9 ก.พ. 2021 เวลา 17:03 • หนังสือ
ชื่อหนังสือ : ศาสตร์แห่งการเขียนที่โน้มน้าวได้ทุกคน
ผู้เขียน : ซง ซุกอี
ผู้แปล : วรวุฒ ขาวเงิน
สำนักพิมพ์ : AMARIN HOW-TO
ราคาหนังสือ : 235
.
คุณเคยประสบปัญหาทางด้านการเขียนไหม ?
.
สิ่งที่เราเขียนออกไป คนอ่านไม่เข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ
ไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไรให้มี ลำดับขั้นตอน
นำเสนองานในที่ทำงาน หรือ มหาลัย ไม่เคยผ่าน
.
หนังสือเล่มนี้อาจจะเหมาะกับคุณ !
.
เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มาบอกเพียงแค่ว่า คุณจะเขียนดีด้วยวิธีการใดอย่างเดียว
แต่การเขียนนั้น ยังส่งผลต่อเรื่องอื่นๆ เช่น กระบวนการคิด ด้วยเช่นกัน
สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านยาวๆ ผมก็สรุปแบบสั้นๆ คราวๆ มาให้
หนังสือ ศาสตร์แห่งการเขียนที่โน้มน้าวได้ทุกคน เป็นที่ขายดีในประเทศเกาหลี แม้แต่ Warren buffett (นักลงทุนที่รวยเป็นอันดับที่ 4 ของโลกจัดอันดับเมื่อปี 2020 โดย Forbes ) ยังบอกว่าทักษะการเขียนนั้น “สำคัญ” ช่วยในการจัดลำดับการคิดด้วย
.
ไม่ว่าจะเป็นนักสื่อสารที่เก่ง , นักพูด , นักคิด CEO นักออกแบบและนักเขียน รวมไปถึงอีกหลายอาชีพในระดับสูงเกือบทุกสาขา ต่างเห็นว่าทักษะการเขียนนั้นสำคัญพอๆ กับการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ
.
ถ้าคุณอยากจะสื่อสารให้ดีกว่านี้ นำเสนองานไม่ว่าจะในระดับชั้นเรียน - ที่ทำงานให้เข้าตาหัวหน้ามากขึ้น เพื่อจะให้สารที่เราต้องการสื่อไปถึงคนที่ต้องการมากขึ้น จงใช้วิธีการเขียนโดยใช้โครงสร้าง OREO MAP ลองดูสิ ! เพราะจะทำให้งานเขียนคุณดูมีเหตุผล และมีตรรกะมากยิ่งขึ้น ทำให้เราสื่อสารแก่นของเรื่องได้ชัดเจนและรวดเร็ว
.
ซง ชุกอี ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้มาบอกว่าการเขียนแบบเขาดีที่สุด
แต่การเขียนแบบนี้ ที่ได้รับการยอมรับมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในระดับ มหาลัยระดับโลก อย่างฮาร์วาร์ด หรือ ระดับองค์กรชั้นนำทั่วโลก เพราะส่วน ใหญ่มหาลัยชั้นนำ เน้นเรื่องการเขียนเป็นทักษะสำคัญ
หรือจะรวมไปถึงการที่ต้องพูดใน TED talks TED talks คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยนำคนทุกแวดวงการที่เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดังก็สามารถมาพูดได้ แต่จะทำอย่างไรให้การพูดบนเวทีมีเสน่ห์และดึงดูดผู้ฟัง จนไม่ทำให้การพูดของคุณดูน่าเบื่อเกินไป
.
เคล็ดลับอย่างหนึ่งคือ การเขียนอย่างมี ตรรกะ ทำให้การถ่ายทอดออกไป น่าฟัง มีเหตุผล พร้อมกับยกตัวอย่างและเน้นยำสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้อย่างชัดเจนไม่มีเร้นรอดไปได้ จนทำให้ผู้ฟังเข้าใจแก่นหลักของเนื้อหาได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่อย่างไรก็ดีเราไม่ได้จะเน้นเรื่องการพูด มากกว่าการเขียน แต่อย่างใด แต่แค่อยากบอกว่า การเขียน ส่งผลต่อการคิดและพูดอย่างไร
.
การเขียน คือการเชื่อมต่อความหมายของประโยค จากนั้นก็ถ่ายทอดเพื่อให้ฝั่งตรงข้ามเข้าใจ ถ้าหากว่าไม่ได้เรียนรู้และฝึกฝนอย่างหนักจนเคยชินละก็ แม่แต่กระบวนการคิดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
.
การเขียนนั้นสำคัญต่อการบวนการคิด บริษัทที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก ล้วนแต่คัดเลือกบุคลากรที่จะพลักดัน บริษัทไปข้างหน้า ด้วยการประเมินจาก
-ความสามารถจากการคิดริเริ่ม
-การสื่อสารที่ดี
-จิตใจที่อยากร่วมมือ .
-และความคิดเชิงวิพากษ์
ทักษะเหล่านี้ล้วนมาจากความสามารถในการ ‘คิดอย่างมีตรรกะ’
.
