11 ก.พ. 2021 เวลา 11:54 • ประวัติศาสตร์
• สรุป Timeline วิกฤติการณ์ของชาวโรฮิงญาในพม่า ฉบับเข้าใจง่าย
• 1784
พระเจ้าบอโดพญา หรือพระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์คองบอง บุกยึดครองดินแดนยะไข่ (หรืออาระกัน) ซึ่งดินแดนแห่งนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวโรฮิงญา (Rohingya) กลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่อาศัยอยู่ภายในดินแดนยะไข่แห่งนี้
• 1824-1885
อังกฤษทำสงครามกับราชวงศ์คองบองของพม่าผลสุดท้ายอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
• 1885-1942 และ 1945-1948
ธงของกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา
ยุคสมัยที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยอังกฤษได้ทำการอพยพชาวอินเดียและชาวบังกบาเทศจากทางด้านตะวันตก เข้ามาอยู่อาศัยภายในดินแดนยะไข่ ซึ่งส่งผลให้จำนวนของชาวโรฮิงญา รวมไปถึงชาวมุสลิมในยะไข่ มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแสนคน
• 1942-1945
1
กองทัพญี่ปุ่นบุกยึดครองพม่า ชาวโรฮิงญาสนับสนุนทางการอังกฤษให้ต่อสู้กับญี่ปุ่น ในขณะที่ชาวพม่าสนับสนุนญี่ปุ่น เพื่อต่อสู้เป็นเอกราชจากอังกฤษ ผลของความขัดแย้ง ส่งผลให้มีชาวโรฮิงญามากกว่าหมื่นคน อพยพหลบหนีไปยังอินเดียและบังกลาเทศ
• 1948
พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ สถาปนาสหภาพพม่า โดยรัฐสภาของพม่าได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการเป็นพลเมืองของสหภาพ โดยถือว่าประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงชาวโรฮิงญาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในพม่า
• 1949
รัฐบาลของพม่ากำหนดรูปแบบการพิสูจน์สัญชาติเป็นครั้งแรก โดยรัฐบาลเริ่มออกบัตรลงทะเบียนให้กับประชาชนทุกคนรวมถึงชาวโรฮิงญาด้วย
• 1951-1960
ในช่วงเวลานี้ ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในพม่า โดยประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งรวมทั้งชาวโรฮิงญาด้วย ซึ่งก็ได้มีชาวโรฮิงญาหลายคนที่ได้เป็นสมาชิกของรัฐสภาพม่าเช่นกัน
• 1962
ข่าวหนังสือพิมพ์ นายพลเนวินทำรัฐประหาร
พลเอกเนวิน ก่อรัฐประหารในพม่า จุดเริ่มต้นของยุคเผด็จการทหารในพม่า ที่มีความยาวนานกว่า 50 ปี
1
• 1974
รัฐบาลพม่าประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และปกครองประเทศภายใต้พรรคการเมืองเดียว
ที่สำคัญคือ ยังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง (Emergency Immigration Act) เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของกลุ่มบุคคลที่ถูกมองว่าเป็น "พวกต่างชาติ" ซึ่งได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มที่ไม่ใช่ชาวพม่า (ซึ่งก็รวมชาวโรฮิงญาด้วย) มีการริบสัญชาติจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้
3
• 1978
กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ "นากา มิน" (Naga Min) เพื่อกวาดล้างและจับกุมกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่ชาวพม่า โดยเฉพาะกับชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ เริ่มมีชาวโรฮิงญาเริ่มอพยพหนีออกจากพม่า
• 1982
รัฐบาลพม่า ประกาศว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ชาวพม่า จะไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมายอีกต่อไป
1
• 1991
กองทัพพม่าเปิดปฏิบัติการ "ปิ ทายา" (Pyi Thaya) หรือ "ปฏิบัติการทำความสะอาดเพื่อประเทศที่สวยงาม" ชาวโรฮิงญาราว 250,000 คนหลบหนีไปยังบังกลาเทศ
• 1992
รัฐบาลพม่าจัดตั้งกองกำลังรักษาชายแดน (Nasaka) เพื่อก่อกวนและข่มเหงชาวโรฮิงญา
• 1994
สูติบัตรของเด็กชาวโรฮิงญาในพม่า ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลพม่าอีกต่อไป
• 1995
ตัวอย่างบัตรประชาชนสีขาวของชาวโรฮิงญา
รัฐบาลพม่าออกกฎหมายบัตรประชาชนสีขาว (White card) ให้กับชาวโรฮิงญา โดยถือว่าเป็นบัตรประชาชนแบบชั่วคราวเท่านั้น
• 2012
เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ กลุ่มชาวพุทธในรัฐยะไข่จัดตั้งหน่วย 969 (The 969) เพื่อกวาดล้างชาวโรฮิงญาด้วยความรุนแรง
1
• 2012-2014
ชาวโรฮิงญานับแสน ๆ คน อพยพออกจากพม่า
• 2014
มะบ๊ะต๊ะ (Mabatha) ซึ่งเป็นองค์กรของกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรงในพม่า ประกาศต่อสู้เพื่อพิทักษ์พระพุทธศาสนา และกวาดล้างกลุ่มคนนอกศาสนาโดยเฉพาะชาวโรฮิงญา ให้หมดสิ้นไปจากพม่า
2
• 2015
บัตรประชาชนสีขาวของชาวโรฮิงญา ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลพม่าอีกต่อไป ในปีเดียวกัน พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางอองซานซูจี ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และจัดตั้งรัฐบาลปกครองพม่าในปีถัดมา
• 2016
ทหารพม่าทำการกวาดล้างชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่อีกครั้ง ส่งผลให้ชาวโรฮิงญามากกว่า 86,000 อพยพออกนอกประเทศ
• 2017
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในกรณีของชาวโรฮิงญา แต่รัฐบาลพม่าปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ
ในปีเดียวกัน กองกำลังของชาวโรฮิงญาที่เรียกว่า ARSA ได้ต่อสู้กับชาวพม่าและทหารพม่าในรัฐยะไข่ มีการรายงานว่า มีชาวโรฮิงญาล้มตายมากกว่า 9 พันคน และอพยพออกนอกพม่ามากกว่า 7 แสนคน
• 2017-2019
สหรัฐอเมริกาประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและกองทัพพม่า เพื่อตอบโต้ในกรณีของชาวโรฮิงญา
• 2018
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ พบว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการก่ออาชญากรรมต่อชาวโรฮิงญาในพม่ามีอยู่จริง
• 2019
มีชาวโรฮิงญามากกว่า 9 แสนคน อาศัยอยู่ในบริเวณชายแดนบังกลาเทศ-พม่า
นางอองซานซูจี ในการพิจารณาคดีที่ศาลโลก
ในปีเดียวกัน ประเทศแกมเบียได้ยื่นฟ้องร้องผ่านศาลโลก ให้พิจารณาคดีกับพม่าในข้อหาก่ออาชญากรรมและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา ในเดือนธันวาคม 2019 นางอองซานซูจีได้ขึ้นให้การต่อศาลโลก ซึ่งผลของการพิจารณาคดีนี้ จะถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา