10 ก.พ. 2021 เวลา 12:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
[Case Study] วัยรุ่นอเมริกันวัย 20 ฆ่าตัวตาย เพราะเข้าใจผิด
ว่าขาดทุน 20 ล้านจากการลงทุนในแอป ROBINHOOD
1
สรุปสั้นใน 1 ประโยค : เด็กหนุ่มอเมริกันวัย 20 ปีกระโดดใส่รถไฟ ฆ่าตัวตายเพราะแอปลงทุน Robinhood แสดงผลว่าเขาขาดทุน 22 ล้านบาท
1
เนื้อเรื่องยาว ๆ เต็มอิ่ม จุใจ :
ย้อนกลับไปกลางปี 2020..
วัยรุ่นชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Alex Kearns
ได้จบชีวิตตัวเอง เพราะเข้าใจผิดว่าเขาสูญเสียเงิน
เป็นจำนวนมากถึง 730,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 22 ล้านบาท
จากการลงทุนบนแอป Robinhood
1
ซึ่งต้นตอที่ทำให้เขาจบชีวิตตัวเอง
เกิดจากการที่ระบบ แสดงผลข้อมูลการขาดทุน
จากการที่ Kearns เข้าไปลงทุนในหุ้น และ Put Options ที่ซับซ้อน จนหน้าจอแอปแสดงผลว่าเขาขาดทุนมหาศาล
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ตัวเลขผลการขาดทุนที่ถูกแสดงเป็นเพียงตัวเลขคาดการณ์ที่ยังไม่ถูก Settle หรือยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง
1
ซึ่งถ้า Kearns ไม่อยากให้การซื้อขายเกิดขึ้น
มูลค่าที่เขาก็จะต้องจ่ายมากสุด
คือที่ มูลค่า Option Premium เท่านั้น
แต่ย้อนกลับไป ณ ตรงนั้น Alex Kearns คิดว่าเขาขาดทุนหนักมาก
แถมโดนแอปแจ้งเตือนจนทำอะไรไม่ถูก
อย่างไรก็ดี เขาพยายามที่จะติดต่อฝ่าย Support ของบริษัท Robinhood มากถึง 4 ครั้ง แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาเป็นเพียงข้อความอัตโนมัติ
"Thanks for reaching out to our support team!"
3
"We wanted to let you know that we're working to get back to you as soon as possible, but that our response time to you may be delayed."
พร้อมกับหมายเลขเคส Ticket 06849753 ที่ถูกเปิดไว้บนระบบ..
1
ซึ่งทาง Alex Kearns ก็ได้พยายามอีเมล์กลับไปว่า
2
"I was incorrectly assigned more money than I should have, my bought puts should have covered the puts I sold. Could someone please look into this?"
1
ผมได้ระบุมูลค่าการลงทุนที่ผิดพลาดไป ผมคิดว่าการที่ผมซื้อ Put Options มันจะเป็นการปิดสถานะ Put Options ที่ผมขาย มีใครพอจะช่วยให้คำปรึกษากับผมได้ไหม?
แต่อีเมล์ของ Alex Kearns ในตอนนั้น
ก็ไม่ต่างอะไรไปจากเสียงรอสาย
หมายเลขที่ท่านเรียก ไม่สามารถติดต่อได้ในขณะนี้
จนกระทั่งวันรุ่งขึ้น เขาก็ได้ตัดสินใจ
กระโดดใส่รถไฟเพื่อจบชีวิตตัวเอง..
3
เมื่อข่าวการเสียชีวิตของ Alex Kearns แพร่ออกไป
Robinhood ก็ได้ออกมาให้สัญญาว่าจะเปลี่ยนวิธีการทำงานของแอป
โดยจะให้ความรู้แก่ผู้ใช้และมอบเงินจำนวน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐให้กับ American Foundation for Suicide Prevention หรือมูลนิธิเพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตาย
ซึ่งถ้าถามว่ามันควรจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นไหม
คำตอบอย่างสุดซึ้ง ก็คือ "ไม่"
ที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง พยายามมาก ถึง มากที่สุด
เพื่อให้แอปมีฐานผู้ใช้งานที่โตระเบิด โดยออกฟีเจอร์ให้ใช้ง่าย
เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มคนอย่างกว้างขวาง
ซึ่งแน่นอนว่าจุดหมายปลายทางที่บริษัทคาดหวังก็คือ “เงิน”
“กำไร” และ “ความสนใจจากผู้ให้เงินระดมทุน” เท่านั้น
ซึ่ง Robinhood ก็ได้ทำทุกวิธีทางให้การลงทุนมันง่าย
ทำให้การลงทุนมันไม่มีค่าธรรมเนียม
เช่นเดียวกัน มันก็ทำให้เด็กวัยรุ่นวัย 20 ปี
ที่ไม่มีประสบการณ์การลงทุน
ไม่มีแม้แต่รายได้ประจำ สามารถมีอำนาจ Leverage
เข้าถึงเงินลงทุนได้เป็น ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2
เรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในกรณีศึกษา
ที่ทั้งนักพัฒนาแอปพลิเคชัน คนทำธุรกิจ ผู้ออกกฎหมายควบคุม
หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดต้องตระหนัก
1
หากเราไม่มองให้ครบทุกด้าน
ผลที่ตามมา จะไม่ใช่ตัวเลขทางบัญชีที่ไม่เป็นอย่างที่หวัง
แต่มันร้ายแรงกว่านั้น เพราะมันอาจหมายถึง "ชีวิตคน"
Robinhood เรื่องเล่าพื้นบ้านของโจรที่ปล้นคนรวยมาช่วยเหลือคนจนที่เรารู้จักในยุคก่อน ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อบริษัทการเงิน ที่หวังจะให้คนทั่วโลกเข้าถึงการลงทุน
1
บัดนี้ ได้กลายมาเป็นแอปฆาตกร
ที่ได้ปล้นชีวิตเด็กไร้เดียงสาให้จากไป อย่างไม่มีวันหวนคืน..
โฆษณา