9 ก.พ. 2021 เวลา 01:04 • สิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์มหัศจรรย์ ณ บางกลอย
อย่างที่รู้กันว่าการไปบางกลอยของเราแต่ละครั้งไม่ได้ไปในนามนักท่องเที่ยว และหนนี้เราไปกับกลุ่มนีกสิทธิ์และนักข่าว
ก่อนขึ้นไปมีข่าวว่าทางอุทยานจะปิดไม่ให้ทุกคนขึ้นไป ครูแดง เตือนใจ เป็นผู้เจรจาให้เปิดด่าน ทางอุทยานเปิดให้รถเข้าไปได้แค่ 3 คัน 6 คนเท่านั้น ทั้งที่ทีมทั้งหมดมีประมาณ 20 คน และอุทยานก็ปัดให้เป็นเรื่องที่ก.ทรัพยากรต้องอนุญาต การประท้วงในกทม.หน้ากระทรวงทรัพ แล้วเกิดเหตุการณ์จนท.ทำร้ายประชาชน ผู้กำกับโดนตบหัว ส่งผลให้พวกเราทั้งหมดได้ขึ้นไป ซึ่งจริงๆพวกเราก็เตรียมแผนสำรองกันว่าถ้าไม่ได้ขึ้นก็จะกินนอนอยู่ที่อุทยานพร้อมไลฟ์สดถามจนท.ขอเหตุผลที่ห้ามคนขึ้นไปบริจาคข้าว และมาตรการป้องกันโควิดที่ตัวเองทำผิดซะเองก่อนหน้านี้
เมื่อขึ้นไปถึง เขาก็ต้อนรับเราด้วยการ ตัดสัญญาณโทรศัพท์และน้ำประปา จนมีคนไปเตือนว่านี่คือชุดนักสิทธิ์และนักข่าว แล้วกับชาวบ้านเขาจะกลั่นแกล้งขนาดไหน ในขณะที่พวกเรากำลังจัดการสัมภาระในศาลาพอละจี ก็มีทหารขี่มอเตอร์ไซมาหา เพื่อบอกว่าอย่าถ่ายรูปโรงทอผ้าเด็ดขาด ครูแดงก็ถามว่าเพราะกลัวที่อื่นเอาไปลอกลายเหรอ เขาตอบไม่ได้ทำท่าลำบากใจ บอกได้แค่เบื้องบนสั่งมา และตัวเขาต้องทำรายงาน เราเห็นได้ชัดว่าการถ่ายรูปนี่จะสร้างความลำบากให้เขา
นอกจากนี้เขายังใจดีกับเรา บอกว่าจะไม่ล๊อคห้องน้ำที่อยู่ในหมู่บ้านเพื่อให้เราใช้ ห้องน้ำที่ไม่มีกลอนล๊อคซักห้อง ห้องที่ล๊อคได้ก็ถังรั่ว ฉันก็งงว่าเขาจะล๊อคอะไร หรือปกติทำไมต้องล๊อค มันควรเป็นห้องน้ำที่ชาวบ้านควรได้ใช้ไม่ใช่เหรอ
ฉันเดินไปพูดคุยกับสาวๆที่กำลังปักผ้าบนศาลาพอละจี พวกเขาบอกฉันว่าอย่าถ่ายรูป เขาห้าม พวกเรารู้ดี ว่าการห้ามถ่ายรูปเกี่ยวกับการทอผ้านี้เพราะตัวโครงการกลัวเรื่องจะหลุดไปแล้วโดนกฏหมายแรงงานเล่นงานเสียเอง เพราะให้ค่าแรงชาวบ้าน 130-160ต่อวันเท่านั้น เราก็ไม่เข้าใจว่าการให้ค่าแรงตามกฏหมายแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท อย่างถูกต้อง ทำไมถึงทำไม่ได้
เช้าวันต่อมาเราได้ติดตามทีมนักสิทธิ์และนักข่าวไปดูไร่ของชาวบ้านที่จัดสรรให้โดยโครงการเดียวกัน เขาอ้างกับสังคมว่าใช้งบประมาณเป็นสิบล้านเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาให้ชาวบ้านตรงนี้ แต่เขาไถหน้าดินผิดทิศ ทำให้ดินกักน้ำไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านปลูกอะไรไม่ขึ้นมาเป็น 10 กว่าปี เขาไม่เคยกลับมาดู และไม่ยอมให้ชาวบ้านแก้ปัญหาด้วยตัวเอง อ้างเรื่องงบประมาณนั่นนี่ รวมถึงทุกอย่างที่ขาสร้าง ไม่ว่าจะโรงอบกล้วย หรือต้นกาแฟที่นำมาปลูก มันผุพังและตายคาต้นทั้งสิ้น คนเหล่านี้แค่มาสร้างแล้วจากไป ไม่มีการสนับสนุนต่อไม่ว่าจะทางไหน นอกจากชาวบ้านจะไม่ได้ประโยชน์อะไร ชีวิตยังยากลำบากเพราะทุกโครงการอีกด้วย
กล้วยขั้นบันไดคืออีกอย่างที่ชาวบ้านโดนบังคับให้ปลูกและเป็นพืชชนิดเดียวของที่นี่ ที่ยังออกผล แต่เมื่อราคาตกก็เหลือแค่หวีบะบาท ราคาดีหวีละ 30 แต่การขนส่งลงไปข้างล่างก็แสนลำบาก ถนนที่หลายหน่วยงานพยายามจะพัฒนาให้อยู่หลายครั้ง แม้แต่ทหารเอง ก็ไม่ได้รับอนุญาตจากทางอุทยาน ซึ่งเราเองก็ไม่เข้าใจเหตุผลเหมือนกันว่าทำไม
นี่คือการไปอยู่และไปดูแค่ช่วงเวลา 2 วัน 1 คืน เรายังเห็นว่าสิ่งที่รัฐทำไม่ว่าจะหน่วยงานไหน มันผิดพลาดไปหมด ที่สำคัญคือทำแล้วไม่เคยเหลียวหลังกลับมาติดตามผลว่าชีวิตชาวบ้านต้องมารับกรรมจากความสะเพร่า ความโง่งี่เง่าความหลงอำนาจของตัวเองยังไงบ้าง เป็นการทำงานและกระบวนการคิดที่ล้าสมัย และสร้างความฉิบหายในวงกว้าง ซึ่งการทำงานและแนวคิดแบบนี้ ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะยังมีอยู่ในปี 2020 มันควรสูญพันธุ์ไปพร้อมไดโนเสาร์
ก็คิดดูเถอะ ว่าชาวบ้านถูกกระทำขนาดไหนในระยะเวลาเป็น 10 นี้
โฆษณา