10 ก.พ. 2021 เวลา 16:56 • ดนตรี เพลง
เมื่อคนขาย โดนป้ายยา อะไรจะเกิดขึ้น !!!
ก่อนอื่นก็เกริ่นก่อนนะครับ ว่าเรื่องนี้จะแบ่งเป็น 2 EP นะครับ จริงๆเรื่องมันไม่ได้ยืดยาวอะไรหรอก แต่พอได้พิมพ์แล้วมันเพลินก็จะขอแบ่งเป็น 2 ตอนละกันครับ
ช่วงนี้กระแสอุปกรณ์อย่าง แอมป์พลิฟายเออร์ที่กำลัง Hot ในขณะนี้กับ Cayin C9 ที่ใครหลายๆคน ก็คงได้ทดสอบ และได้สัมผัสกับน้ำเสียงของแอมป์ตัวนี้ในหลายๆโหมด กันไปแล้วนะครับ ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรดักซ์ที่ทาง Cayin นั้นก็ตั้งใจให้ตอบโจทย์การพกพาจริงๆ
วันนี้ก็ถือโอกาสเล่าให้ฟังละกัน อย่าเรียกรีวิวเลย เพราะมันมีอีกฟังก์ชั่นนึงที่น่าสนใจมาก ที่มากับ Cayin C9 ด้วย นั่นคือโหมด Pre-Amp นั่นเองครับ โดยเป็นความอยากที่เกิดจาก คุณ Chuphan Tharacheewin ได้นำภาพ จากเพจต่างประเทศเพจนึงที่ถ่าย รูปเจ้า Cayin C9 กับ Cayin N6ii ที่ใส่บอร์ดรหัส A02 แล้วทิ้งคำพูดแค่ว่า “ โหมดปรี เค้าว่าเทพสุด “ เท่านั้นแหละ คืนนั้นผมนี่ถึงกับนอนไม่หลับเลยครับ
อันนี้ภาพของผมนะ ไม่ใช่ภาพจากที่คุณ Chuphan นำมาฝาก
ก็เลยนึกขึ้นได้ว่าช่วงที่ Cayin ผลิตบอร์ด A02 ออกมาใหม่ๆ
ผมเคยไปเห็นคอมเม้นท์บางคนที่ใช้ N6ii ออกมาตำหนิทางแบรนด์
โดยมีใจความประมาณว่า ทำเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา แต่ทำไมถึงทำบอร์ดที่ใช้ได้กับเฉพาะเครื่องเสียง Desktop
แล้วมันจะเรียกว่าเครื่องเล่นเพลงพกพาได้ยังไง
(ตอนนั้นยังไม่มีข่าวว่าจะออก Cayin C9)
รูปจาก Cayin
จากนั้นทาง Cayin ก็ออกมาขอบคุณความคิดเห็นนั้น พร้อมอธิบายถึงเหตุผลว่าการที่เขาผลิต N6ii มานั้นก็เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ทั้งกับกลุ่มผู้เล่นที่ใช้งานกับ Headphone ซึ่งก็มีบอร์ดรหัส อื่นๆ ที่ผลิตออกมาจำหน่ายก่อนหน้านี้ และบอร์ด A02 ที่ผลิตออกมานี้ก็เผื่อคนที่ต้องการ เครื่องเล่นเพลงไปใช้กับอุปกรณ์ประเภท ปรีแอมป์ พาวเวอร์แอมป์ อินทิเกรตแอมป์ หรือแม้แต่ลำโพงแอคทีฟ แบบนี้เป็นต้น (อยากอ่านเพิ่มไปแปลกันเองนะครับ ลองดูเพจ Official น่าจะเป็นโพสต์บอร์ด A02 ครั้งแรก ราวๆวันที่ 28/9/63 ) และหลังจากนั้นอีกไม่นาน Cayin ก็เปิดตัว Cayin C9 ออกมาให้ทดลอง น่าจะเดือน ต.ค.2563 ขอเกริ่นๆแค่ประมาณนี้ละกัน
ใครเขาใส่โลโก้กันแบบนี้  มันบังรหัสบอร์ดไม่เห็นรึไง
