Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Better called geek
•
ติดตาม
12 ก.พ. 2021 เวลา 07:08 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ตีแผ่ ชักจูง หรือสะใจ ?
#ซีเรียสเดอะซีรี่ส์
- ปฏิเสธไม่ได้ว่าละครที่มาจากสื่อกระแสหลักอย่างทีวีที่มีอิมแพ็คต่อกลุ่มคนดูทุกช่วงอายุ เนื่องจากเป็นสื่อที่เราไม่สามารถควบคุมได้(และไม่ขอเชื่อการจำกัดเรทอายุจะสามารถทำงานได้เกิน50%)และเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางที่สุด แต่สื่อประเภทนี้ที่มีโพเทนเชียวขนาดนี้กลับย่ำอยู่กับที่และมิหนำซ้ำยังจะมีแววใส่เกียร์Rถอยหลังลงคลองอีก
- ทำไมการข่มขืนถึงเป็นเรื่องธรรมดาในสายตาคนบางกลุ่ม ? แน่ล่ะ ความสะใจที่จะได้เห็นตัวละครบางตัวที่เราเกลียดบนจอแก้ว ถูกผลกรรม(?)ที่บางครั้งและหลาย ๆ ครั้งไม่ได้มาในรูปแบบกฎหมายแต่เป็นกฎหมู่โดยการถูกกระทำย่ำยีทางกามอารมณ์ นั่นอาจจะเป็นเหตุผลและประเภทแรกที่นึกขึ้นมาได้ ประเภทที่สองคือ ตัวเอกหรือนางเอกที่โดนพระข่มขืน เมื่อตื่นขึ้นมาส่วนใหญ่จะพบว่า ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายที่ถูกตีตราและเป็นฝ่ายที่ต้อง(จำเป็น)ตกหลุมรักฝ่ายชายอย่างเดียวแบบไม่มีเงื่อนไข แต่ฝ่ายชายกลับไปได้ฝ่ายนางอิจฉาเพิ่มมาอีกคนโดยแทบจะไม่มีเสียงค่อนขอดจากฝั่งคนดู แต่ถ้าลองกลับเป็นตัวฝ่ายหญิงเองที่เผลอไปได้กับพระรองบ้างล่ะ ? ขอรับประกันว่าผลลัพธ์ที่ตามมาจะแตกต่างจากฝ่ายชายอย่างแน่นอนในสังคมไทย แต่ว่านี่เป็นความธรรมดาเคยชินของสัมคมที่มาจากไหนกัน? แล้วถ้าหากว่านี่คือค่านิยมผิดๆที่เรารับผ่านสื่อกระแสหลักตลอดสิบหรือยี่สิบปีที่เราใช้ชีวิตกันมาล่ะ ?
- ยกตัวอย่างการ One night stand ของชาย ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่มันจะยิ่งทวีความเท่ขึ้นไปอีกเมื่อถูกพูดในวงผู้ชายด้วยกัน ฝ่ายชายประเภทนี้มักจะถูกเรียกว่า "เสือหรือ เพลย์บอย " ซึ่งคำเรียกดังกล่าวไม่ได้ส่งผลทางลบมากมายอะไรต่อสายตาสังคม หนำซ้ำบางกลุ่มยังนับเป็นการ"เติมยศ"ให้กับเกียรติประวัติตัวเองเสียอีก แต่พอเป็นฝ่ายหญิงทำบ้าง กลับถูกสังคมตีตรา ชี้หน้า และมักถูกเรียกว่า"ล่าแต้ม หรือ กินผู้ชาย" ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกเรียกว่าดีงาม(?)ในบริบทสังคมไทยสักเท่าไร ความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียมนี้มันอะไรกัน ?
