11 ก.พ. 2021 เวลา 09:03 • ความคิดเห็น
ภาษี e-Service บังคับใช้แล้ววันนี้
รู้ไหมว่ามีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างไรบ้าง ?
ภาษี e-Service เก็บจากผู้ให้บริการต่างประเทศ
ก่อนจะทำความเข้าใจภาษี e-service ว่ามีผลกระทบต่อเรายังไง มาทำความเข้าใจพื้นฐานภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างประเทศกันสักหน่อยดีกว่าครับ
โดยปกติแล้ว ภาษีที่เรียกเก็บจากธุรกิจต่างประเทศนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ นั่นคือ ภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปัญหาก็คือ ประเทศไทยนั้นอาจจะไม่สามารถเก็บภาษีเหล่านี้ได้ เพราะ กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจในการจัดเก็บ
หรือพูดง่าย ๆ ก็ได้ว่า กฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้สรรพากรมีอำนาจเก็บภาษีจากกลุ่มธุรกิจพวกนี้นั่นเองครับ
ยกตัวอย่างเช่น Facebook ที่มีรายได้จากค่าโฆษณาในประเทศไทย ถ้าเรามองในกรอบของภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม จะพบว่า
1
กรณีของภาษีเงินได้ : Facebook ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย ดังนั้นประเด็นแรก เราจะ Facebook ให้มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (จากฐานกำไรสุทธิ) เหมือนธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย จึงไม่สามารถทำได้
อีกข้อกฎหมายหนึ่งที่พยายามจะเก็บให้ได้ คือ กรณีของ เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฏากร ที่ใช้สำหรับธุรกิจนิติบุคคลที่ไม่ได้ประกอบกิจการในไทย แต่มีรายได้จากประเทศไทย ก็ไม่สามารถเก็บได้อยู่ดี เพราะว่ารายได้ค่าโฆษณาที่ Facebook ได้รับนั้น ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8
แต่กฎหมายมาตรานี้ระบุให้เก็บได้เฉพาะเงินได้ประเภทที่ 2-6 เท่านั้น
4
ดังนั้น ที่ทุกวันนี้ธุรกิจต่างประเทศหลายๆแห่ง ไม่ได้เสียภาษีในประเทศไทย ก็เป็นเพราะสาเหตุนี้นั่นแหละครับ
และต่อให้บางธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเสีย เราก็ยังมีเรื่องของ อนุสัญญาภาษีซ้อน ที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นกรณีไป ตามประเภทของเงินได้ และการจัดเก็บในต่างประเทศที่เป็นคู่สัญญากับประเทศไทยอีกทีหนึ่ง
1
จบแบบ ๆ ซึ้ง ๆ ในพื้นฐานตรงนี้ก่อนว่า การเก็บภาษีเงินได้จากธุรกิจเหล่านี้จึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก
เราจึงฝากความหวังไปกับภาษีอีกประเภท นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น จะเก็บจากการซื้อสินค้าหรือให้บริการที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจากกรณีของธุรกิจต่างประเทศหลายแห่งมากมาย ก็มีการให้บริการในไทยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อย่าง Facebook ก็ถือว่าเป็นบริการประเภทหนึ่ง (โฆษณา)
ดังนั้น Facebook จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยด้วย เพียงแต่ก่อนหน้านี้ กฎหมายได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ "ผู้จ่ายเงินในประเทศไทย" ที่มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 (2) ด้วยแบบแสดงรายการ ภ.พ. 36 และให้สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้ (ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินนั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หรือพูดง่าย ๆ ในภาษาของเจ้าของธุรกิจว่า ถ้ามีการจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook แล้วล่ะก็ ต้องมีการนำส่งภาษี 7% แทน Facebook โดยแบบ ภ.พ. 36 ด้วยนั่นเอง โดยทางฝั่งของเจ้าของธุรกิจในไทย หากมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถนำตัวเงินภาษีนี้ มาใช้เป็นภาษีซื้อของธุรกิจที่หักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้อีกต่อหนึ่ง (ซึ่งผู้ประกอบการบางรายก็ทำ บางรายก็ไม่ทำ บางรายก็ไม่รู้ ทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีส่วนนี้)
1
แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่าจะไม่แฟร์กับธุรกิจในประเทศไทย เช่น ถ้าหากวันหนึ่งมีธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อย่างเช่น Blockdit หากจะมีรายได้จากการให้โฆษณาใน platform ของตัวเอง กลายเป็นว่าทาง Blockdit จะต้องเสียและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มจำนวนเสมอ ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้เหมือนกับที่กล่าวมา
2
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของภาษี e-service ตัวนี้ ที่จะมาเก็บธุรกิจต่างประเทศให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในไทยอย่างเต็มจำนวน ไม่สามารถหลบเลี่ยงหรือบิดพรื้วได้ โดยคอนเซปท์ของกฎหมายฉบับนี้ คือ
1
พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฏากรฉบับที่ 53
ธุรกิจต่างประเทศที่ให้ บริการอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม กับผู้บริโภคที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีหน้าที่เพิ่มเติมที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการแก่กรมสรรพากร โดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษี และไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้
สำหรับตัวอย่างของการให้บริการอิเล็กทรอนิคส์ ที่พอจะเห็นภาพว่าน่าจะเข้าข่ายที่ต้องเสียภาษี e-Service นั้น ได้แก่
การให้บริการรูปแบบโฆษณา เช่น Facebook, Google, Line
บริการจองโรงแรมที่พัก/เดินทาง เช่น Booking.com, Agoda, Traveloka
บริการดูหนังฟังเพลงออนไลน์ เช่น Netflix, Spotify, Apple music, Youtube, HBOGo
บริการสตรีมมิ่ง เกมส์ต่างๆ เช่น XboxLive, Playstion online, Nintendo switch online
1
บริการแอพพลิเคชั่น เช่น Play Store, App Store
โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษีกลุ่มนี้ไม่มีหน้าที่ที่ต้องออกใบกำกับภาษี แต่ยังต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) ให้กับกรมสรรพากร และไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) มาใช้หักจากภาษีขายด้วยครับ
และจะมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อ มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เวปไซด์กรมสรรพากรอีกทีหนึ่ง
ใครที่อ่านแล้วเริ่มมึน ผมสรุปง่าย ๆ ให้ฟังแบบนี้ครับว่า
ภาษีตัวนี้ มีผลให้ธุรกิจต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากราคาขายสินค้าหรือให้บริการที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเสียในส่วนที่ให้บริการกับผู้บริโภครายย่อย (B2C) เท่านั้น
1
โดยในส่วนของธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย (จด VAT) ยังให้ทำหน้าที่เดิมคือ ให้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเอง และ นำภาษีที่จ่ายไปมาใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
แต่ประเด็นที่จะมากระทบกับผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็คือ ค่าสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่เรียกเก็บนั้น เดิมไม่ได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ส่วนนี้ไว้ ดังนั้นคำถามที่ถามต่อก็คือ แล้วเขาจะผลักภาระมาให้กับผู้บริโภคอย่างเราโดยการบวกเพิ่มอีก 7% หรือเปล่า
2
คำถามนี้ยังไม่มีคำตอบ
แต่ถ้าให้คนตอบคำถามนี้เป็นคุณผู้อ่านทุกคน
คิดว่าจะบวกราคาเพิ่มอีก 7% ไหมล่ะครับ :)
1
ป.ล. ใครที่ต้องการอ่านบทความฉบับเต็มแบบละเอียด สามารถอ่านได้ที่บทความด้านล่างนี้ครับ
3
โฆษณา