ตัดภาพกลับกลับมาที่ผมซึ่งกำลังมีอาการที่เหมือนโดนหมามุ่ย เพราะความคัน ของผมก็เริ่มกำเริบ ก็เลยรีบไปลองหาส่องๆว่ามีใครเคยลองแล้วบ้าง ก็เห็นมีรีวิวที่เคยลองเทียบกันระหว่าง Cayin N6ii กับ Cayin iDap-6MK2 ครับ และถึงแม้ว่าเนื้อหาของรีวิวนั้น จะเทน้ำหนักไปทาง Cayin iDap-6MK2 มากกว่าอยู่นิดนึงก็ตาม แต่เรามีโจทย์ว่า มันต้องพกพาได้สิ ดังนั้น Cayin iDap-6MK2 จึงต้องถูกตัดทิ้งไป แล้วจึงสั่งบอร์ด A02 เพื่อนำมาใส่กับ Cayin N6ii ที่มีอยู่โดยทันทีครับ
โดยพอเจ้าบอร์ด A02 มาถึงก็รีบแกะเพื่อทำการทดสอบทันทีครับ
โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ
อันดับแรกก็เช็คก่อนครับว่า เฟิร์มแวร์ เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้ว คนที่ใช้งานบ่อยๆก็คงอัพเดทไปเรียบร้อยแล้วหล่ะครับ
ที่นี้ให้ปัดแทบเมนูด้านบนลงมาครับ จะเห็นเมนูที่เป็นภาษาจีน มันจะปรับได้แค่ 2 แบบ เท่านั้น ก็ให้ปรับเป็น Pre ให้เหมือนในรูปนะครับ
ปรับเป็นสัญลักษณ์แบบนี้นะครับ
แบบนี้คือ Line Out นะครับ ซึ่งเราไม่ได้ตื่นเต้นกับอันนี้ครับ 555
ในส่วนถัดมาเราก็ต่อ In put และ Out Put ให้เรียบร้อยนะครับ ในที่นี้ผมจะต่อแบบ 4.4 mm. ทั้ง In put และ Out put เลยนะครับ
(ใครสะดวกต่อ 3.5 SE ก็ได้ครับ แต่เสียงไม่เหมือนกันนะครับ)
พอเราเสียบ In put และ Out Put แบบในภาพเรียบร้อยก็ทำการเปิดเจ้า Cayin C9 ได้เลยครับ แล้วก็ปรับสวิทช์มุมซ้านบนของเครื่อง Cayin C9 ที่เป็น Line/Pre Mode ไปทางขวามือ คือไปทาง Pre นะครับ
ปรับสวิทช์อันแรกมาทางขวา  ส่วนสวิทช์ Gain ถ้าใช้หู IEM แบบ BA ไดร์เวอร์ก็ไปที่ Low ก่อน เพื่อความสบายใจ
ที่นี้ด้านข้างๆตัวเครื่อง Cayin C9 จะมีปุ่มดำๆ กลมๆ และช่องแสดงสถานะไฟนะครับ ให้กดค้างที่ปุ่มครับ จนไฟสีขาวขึ้นมาก็ปล่อยได้เลยครับ
(เป็นไปได้ก็ควรลด Volume ของอุปกรณ์ทั้ง 2 ก่อนนะครับ เซฟตี้ไว้ก่อนดีกว่าครับ)
แบบนี้คือเรียบร้อยพร้อมทำงาน
ที่นี้เราก็ถือว่าจะเปิดทำงานโหมดนี้โดยสมบูรณ์แล้วครับ ที่นี้จะสังเกตว่า Volume ของเครื่อง Cayin N6ii จะถูกปรับให้เหลือเพียง 20 แนะนำว่า อย่าเพิ่งปรับเพิ่มนะครับ ตอนนี้การควบคุมเสียงทั้งหมดอยู่ที่เจ้า Cayin N6ii ทั้งหมดแล้ว ตอนนี้ที่ Knob Volume ของตัว Cayin C9 ก็ไม่ทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ระดับเสียงที่ 25 ถือว่าดอกไดร์เวอร์กระพือได้อย่างสมบูรณ์แล้วครับ โดยที่ผมได้ ตั้งค่า Pre Gain ในตัวเครื่อง N6ii ผมก็ปรับไปเป็น Hdb เลยหล่ะ เรียกว่าเอาให้สุดเพื่อจะสังเกตข้อจำกัดในการใช้งานด้วยครับ