แม้แต่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Develoment หรือ OECD)
ได้ชี้ให้เห็นนถึงทักษะพื้นฐานที่ต้องเรียนในมหาวิทยาลัย โดยแบ่งออกเป็น
1.ความคิดเชิงวิพากษ์
2.การอนุมานเชิงวิเคราะห์
3.ทักษะในการแก้ปัญหา
4.ทักษะการสื่อสารผ่านการเขียน
ทักษะพื้นฐานทั้ง 4 อย่างนี้ คือการคิดอย่างมี ‘ตรรกะ’
.
งานเขียนให้มีตรรกะนั้น คือรูปแบบในอุดมคติสำหรับยุดแห่งการบริหารจัดการที่เน้นคววามคล่องตัว และตัดสินใจอย่างสายฟ้าแลบหลายครั้ง ถ้าเขียนอย่างมีตรรกะไม่ได้ นอกจากจะถูกตัดสินว่าเขียนไม่เป็นแล้ว ยังจะถูกดูแคลนว่าทำงานไม่เป็นอีกด้วย การเขียนงานอย่างมืออาชีพและสมเหตุสมผล มีปัจจัย 3 ประการที่ต้องใส่ ดังนี้
1. อะไร : เรื่องนี้เกี่ยวกับสิ่งใด
2. ทำไม : ทำไมจึงจำเป็น
3. อย่างไร : แล้วต้องทำอย่างไร
.
โดยเทคนิคในหนังสือเล่มนี้แนะนำ การเขียนที่มีโครงสร้าง คือ OREO MAP คือแผนการเขียนที่ช่วยให้สื่อแก่นได้รวดเร็ว
1 Opinion (ความเห็น) นำเสนอความเห็นที่เป็นแก่นกลางของเรื่อง
2.Reason (เหตุผล) พิสูจน์ข้ออ้างด้วยเหตุผล และ หลักฐาน
3.Example (ตัวอย่าง) พิสูจน์อีกครั้งด้วยเหตุการณ์ หรือ ตัวอย่าง
4. Opinion (ความเห็น) เน้นย้ำแก่นของเรื่องอีกครั้ง และ ยื่นข้อเสนอแนะ (offer)
.
ทำไมต้องเป็นการเขียน ทำไมฮาร์วาร์ด ถึงใช้วิธีนี้พัฒนา ตรรกะ การวิพากษ์ และ ทักษะการโน้มนาว ฮาร์วาร์ด ตอบคำถามนี้ง่ายๆ แต่ชัดเจน “ความคิดและการเขียนนั้นเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ การเขียนที่ดี จำเป็นต่อการคิดที่ดี”
.
ศาสตราจารย์โทมัส เจห์น (Thomas Jehn) ผู้วางรากฐานวิชาการเขียนที่ฮาร์วาร์ดยืนยันว่า
“ทักษะการคิด สามารถพัฒนาผ่านทางการเขียนได้เท่านั้น”
.
ศาสตราจารย์พอล โมเมอร์ (Paul Romer) แห่งมหาลัยวิทยาลัยนิวยอร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดสร้างระดับโลก
ทั้งยังได้รับรางโนเบลร่วม สาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี 2018 เน้นย้ำอีกเสียงว่า “การเขียนสำคัญต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก” การเขียนช่วยให้เราเรียบเรียงความคิดที่เคยโลดแล่นในหัวอย่างครุมเครือเป็นระเบียบได้
.
เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos) ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทแอมะซอน และเศรษฐีติดอันดับต้นๆ ของโลกยืนยันว่า “การเขียนคือทุกสิ่งของการพัฒนาความคิด”
.
สุดท้ายแล้วผมก็เพียงมาเล่าสู่กันพี่ๆ น้องๆ ฟังว่า การเขียนมันดีกับเรายังไง แล้วทำไมเราต้องฝึกเขียนให้เป็นทักษะ เพราะสิ่งที่สำคัญนั้น คุณไม่ได้ฝึกแค่ “การเขียน” แต่คุณกำลังได้ฝึก “การคิด” ไปด้วยในตัว
.
แม้ว่าเราจะอ่านหนังสือเล่มนี้จบไปแล้ว ก็ไม่มีประโยขน์ ! เพราะการอ่านเฉยๆ ไม่ได้ทำให้คุณเขียนดีขึ้นทันทีทันใด สิ่งที่เป็นหัวใจคือการนำ หลักการ ในหนังสือเล่มนี้ไปใช้มันจึงจะเกิดผล
.
แม้แต่นักเขียนเหล่าเซียนทั้งหลาย ต่างบอกไปในทิศทางเดียวกันว่า “การเขียนที่ไม่ดี คือการไม่เขียน”
.
การเริ่มตั้งแต่วันนี้คือดีที่สุด ไม่มีใครเขียนเก่งแต่เกิด “การได้เริ่มคือสิ่งที่สำคัญ แต่การทำทุกวันคือหัวใจ” แอดมินว่าจะอ่าน... กล่าวไว้แบบลอยๆ คอยให้คนผ่านไปมาเห็น
.
“คุณไม่ได้กำลังเขียนดีขึ้นจากเดิม แต่คุณกำลังคิดอย่างมี ตรรกะ มากขึ้นกว่าเดิม “ แอดมินกล่าวอีกรอบ กว่าลูกเพจลืม...
.
โฆษณา