14 ก.พ. 2021 เวลา 15:40 • สัตว์เลี้ยง
“ฉันขอโทษ ฉันจะตามไปที่นั่นเร็วๆนี้...โปรดรอฉันด้วย” คิตามูระกล่าวทั้งน้ำตา
ทาโร่&จิโร่ สุนัขที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา(Ep.2)...
ย้อนไปอ่าน Ep.1 ก่อนนะครับ ^^
ไทอิจิ คิตามูระ กับ ทาโร่&จิโร่
ไทอิจิ คิตามูระ ในวัย 83ปี ค่อยๆใช้ไม้เท้าประคองร่างเพื่อเดินเข้าไปที่อนุสาวรีย์ ด้วยน้ำตาที่ไหลอาบใบหน้า อดีตนักสำรวจวัยชราพูดกับรูปปั้นสุนัขที่อยู่ตรงหน้า
“ฉันขอโทษ ฉันจะตามไปที่นั่นเร็วๆนี้...โปรดรอฉันด้วย” คิตามูระกล่าวทั้งน้ำตา
คิตามูระ หนึ่งในสมาชิกที่ร่วมทีมสำรวจชุดแรกของญี่ปุ่นไปยังแอนตาร์กติกาในปี 2500 สุนัขลากเลื่อนทั้ง 15 ตัวถูกทิ้งไว้ที่สถานี Showa ซึ่งเป็นฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของทีมวิจัยญี่ปุ่นในขั้วโลกใต้ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2501 เมื่อทีมสังเกตการณ์ชุดที่สองยกเลิกความพยายามในการช่วยเหลือหลังจากเรือติดอยู่ในน้ำแข็ง
รายชื่อสุนัขลากเลื่อนทั้ง 15 ตัว
1.ริกิ (Riki) : เพศผู้ อายุ 7 ปี หัวหน้าฝูง (หายสาญสูญ)
2.อันโกะ(Anko) : เพศผู้ อายุ 3 ปี (หายสาญสูญ)
3.เอกะ (Aka): เพศผู้ อายุ 6 ปี (เสียชีวิต)
4.คุมะ(Kuma from Monbetsu) : เพศผู้ อายุ 5 ปี (เสียชีวิต)
5.คุมะ(Kuma from Furen): เพศผู้ อายุ 5 ปี (หายสาญสูญ) พ่อของทาโร่และจิโร่
6.เปสึ(Pesu): เพศผู้ อายุ 5 ปี (เสียชีวิต)
7.โกโร่(Goro): เพศผู้ อายุ 4 ปี (เสียชีวิต)
8.เดริ(Deri): เพศผู้ อายุ 6 ปี (หายสาญสูญ)
9.โปชิ(Pochi) : เพศผู้ อายุ 4 ปี (เสียชีวิต)
10.โมกุ(Moku) : เพศผู้ อายุ 4 ปี (เสียชีวิต)
11.จาคคุ(Jakku) : เพศผู้ อายุ 4 ปี (หายสาญสูญ)
12.คุโร(Kuro) : เพศผู้ อายุ 5 ปี (เสียชีวิต)
13.ชิโร่(Shiro) : เพศผู้ อายุ 3 ปี (หายสาญสูญ)
14.ทาโร่(Taro) : เพศผู้ อายุ 3 ปี (รอดชีวิต) พี่ชายของจิโร่
15.จิโร่(Jiro): เพศผู้ อายุ 3 ปี (รอดชีวิต) น้องชายของทาโร่
อนุสาวรีย์ทาโร่และจิโร่ถูกสร้างขึ้นในปีพ. ศ. 2504 ที่สวนวักกะไน(Wakkanai park) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของทั้งสอง
การมาที่สวนวักกะไน เพื่อระลึกถึงสุนัขลากเลื่อนในถือเป็นครั้งแรกในรอบ 58 ปีของคิตามูระ
“ฉันอยากจะขอบคุณพวกเขาที่ช่วยพวกเราในการเดินทางในช่วงฤดูหนาวครั้งแรกในแอนตาร์กติกา”
คิตามูระ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยคิวชูกล่าว
หลังจากเดินทางกลับจากแอนตาร์กติกา คิตามูระ ได้สอนปรากฏการณ์แสงออโรร่าที่มหาวิทยาลัยเกียวโต และมหาวิทยาลัยคิวชู เขายังเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับออกบรรยายในภูมิภาคคันไซและฟุกุโอกะเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในแอนตาร์กติกา
หลังจากนั้นคิตามูระได้ออกเดินทางเพื่อพบกับเจ้าของสุนัขทั้ง 15
คิคุจิและอีก 7 คนในทีมสำรวจ 11 คนเสียชีวิตแล้ว แต่ด้วยความช่วยเหลือของสมาชิกในทีม คิตามูระ สามารถพบกับอดีตเจ้าของสุนัขหรือญาติของพวกเขา
มิโนรุ คิชิกามะ เจ้าของ Kuma เสียชีวิตแล้ว แต่ อากิระ ลูกชายคนโตของเขาวัย 79 ปีได้ต้อนรับ คิตามูระ ที่บ้านของเขา อากิระเข้าสืบทอดร้านขายปลาของบิดาคือ Kishigami Store ใกล้กับศาลากลาง Bippu
“ฉันเป็นหนี้อะไรบางอย่างของเจ้า Kuma ” คิตามูระบอกกับอากิระ “ในแอนตาร์กติกาวันหนึ่งฉันหิวมากจนหยิบบิสกิตชิ้นหนึ่งที่มีไว้สำหรับสุนัข” อากิระยังแบ่งปันความทรงจำของเขาเกี่ยวกับเจ้า Kuma โดยอธิบายว่าสุนัขจะลากเลื่อนที่บรรทุกปลาและผักที่มาถึงสถานีได้อย่างไร “เขาดูเหนื่อยล้าในฤดูร้อน แต่ก็เต็มไปด้วยชีวิตในฤดูหนาว” อากิระเล่า
อิโซมัตสึ นิชิจิมะ เจ้าของ Pesu เสียชีวิตเมื่อไม่กี่ปีก่อน คิตามูระได้พบกับมัตซึโอ น้องชายของนิชิจิมะ อายุ 87 ปีที่ศูนย์ชุมชนบนเกาะริชิริ(Rishiri) คิตามูระรู้สึกเสียใจที่ไม่มีภาพของ Pesu ซึ่งเสียชีวิตในทวีปแอนตาร์กติกาในฤดูหนาว ปี 2501 “ฉันคิดว่า Pesu จะมีชีวิตยืนยาวและทำหน้าที่ได้อย่างแข็งขัน” คิตามูระกล่าว “ฉันน่าจะถ่ายรูปเขาไว้บ้าง”
มัตซึโอ กล่าวว่าสุนัขเขาสามารถดึงเลื่อนที่เต็มไปด้วยไม้จากภูเขา Rishirisan ได้
“Pesu เป็นสุนัขตัวใหญ่แข็งแรง และว่าง่าย” มัตซึโอกล่าว เขานึกถึงวันที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮอกไกโดถามว่าพวกเขาจะพา Pesu ไปสำรวจแอนตาร์กติกได้ไหม “ฉันคิดว่าเป็นเกียรติสำหรับเราตั้งแต่ Pesu ถูกเลือก จากสุนัขหลายตัว” มัตสึโอะกล่าวถึงความหลังด้วยความภูมิใจ
ฮิเดะ อิโตะ ผู้อยู่อาศัยใน เกาะริชิริ อายุ 93 ปีเป็นเจ้าของ Pochi
“วันแรกที่ เจ้าPochi ตัวน้อยมาอยู่กับเราหลังจากเขาเกิดไม่นาน เขาถูกใส่มาในลังส้มขนาดเล็ก” อิโตะซึ่งอาศัยอยู่ที่บ้านพักคนชราในเมืองกล่าว คุมิโกะ โฮชิดะลูกสาวคนโตของตระกูลอิโตะ วัย 67 ปีแสดงภาพของ Pochi ที่ถูกวางไว้ที่แท่นบูชาของครอบครัว เธอบอกว่าฮิเดะจะสวดมนต์ให้ Pochi ทุกเช้า
“รู้สึกเป็นเกียรติที่ชื่อของ Pochi อยู่ในบันทึกความทรงจำของเรา” โฮชิดะกล่าวโดยอ้างถึงหนังสือที่คิตามูระเขียน “Pochi ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานมากที่สุดในครอบครัวของเรา”
คิตามูระเซ็นหนังสือที่โฮชิดะนำมาด้วยพร้อมข้อความว่า “ขอบคุณนะ Pochi เขาช่วยฉันได้มาก”
คิตามูระ กล่าวว่าการมาเยือนฮอกไกโดซึ่งอาจเป็นครั้งสุดท้ายของเขาได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาเขียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวที่แท้จริงของแอนตาร์กติกา เขามีความตั้งใจที่จะเขียนหนังสือสามเล่มจากประสบการณ์ของเขาในขั้วโลกใต้ และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเขาเขียนเกี่ยวกับผู้คนที่ตั้งใจจะสำรวจทวีปเยือกแข็ง
ทาโร่และจิโร่เป็นหนึ่งในสุนัขที่ถูกทิ้งไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 แต่พวกเขารอดชีวิตจากสภาพอากาศที่รุนแรงของแอนตาร์กติกได้อย่างน่าอัศจรรย์ และได้รับการช่วยเหลือเมื่อการมาของคณะสำรวจอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2502 จากนั้นสุนัขเหล่านี้ก็กลับมารวมตัวกับคิตามูระอีกครั้ง
ศพของทาโร่และจิโร่ถูกเก็บรักษาตามลำดับที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยฮอกไกโดและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติในอุเอโนะโตเกียว “ความจริงฉันอยากให้พวกเขากลับไปที่วัคคาไน (บ้านเกิดของทาโร่และจิโร่)ด้วยกัน” คิตามูระกล่าว
ไทอิจิ คิตามูระ ขณะให้อาหาร เจ้าทาโร่&จิโร่
ประชาชนต้อนรับการกลับมาของทาโร่ Taro is welcomed by Hokkaido University Professor Emeritus Tetsuo Inukai on the deck as icebreaker Soya arrival at Hinode Pier on May 4, 1961 in Tokyo, Japan. (Photo by The Asahi Shimbun via Getty Images)
ทาโร่รับเสด็จสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ และสมเด็จพระราชินี 1961 in Sapporo, Hokkaido, Japan. (Photo by The Asahi Shimbun via Getty Images)
ทาโร่ขณะที่ป่วยหนัก Taro, the dog survived one year during the Japanese Antarctic Research Expedition is in critical condition at the Hokkaido University Animal Hospital on August 7, 1970 in Sapporo, Hokkaido, Japan. (Photo by The Asahi Shimbun via Getty Images)
ทาโร่และจิโร่ แม้ว่าจะเป็นสุนัขแต่ก็ได้รับเกียรติและยกย่องดุจฮีโร่ของชาติ
แด่เพื่อนที่ดีที่สุดของเรา
เรียบเรียงโดย Terisaki แอดมินเพจ Setpoint

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา