส์ เคยอธิบายหลักการไว้ว่า “ผมว่าการหาเหตุผลและผลลัพธ์จากหลักการ First Principles จำเป็นกว่าการหาเหตุผลและผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบ”
.
โดยปกติแล้วมนุษย์เราจะใช้การวิเคราะห์จากผลลัพธ์ที่คนอื่นได้ทำมาแล้ว นำมาใช้เป็นเหตุผลเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ ซึ่งบางครั้งผลลัพธ์นั้นก็ล้มเหลว และความล้มเหลวจะเกิดเป็นอคติทางความคิดขึ้นมา ส่งผลให้ไม่เกิดเป็นแนวทางใหม่ๆ
.
ขั้นตอนที่สอง: ระบุสมมติฐานและตรวจสอบว่าสามารถทำได้จริง 100%
.
วิธีแก้ปัญหาทุกประเภทต้องเกิดมาจากการตั้ง “สมมติฐาน” คุณต้องคิดถึงหลักการต่างๆ ว่าแนวทางไหนพอจะเป็นไปได้บ้างและสามารถแตกย่อยไปได้อีกข้อ ที่สำคัญคือ หากทดลองสมมติฐานและไม่ถูกต้องขึ้นมาแสดงว่า สิ่งที่คุณกำลังคิดมีข้อบกพร่องอยู่ เพราะฉะนั้นเวลาที่ทำการทดลองคุณจำเป็นต้องเปิดใจตลอด
.
ขั้นตอนที่สาม: กำหนดแนวทางแก้ไขโดยใช้ 1) องค์ประกอบที่ง่ายที่สุดของปัญหา 2) สมมติฐานที่ตรวจสอบได้
.
.
ตัวอย่าง: นักลงทุนมักจะมาพูดกับ Elon Musk ว่า “ชุดแบตเตอรี่มีราคาสูงเกินไปและเราไม่เคยมีรถไฟฟ้าใช้มาก่อนเลย”
.
Elon Musk มองว่าปัญหาที่ยากที่สุดของรถยนต์ไฟฟ้าคือ แบตเตอรี่ เขาจึงคิดวิธีแก้ปัญหาโดยการใช้ 3 ขั้นตอน
.
ขั้นตอนที่ 1: แยกปัญหา
.
-เขามองว่าวัสดุของแบตเตอรี่คืออะไร? โคบอลต์, นิกเกิล, อะลูมิเนียม, คาร์บอน เป็นต้น
-มูลค่าตลาดของวัสดุแต่ละชนิดเป็นอย่างไร?
.
ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบสมมติฐาน
.
สมมติฐานที่ 1 เราสามารถซื้อแบตเตอรี่ได้จากรายชื่อผู้ขายในปัจจุบันเท่านั้น
สมมติฐานที่ 2 ในอดีตมีค่าใช้จ่าย 600 เหรียญต่อ kW-hr (KwH = 100 ไมล์ในรถยนต์ไฟฟ้า) กำไรที่ได้จะน้อยลง
.
ขั้นตอนที่ 3: สร้างทางแก้ปัญหา
.
- ซื้อวัตถุดิบและเรียนรู้การผลิตแบตเตอรี่ด้วยตนเอง
- รักษาข้อตกลงกับซัพพลายเออร์
- จ้างผู้เชี่ยวชาญนักวิทยาศาสตรหรือวิศวกรรมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ๆ
- สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขึ้นมา
.
กฎของ Wrights กล่าวไว้ว่า ยิ่งคุณลงทุนในการสร้างบางสิ่งมากเท่าไหร่ คุณก็จะได้รับสิ่งที่ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
.
อีลอน มักส์ใช้หลักการเดียวกันนี้ในการสร้าง SpaceX
.
เขาตั้งสมมติฐานว่า
- มีเพียงรัฐบาลเท่านั้นที่ส่งคนขึ้นไปอวกาศ
- การเดินทางขึ้นไปในอวกาศแพงเกินไป
.
เริ่มแรก อีลอน มักส์ ถูกปฏิเสธการขายจรวดจากหน่วยงานของรัสเซีย อีลอน มักส์ เลยมองย้อนกลับถึงจุดเริ่มต้นว่า การสร้างจรวดขึ้นมาจำเป็นต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และเขาก็พบว่า SpaceX ใช้ต้นทุนในการสร้างจรวดน้อยกว่าจรวดที่เคยมีมา จนในที่สุด SpaceX ก็เป็นบริษัทเอกชนชั้นนำที่สามารถส่งจรวดขึ้นไปอวกาศได้สำเร็จ
.
แปลและเรียบเรียง:
4
#MissionToTheMoonPodcast
โฆษณา