แต่เราจะยังสามารถปรับ High Gain / Low Gain รวมไปถึง timbre และ Amp Class A/AB ที่ตัวเครื่อง Cayin C9 ได้ตามปกติอยู่นะครับ
ที่นี้ในเมนูแถบด้านบนที่เราปัดจากหน้าจอลงมานั้น ก็จะมีในส่วนของ เมนู LPF หรือชื่อแบบเป็นทางการที่ทาง Cayin เรียกว่า Dual Low-Pass Filter ซึ่งจริงๆมีแต่ 2 แบบ คือ แบบ PCM และ DSD แต่ปรับได้ 3 แบบ เพราะมันมีให้เลือกแบบ Auto อีกหนึ่งแบบ ซึ่งเขาเคลมว่าหากใครขี้เกียจมานั่งปรับก็ให้เลือกแบบ Auto ได้เลย
เพราะจะมีระบบที่คอยประมวลผลให้เองว่าเพลงที่ฟังอยู่เหมาะกับแบบไหน
คงไม่ต้องอธิบายนะครับว่าผมเลือกแบบไหน แน่นอนครับ Auto !! ตามสไตล์
แล้วถ้าเราเข้าไปที่เมนูตั้งค่าเสียง ก็จะไปเจอตัวเลือกในการปรับอีกอีกนิดหน่อย
เช่นตัวกรอง DSD / ตัวกรอง PCM ในส่วนตรงนี้ชอบแบบไหนจัดแบบนั้นครับ
เอาหล่ะครับงั้นผมขอแบ่งในส่วนของ EP.1 ไว้ที่ตรงนี้แล้วกัน เพราะ EP. ต่อไปจะเป็นการทดสอบแนวเสียงเบื้องต้น แบบในความรู้สึกส่วนตัวของผมเอง อาจมีการผันแปรไปตามอุปกรณ์ การตั้งค่า และไฟล์เพลงของแต่ละบุคคล ก็ขอให้ใช้วิจารณญานในการเสพสื่อด้วยนะครับ ไม่ต้องเชื่อผมทั้งหมดก็ได้
เนื้อเรื่องในส่วน EP. 2 ก็จะอธิบายรวบรัดเกี่ยวแนวเสียงเบื้องต้น คงไม่อธิบายทั้งหมดนะครับ เพราะหลายๆคนก็คงจะเคยฟังในโหมด Line Out ซะส่วนใหญ่แล้ว หรือไม่แน่ผมอาจจะทำรีวิว Cayin C9 แยกไปอีกทีนึงดีกว่า ตัวหูฟังผมก็ยึดเอาแค่รุ่นเดียวที่พอจะเทียบให้เข้าใจง่าย คือจะใช้ตัว QDC Dmagic 3D เพียงตัวเดียว เพราะว่าสายเดิมๆ มันเปลี่ยนแจ็คได้ เลยคิดว่าง่ายดีถ้าจะทดสอบแบบสลับ Out put ไปมาระหว่าง Out put 3.5 SE และ 4.4 Balanced แล้วอีกอย่าง QDC Dmagic 3D นั้นมี Sound Signature ที่ฟังแล้วไม่เหมือนตัวอื่นๆ เลยคิดว่ามันโอเคที่สุดครับ
ยังไงก็ขอบคุณทุกคนที่ทนอ่านความขี้โม้ของผมมาถึง ย่อหน้านี้ได้ แล้วถ้าเพื่อนๆชอบ เนื้อหาประมาณนี้ ผมขอให้เพื่อนๆกดติดตามไว้ ซึ่งสไตล์การเขียนแบบนี้ ผมอาจจะไม่ได้เขียนลงเพจซักเท่าไหร่ พื้นที่ตรงนี้ผมอยากได้เพื่อน พี่ น้อง ไว้แลกเปลี่ยนมุมมองกัน ก็ตามชื่อเพจครับ ไม่ได้มาขายอะไรเลย
ถ้าชอบก็กดหัวใจ ถ้าไม่ชอบก็เรื่องของคุณครับ 5555 (ล้อเล่น) อยากให้ผมปรับตรงไหนก็เสนอแนะมาได้ครับ จะพยายามนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้แน่นอนครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา