Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Torpenguin - ผู้ชายขายบริการ
•
ติดตาม
9 ก.พ. 2021 เวลา 14:00 • ธุรกิจ
7 ปัจจัยในการเลือกทำเลร้านอาหา
2
7 ปัจจัยในการเลือกทำเลร้านอาหาร
ปัจจัยในการเลือกที่ตั้งของแต่ละคนอาจต่างกัน
บางคนอาจให้ความสำคัญเรื่องค่าเช่าเป็นเรื่องหลัก
เพราะถูกจำกัดด้วยงบประมาณ
1
แต่สำหรับคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุนหรือค่าเช่า
อาจจะอยากได้พื้นที่ที่คนพลุกพล่านหรือใกล้รถไฟฟ้ามากกว่า
เพราะคนยิ่งเยอะนั่นหมายถึงโอกาสในการขายที่มากขึ้น
หรือร้านบางร้านที่ต้องใช้พื้นที่เยอะในการขาย
และต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์หมูกระทะ
หรือสวนอาหาร อาจจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยด้านระยะเวลา
ของสัญญาเช่ารวมไปถึงที่จอดรถมากกว่าร้านอาหารประเภทอื่น
การที่เราวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ โดยละเอียดทุกครั้งก่อนตัดสินใจว่า
จะไปเปิดที่ไหนนั้น จะทำให้เรามีโอกาสได้ทำเล
ที่ตรงกับความต้องการของเรามากขึ้น และลดโอกาส
ที่จะเจ๊งได้ด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้นลองมาดูปัจจัยในการเลือกทำเล
ที่ตั้งร้านอาหารกันว่ามีอะไรบ้าง
ซึ่งปัจจัยในการเลือกทำเลที่ัตั้งนั้นมีอยู่ด้วยกัน 7 หัวข้อหลักดังนี้
1. กลุ่มลูกค้า (Target market)
ถ้าคุณรู้อยู่แล้วว่าคุณต้องการขายอะไร
อาหารที่คุณจะขายมีจุดเด่นอย่างไร
คุณควรจะมีไอเดียมาบ้างแล้วว่าคุณต้องการที่จะขายใคร
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการขายก๋วยเตี๋ยวที่มีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อนำเข้า
แบรนด์ดิ้งดูน่ารักทันสมัย ราคาขายอยู่ที่ประมาณ 60 – 100 บาท
กลุ่มลูกค้าของคุณอาจเป็นพนักงานออฟฟิศในเมือง
มากกว่าชาวบ้านทั่วไป ฉะนั้นทำเลที่เหมาะกับคุณอาจเป็น
พื้นที่โซนสำนักงานในเมือง เช่น สุขุมวิท พหลโยธิน รัชดา เป็นต้น
เพราะเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าที่คุณมองหาอยู่
และมีโอกาสเป็นลูกค้าประจำของคุณด้วย
หรือถ้าคุณต้องการเปิดสวนอาหารขนาด 100 โต๊ะ
คุณคงไม่มองพื้นที่ในเมืองที่มีราคาสูงแน่นอน
ฉะนั้นตัวเลือกของคุณอาจเป็นพื้นที่นอกเมือง
ที่มีชุมชนหรือคนอาศัยอยู่หนาแน่นแทน
พอคุณรู้ว่ามีกลุ่มลูกค้าคุณในทำเลนั้นๆ แล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ
ขนาดของกลุ่มลูกค้านี้มีจำนวนมากพอหรือไม่
เพราะคงเป็นเรื่องยากที่จะให้ลูกค้าคนเดิมกลับมากินร้านคุณ
ทุกอาทิตย์แน่นอน การมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย
คือมีทั้งกลุ่มลูกค้าหลัก (Primary target)
และกลุ่มลูกค้ารอง (Secondary target)
จะทำให้ความเสี่ยงว่าจะไม่มีลูกค้าเข้าร้านลดน้อยลง
2. การเข้าถึง (Accessibility)
ยิ่งลูกค้าสามารถมาที่ร้านคุณได้หลากหลายช่องทางเท่าไหร่
ยิ่งทำให้ร้านคุณมีโอกาสขายได้มากขึ้นเท่านั้น
ถ้าร้านของคุณเดินทางมาได้ด้วยรถยนต์ส่วนตัวเท่านั้น
แต่กลับตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ ที่รถสวนกันยากหรือ
ถ้าร้านคุณตั้งอยู่ฝั่งขาเข้าเมือง
ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะขับรถฝั่งขาออกนอกเมืองในช่วงเย็น
ปัจจัยเหล่านี้ย่อมทำให้ลูกค้าอาจขี้เกียจในการขับรถมายังร้านคุณก็เป็นได้
การเข้าถึงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการเดินทางมายัง
ร้านของคุณเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงตำแหน่งที่ตั้งร้านของคุณ
ในห้างหรือในศูนย์อาหารด้วยเช่นกัน
เพราะต่อให้ร้านคุณอยู่ในห้างที่มีลูกค้าหนาแน่น
แต่หากร้านของคุณอยู่ในพื้นที่ที่ลึกสุด เช่น
ต้องเดินจากบันไดเลื่อนหรือลิฟต์แล้วต้องเลี้ยวหลายต่อ
กว่าจะไปถึงร้านของคุณ ก็คงยากที่ลูกค้าจะมองเห็น
และเข้าถึงร้านของคุณอย่างแน่นอน
3. การมองเห็น (Visibility)
ถ้าคุณเป็นร้านที่เพิ่งเปิดใหม่คงจะดีกว่าถ้าทำเลที่คุณเลือก
เป็นทำเลที่อยู่ติดถนน ที่มีรถสัญจรไปมาอยู่ตลอด
หรือมีคนเดินผ่านพลุกพล่านมากกว่าที่จะอยู่ในซอยเล็กๆ
เพราะต่อให้วันนั้นเขายังไม่เข้ามาใช้บริการ
แต่อย่างน้อยเขาจะจำชื่อร้านของคุณได้ เหมือนเป็นการโฆษณา
โดยไม่ต้องเสียเงิน หรือต่อให้ร้านของคุณอาจอยู่ในซอย
แต่ถ้าสามารถติดตั้งป้ายหน้าปากซอยทางเข้าได้
ก็จะช่วยให้ลูกค้ารู้ว่ามีร้านคุณตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน
4. การแข่งขัน (Competition)
ร้านเราไม่ได้เป็นร้านอาหารเดียวบนถนนเส้นนั้นแน่นอน
การศึกษาสภาพการแข่งขันหรือคู่แข่งก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทำเล
จะทำให้เราได้เรียนรู้ว่าร้านอาหารแถวนั้นขายได้มากน้อยอย่างไร
ลูกค้าในละแวกนั้นเป็นใคร ราคาขายต่อหัวอยู่ที่เท่าไหร่
เรื่องต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เรามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ในการเลือกทำเลมากขึ้น
การไปตั้งอยู่ในทำเลที่มีคู่แข่งอยู่แล้วมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ในมุมของข้อดี ถ้าคุณเป็นร้านเปิดใหม่การอยู่ใกล้
กับร้านอาหารคู่แข่งย่อมทำให้ร้านคุณเป็นที่รู้จักไปโดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม ก็เป็นเรื่องยากเช่นกันในการไปแย่งกลุ่มลูกค้า
กับร้านอาหารเดิม ยิ่งถ้าร้านนั้นเป็นร้านที่มีชื่อเสียง
เว้นแต่ว่าเราจะมีจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งเหล่านั้น
ทำเลที่ดีควรเป็นทำเลที่มีร้านหรือธุรกิจที่มีกลุ่มลูกค้า
กลุ่มเดียวกับของร้านอาหารเราตั้งอยู่ ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเราเป็นร้านอาหารไทยต้นตำรับสำหรับคนต่างชาติ
ทำเลที่เหมาะสมอาจเป็นทำเลที่มีร้านขายของฝาก
หรือมีสปาระดับ 5 ดาวอยู่ใกล้ๆ เป็นต้น
5. สัญญาเช่า (Lease agreement)
คนที่เริ่มทำร้านอาหารครั้งแรกอาจจะยังไม่รู้ว่าสามารถต่อรอง
เงื่อนไขสัญญาเช่าต่างๆ ได้ เพราะคิดว่าถ้าต่อรอง
แล้วคุณอาจจะไม่ได้เช่าพื้นที่
แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผมอยากแนะนำว่า
อย่ากลัวที่จะต่อรอง เพราะถ้าผู้ให้เช่าหรือเจ้าของที่เขาไม่เห็นด้วย
ในสิ่งที่คุณขอ เขาจะเป็นคนบอกคุณเอง
ถ้าร้านของคุณเป็นร้านที่เป็นที่มีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง
หรือถ้าพื้นที่ที่คุณต้องการเช่าตรงนั้นไม่มีผู้เช่ามาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
อาจทำให้คุณสามารถต่อรองเรื่องค่าเช่ารวมไปถึง
สัญญาเช่ากับผู้ให้เช่า (Landlord) ได้ในระดับหนึ่ง
ไม่ว่าจะขอลดค่าเช่า หรือไม่คิดค่าเช่าช่วงตกแต่งร้าน
ซึ่งโดยปกติผู้ให้เช่าจะไม่คิดค่าเช่าแค่ 30 วัน (Rent free period)
หลังจากทำสัญญาแล้วเท่านั้น
แต่ถ้าหากพื้นที่นั้นอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่มีลูกค้าคึกคัก
หรือคุณไม่เคยทำร้านอาหารอะไรมาก่อน คงเป็นเรื่องยาก
ที่จะสามารถต่อรองในเรื่องต่างๆ ได้ เพราะจะกลายเป็นคุณ
ต้องไปง้อผู้ให้เช่า ไม่ใช่ผู้ให้เช่ามาง้อคุณ
สิ่งที่คุณอาจสามารถต่อรองในเรื่องของสัญญาได้
เช่น ต่อรองช่วงฟรีค่าเช่า (Rent free period)
ต่อรองเรื่องภาษีโรงเรือนให้ผู้ให้เช่ารับผิดชอบ
หรืออาจรวมไปถึงต่อรองค่าเช่า โดยอาจขอให้เก็บค่าเช่าต่ำในปีแรก
เพื่อให้มั่นใจว่าร้านจะอยู่ได้แน่ๆ และที่สำคัญที่สุดอะไรที่คุณตกลง
กับเจ้าของที่ไว้ อย่าลืมใส่ไว้ในสัญญาให้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
1
6. ค่าเช่า (Rent)
คำว่าค่าเช่าถูกแพงแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน
ร้านอาหารบางประเภทที่สามารถขายราคาต่อหัวได้มาก
และมีกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่อาจพร้อมจ่ายค่าเช่า
ในราคาที่สูงกว่าร้านก๋วยเตี๋ยวหรือร้านอาหารตามสั่ง
ที่มีกำไรต่อหัวน้อย
ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ในคอมมูนิตี้มอลล์นอกเมืองขนาด 80 ตรม.
ราคาค่าเช่าอยู่ที่ 64,000 บาท อาจเหมาะกับร้านอาหารซูชิ
ที่ราคาต่อหัวอยู่ที่ 500 บาท มากกว่าร้านก๋วยเตี๋ยวที่ขายอยู่
ชามละ 50 บาท เพราะต่อให้ขายก๋วยเตี๋ยวได้วันละ 150 ชามรวมน้ำ
อาจขายได้แค่วันละ 10,000 บาทหรือเดือนละ 300,000 บาท
เมื่อเทียบกับค่าเช่าแล้วจะเห็นว่าสัดส่วนของค่าเช่าจะอยู่ที่ 21%
ซึ่งถือว่าสูงเกินไปสำหรับร้านอาหารประเภทนี้
ฉะนั้นจะเลือกทำเลไหน
อย่าลืมดูด้วยว่าประเภทอาหารที่เราจะขาย
รวมไปถึงราคาขายสอดคล้องกับค่าเช่าที่ที่ต้องจ่ายหรือไม่
ซึ่งโดยปกติร้านอาหารไม่ควรจ่ายค่าเช่าเกิน 10-15 %
ของรายได้โดยประมาณ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราคาดการณ์ว่ารายได้จะอยู่ที่เดือนละ 500,000 บาท
เราก็ไม่ควรเสียค่าเช่าเกินเดือนละ 50,000 – 75,000 บาท
ซึ่งค่าเช่าควรรวมไปถึงค่าส่วนกลางทั้งหมด แต่ไม่รวมค่าน้ำ ไฟ และแก๊ส
7. ที่จอดรถ (Parking)
อย่าคิดว่าร้านเราอร่อย ร้านเราดัง ต่อให้ไม่มีที่จอดรถถึงอย่างไร
ลูกค้าก็ต้องมากิน ถ้าคุณคิดอย่างนั้นบอกได้เลยว่าคิดผิด
ทุกวันนี้ลูกค้ามีทางเลือกมากมาย ถ้าเขาไม่ได้รับความสะดวกสบาย
ในการมาร้าน เขาอาจย้ายไปกินร้านอื่นที่มีที่จอดรถได้ในทันที
ยิ่งถ้าร้านอาหารของคุณเป็นร้านอาหารประเภท Casual หรือ Fine dining
ที่ไม่ได้จับกลุ่มลูกค้าเฉพาะในพื้นที่ด้วยแล้ว
ที่จอดรถอาจกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้
แต่ถ้าในพื้นที่ไม่มีที่จอดรถจริงๆ ก็อาจใช้วิธีเช่าพื้นที่
ที่จอดรถข้างเคียงหรือ จะใช้บริการรับจอดรถ (Valet parking)
ซึ่งพบได้บ่อยบนเส้นสุขุมวิทและสีลมก็ได้
เหตุนี้ทำร้านเจ้าของร้านอาหารส่วนหนึ่ง
เลือกไปเปิดร้านใน Community mall
หรือภายในอาคารที่มีที่จอดรถอยู่แล้ว
ซึ่งก็ต้องแลกมากับราคาค่าเช่าที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป
ติดตาม Torpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
Facebook :
https://www.facebook.com/Torpenguin
Youtube :
https://bit.ly/3gOuSAj
Twitter :
https://twitter.com/torpenguin
Instragram :
https://www.instagram.com/torpenguin/
ติดต่องาน E-mail :
torpenguin.channel@gmail.com
18 บันทึก
15
2
14
18
15
2
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย