15 ก.พ. 2021 เวลา 10:30 • ปรัชญา
คนญี่ปุ่นไม่รู้จัก “ความล้มเหลว” 🌱
1
แน่นอนว่าไม่มีใครชอบความล้มเหลว
เพราะความล้มเหลว...
ทำให้เรารู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง
จนบางครั้งทำให้เราคิดกับตัวเองว่า
“ไร้ความสามารถ” “ใช้ไม่ได้”
และบางคนถึงกับ “ล้มเลิก” ความพยายามไป
สำหรับคนญี่ปุ่นนั้นแน่นอน...
เขาก็ไม่ได้ชอบความผิดพลาดเหมือนเรานั่นแหละ
โดยเฉพาะความกดดันจากสังคมของเขา
คนในประเทศเขา
มักจะถูกตราหน้าว่า “ไอ้ขี้แพ้”
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ
ฟังดูก็คล้ายๆ ประเทศไทยเรา
แต่มีความคล้ายที่ต่างอยู่
เราจะสังเกตได้ว่า
คนญี่ปุ่นมีความจริงจังกับทุกๆเรื่อง
โดยเฉพาะด้านการทำงาน
จะมีความเป็นระบบเบียบมาก
และขยันสุดโต่ง ซึ่งน่าชื่นชม ควรเอาเยี่ยงอย่าง
แต่รู้หรือไม่ว่าคนญี่ปุ่นหลายๆคนไม่ได้ทำเพื่อให้มีเงินทอง ชื่อเสียงที่มากมาย
แต่เขาให้ความสำคัญกับ
“การพัฒนาตัวเอง”
https://pasona.co.th/detail_news/39
มุมมองของคนญี่ปุ่นคือ...
แทนที่จะ “ตั้งเป้าหมาย”
แล้ว “เอาตัวเองไปแขวนไว้กับมัน”
ซึ่งเขามองว่ามันคือ “ความกดดันไม่รู้จบ”
ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
ที่อาจจะไม่เอื้ออำนวย
สุดท้ายต้องพบกับความผิดหวัง ความล้มเหลว
.
.
.
สิ่งที่คนญี่ปุ่นทำคือ
🌱 “เปลี่ยนมุมมองต่อความสำเร็จ”
ให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่า
“เราอยากจะมีความรู้สึกอย่างไร”
“เราอยากมีประสบการณ์หรือได้อะไรจากสิ่งที่ทำ”
เขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้มากกว่าการมุ่งทำเป้าหมาย โดยมองข้ามคุณค่ากับสิ่งที่ทำ หรือสิ่งที่ได้
.
.
.
1
🌱 “เลิกพยายามจะสมบูรณ์แบบ”
2
คล้ายกับความคิดหลักปรัชญา “wabi sabi” ของคนญี่ปุ่น
ที่ยกย่องความไม่สมบูรณ์เป็นความสวยงามของชีวิต
ทำให้คนญี่ปุ่น “ไม่มองความล้มเหลวเป็นความล้มเหลว” จริงๆ
แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมดาชีวิต
.
.
.
2
🌱 มองว่า “ความรู้สึกล้มเหลวไม่ได้คงทนตลอดไป”
1
มองเห็นความจริงว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้
และในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะเริ่มต้นใหม่เรียนรู้และพัฒนาได้เสมอ
.
.
.
🌱 “ทุกสิ่งสามารถเปลี่ยนแปลง”
มุมมองที่จะทำให้มีสติ นึกคิด
หาหนทางอื่นตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตัวเองไม่ยึดติดกับ “เป้าหมาย”
และไม่ปิดกั้นสิ่งต่างๆที่อยากทำจริงๆ
...เพราะเขามีมุมมองแบบนี้
ถึงไม่แปลกใจเลยว่า
ทำไมคนญี่ปุ่นถึงสามารถรับมือกับสถานการณ์โลก
และความเปลี่ยนแปลงได้ดีเป็นอันดับต้นๆ
การมีเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ดี และควรทำ
แต่หากให้ความสำคัญ และกดดันตัวเองมากเกินไป จะทำให้จิตใจบอบช้ำ
ลองมองมุมที่คนญี่ปุ่นมองดูบ้าง
บางครั้งเราอาจจะพบว่า “จุดที่พอดี”
หรือเห็นเป้าหมายของการทำสิ่งต่างๆนั้น ได้หลากหลายมากขึ้น
1
. ✨✨✨✨
ข้อมูลจากหนังสือ “วะบิ ซะบิ”
โดย เบท เคมป์ตัน
โฆษณา