10 ก.พ. 2021 เวลา 10:15 • สุขภาพ
🟥 อาการปวดศีรษะไมเกรน 🟥
บอลลูนเป็นนักศึกษาอายุ 19 ปี เธอมีอาการปวดศรีษะบริเวณขมับและต้นคอ
เหมือนมีอะไรมาบีบ บางครั้งมีอาการตาพร่ามัวเห็นแสงระยิบระยับ ✨✨
จะเป็นแต่ละครั้งนาน 1-2 วัน. บอลลูนมีอาการแบบนี้มีมานานประมาณ 2 ปี
เธอจึงไปพบหมอด้านอายุรกรรม ณโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
หลังจากได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว หมอกล่าวว่า คุณเป็นไมเกรน
ซึ่งโรคนี้พบได้ใน 10 ถึง 20 คนต่อประชากร 100 คน โรคนี้มักพบในวัยหนุ่มสาว
พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ไมเกรนนี้เมื่อเป็นแล้วมักจะเป็นเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ
ปกติแล้วไม่ถือว่าไมเกรนเป็นโรค แต่เป็นอาการปวดชนิดหนึ่งที่มีลักษณะ
🔺เหมือนมีอะไรมาบีบรัดที่ขมับ
🔺ปวดแถวต้นคอไหล่
🔺ปวดเหมือนมีอะไรแหลมๆ มาแทง
🔺หนักศรีษะ
🔺ปวดศีรษะข้างเดียว มีเพียงส่วนน้อยที่ปวดศรีษะทั้งสองข้าง
นอกจากนั้น อาจยังมีอาการทางตาและระบบทางเดินอาหารร่วมอีกด้วย
🔹อาการทางตานั้นจะเห็นแสงระยิบระยับที่จุดใดจุดหนึ่งก่อน ✨✨✨แล้วจึงขยายออกไปเป็นวงกว้าง และเคลื่อนที่ต่อไปยังส่วนอื่นของจอภาพทำให้ภาพหายไป แล้วจะเห็นภาพกลับคืนมาเหมือนเดิมในเวลาประมาณ 15 นาที
🔹อาการในระบบทางเดินอาหาร มักมีอาการคลื่นไส้
อาการเหล่านี้จะเป็นแต่ละครั้งนาน 1-2 วัน
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการไมเกรนได้แก่
🔸 การอดนอน
🔶ความเครียด
🔸การเจ็บป่วยบ่อย
🔶การทำงานท่ามกลางแสงแดด
🔸การดื่มสุรา
🔶การรับประทานอาหารที่มีผงชูรส
🔸การรับประทานอาหารที่ใส่สารไนเตรตหรือไนไตรต์ เช่น
❌เบคอน 🍖
❌ ฮอทดอก 🌭
❌ เนื้อบางชนิด 🥩
❌ช็อกโกแลต 🍫
❌กาแฟ ☕️
❌เนยแข็ง 🧀
อย่างไรก็ตามจะต้องแยกโรคที่ทำให้มีอาการปวดศีรษะเหมือนไมเกรน เช่น
🍁โรคเนื้องอกในสมอง
🍁ไซนัสอักเสบ👃
🍁เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 🧠
🍁โรคตา 👁
🍁โรคเครียด
บอลลูนถามหมอว่ามีวิธีการรักษาและป้องกันไมเกรนอย่างไรบ้างคะ
หมอตอบว่า การรักษาไมเกรนนั้นขอให้เป็นหน้าที่ของหมอจะดีกว่า เนื่องจากโรคนี้มีอาการเรื้อรัง และมีหลายโรคที่มีอาการคล้ายไมเกรน จึงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรคอาการแทรกซ้อนและผลการรักษาอย่างใกล้ชิด
การป้องกันไมเกรนมีความสำคัญมากกว่าการรักษา โดยหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่ม 🥃🍽 ที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งปฎิบัติตัว และพยายามลดความวิตกกังวลให้มากที่สุด
บอลลูนได้เน้นการป้องกันอาการในเกร็งมากกว่าการใช้ยารักษาจึงทำให้อาการปวดศรีษะของเธอดีขึ้นตามลำดับ
โฆษณา