- ในหนังสือโฮโมเซเปียน ของ ยูวัล โนอาห์ แฮรารี เปิดเผยเรื่องชายกับหญิงได้อย่างน่าสนใจว่า กฏหมายหลายระบบในสมัยก่อนหรือยกตัวอย่างกฎหมายฮัมบูราบี เมื่อฝ่ายหญิงเป็นผู้ถูกกระทำหรือถูกข่มขืน ฝ่ายที่จะได้รับค่าชดเชยจะกลายเป็นพี่ชายหรือพ่อและครอบครัว โดยตัวผู้หญิงเองจะไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายใดๆหรือแม้แต่การเลือกที่จะไม่รับเองเสียก็ตาม นอกจากนี้ภายในรายละเอียดกฏหมายยังตั้งราคาสิ่งของหรืออวัยวะที่ถูกทำให้เสียหาย เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ฝ่ายชายยังมีค่ามากกว่าฝ่ายหญิงอีกต่างหาก การตรากฏหมายอย่างนี้มันจะต่างอะไรกับการมองว่าผู้หญิงเป็นเพียงสินทรัพย์ที่เมื่อถูกทำความเสียหาย ตัวสินทรัพย์เองจะไม่ได้รับค่าชดเชย แต่กลับเป็นเจ้าของสินทรัพย์เสียอย่างนั้น ? ความคิดแบบที่ว่าชายเป็นใหญ่ตั้งแต่สมัยฮัมบูราบีมันควรจะมีอยู่ในปี2021 อยู่อีกหรือ ? ละครไทยที่มาจากสื่อหลักกำลังทำหน้าที่ตีแผ่สังคมอย่างที่ตัวเองบอกอยู่จริง ๆ หรือ ? แล้วการตีแผ่สังคมมันจำเป็นกับสังคมไทยจริง ๆ หรือ ?
- เป็นที่รู้กันดีว่าสังคมเกาหลีใต้นั้น มีค่านิยมอยู่ที่ว่าชายเป็นใหญ่ ยอมรับเถอะว่าเป็นที่รู้ ๆ กัน โอปป้าส่วนใหญ่ที่เราเรียกกัน ในความจริงไม่ได้ให้เกียรติฝ่ายหญิงหรือเพศตรงข้ามเท่าที่ควร ซึ่งออกจะหนักกว่าประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ แต่…เดี๋ยวก่อน ย้อนกลับมาดูละครหรือซีรี่ส์ที่เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของตัวเกาหลีใต้เอง ทั้งสื่อกระแสหลักและรองทำหน้าที่ขานรับกัน โดยทำการเลือกที่จะไม่"ตีแผ่"สังคม แต่กลับ"ชักจูง"สังคม ด้วยการสร้างพระเอกที่เป็นดุจเทพนิยายของสาว ๆ รักเดียวใจเดียว มีความจริงจัง ทะเล้นบ้าง ขี้เล่นนิด ซึนเดเระหน่อย อีกทั้งยังปฏิบัติกับฝ่ายหญิงอย่างให้เกียรติ โดยสื่อเหล่านี้มุ่งหมายว่า การทำโมเดลแบบนี้ จะทำให้ผู้ชายในเกาหลี ยึดเป็นโมเดลและปฏิบัติตาม อีกทั้งยังได้โบนัสเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อเกาหลีใต้อีกต่างหาก ! ได้ทั้งขึ้นและล่อง
- ย่อหน้าดังกล่าวไม่ได้เป็นการชี้ว่าการตีแผ่สังคมนั้นมันผิด เป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ ไม่สมควรทำ แต่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่า การชักจูงหรือการตีแผ่ ควรใช้ให้เหมาะกับบริบทของเรา หนำซ้ำการชักจูงและตีแผ่ยังสามารถใช้ร่วมกันได้โดยไม่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทั้งคู่ต้องอยู่ภายในกรอบกำหนดและต้องเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย อีกทั้งต้องไม่ลืมมุมมองทางค่านิยม การตีแผ่และการชักจูงนั้นจึงจะเกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุด
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย