15 ก.พ. 2021 เวลา 11:30 • ธุรกิจ
[Digital for Business]
Microsoft Dynamics 365 vs. NetSuite: Head-to-Head Comparison
Microsoft Dynamics 365 และ Oracle NetSuite เป็นซอฟต์แวร์ ERP ที่มักถูกเลือกใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างชาวไอทีสำหรับองค์กรว่าซอฟต์แวร์ตัวไหนดีกว่ากันหรือควรเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวไหน
The Enterprise เองได้เคยแนะนำซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวนี้ และพูดถึงข้อดีข้อเสียคร่าว ๆ แล้วใน ‘5 ERP Systems for SMEs’ แต่เพื่อให้ผู้ที่กำลังมองหาซอฟต์แวร์ ERP และชาวไอทีสำหรับองค์กร ได้เข้าใจฟีเจอร์ของซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวนี้มากยิ่งขึ้น The Enterprise ขอเปรียบเทียบกันให้เห็นชัด ๆ แบบหมัดต่อหมัด ถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละซอฟท์แวร์ เพื่อเป็นส่วนช่วยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP ที่ตอบโจทย์องค์กรของคุณก่อนถึงข้อเปรียบเทียบระหว่าง Dynamics 365 และ NetSuite The Enterprise ขอสรุปคุณสมบัติเบื้องต้นของแต่ละซอฟต์แวร์ ดังนี้
>_ Dynamics 365 ERP from Microsoft
Microsoft Dynamics 365 เป็น ERP Application สำหรับธุรกิจที่รองรับการเติบโตขององค์กรอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นระบบ CRM, ERP และ HRM เป็นต้น Dynamics 365 และสามารถใช้กับการทำงานของทุกแผนก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายการเงิน ฝ่ายปฏิบัติงาน ฝ่ายภาคสนาม ทีมโปรเจค รวมถึงฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ทำให้ฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ Microsoft Dynamics 365 มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ Cloud และ On-premise แต่ Features และ Function ของการใช้งานทั้งสองแบบจะมีให้เลือกใช้ไม่เท่ากัน โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่
>_ Netsuite ERP by Oracle
NetSuite ERP เป็นระบบ ERP ที่ให้บริการมายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งต่อมาถูก Oracle ซื้อกิจการและถูกนำมาต่อกับ Oracle Ecosystem เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานให้มากขึ้น ส่งผลให้ Oracle มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นและเป็นที่นิยมในหลายธุรกิจ NetSuite เป็นระบบที่นำเสนอโซลูชั่นแบบ Cloud-based หรือ Subscription-Based ที่ทันสมัยและขยายเพิ่มได้ตามการเติบโตของธุรกิจ อีกทั้งยังครอบคลุมการดำเนินงานและกระบวนการทางการเงินที่สำคัญขององค์กรทั้งหมด อาทิ Financial Management, Financial Planning, Order Management, Production Management, Procurement, Supply Chain Management, Warehouse และ Fulfillment เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมเกือบทุกความต้องการขององค์กร NetSuite มีให้เลือกใช้งานแบบ Cloud-Based เพียงอย่างเดียวโดยมีให้เลือกใช้หลายเวอร์ชั่น ทั้ง Standard, Oneworld ซึ่งแต่ละเวอร์ชั่นก็มี Features แตกต่างกันไป โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่
พอจะรู้จัก ทั้ง Dynamics 365 และ NetSuite กันไปบ้างแล้ว ถึงเวลาที่เรามาเริ่มเปรียบเทียบกัน โดยการเปรียบเทียบนี้จะใช้ 4 เกณฑ์การเปรียบเทียบ คือ ความยืดหยุ่นในการปรับใช้ (Flexibility) ความสามารถในการขยายและต่อยอดการใช้งาน (Scalability) ความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของระบบ (System Maturity) และ ระบบนิเวศ (Ecosystem)
>_ ความยืดหยุ่นในการปรับใช้ (Flexibility)
ความยืดหยุ่นในการใช้งานของระบบ ก็คือ การปรับระบบให้เข้ากับการทำงานขององค์กร หรือ กระบวนการทำงานบางอย่างที่อาศัยความเฉพาะทางของระบบ (ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อที่ต้องพิจารณามากเป็นพิเศษ ระบบที่ไม่มีผู้ใช้งานนั้นไม่ใช่ระบบที่ดี)
NetSuite - NetSuite ได้คะแนนในข้อนี้น้อย เนื่องจากเป็นระบบ Cloud-Based หรือ Software as a Service (SaaS) ทำให้มีความยืดหยุ่นน้อย การปรับแก้ระบบทำได้ยาก แต่ข้อดีของ NetSuite คือการที่ระบบมาพร้อมกับกระบวนการทำงานที่สามารถช่วยหลายธุรกิจได้เป็นอย่างดี
Dynamics 365 – เมื่อเปรียบเทียบกับ NetSuite แล้ว Dynamics 365 มีความยืดหยุ่นในการปรับแก้ระบบและการใช้งานมากกว่า เนื่องจากสามารถแก้ไขปรับแต่งระบบให้รองรับกับการทำงานเฉพาะทางของแต่ะองค์กรได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องการปรับแต่งที่มากเกินไปจนทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอื่นขึ้น เช่น ต้นทุนที่สูงขึ้นมาก เป็นต้น
>_ ความสามารถในการขยายและต่อยอดการใช้งาน (Scalability)
อีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กันที่องค์กรควรพิจารณาคือความสามารถในการขยายและต่อยอดการใช้งานที่จะช่วยให้องค์กรหรือธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมั่นคง ประเด็นนี้อาจเป็นการยากจะเปรียบเทียบกันตรง ๆ แต่ถ้าพิจารณาในแง่ความต้องการของระบบสำหรับธุรกิจที่ไม่มีความซับซ้อนในกระบวนทางการธุรกิจ และมีการกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน NetSuite น่าจะเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับองค์กร ด้วยคุณสมบัติความรวดเร็วและความสามารถในการรองรับจำนวนการทำงานแบบวนซ้ำ และจำนวนธุรกรรมที่สูงได้เป็นอย่างดี
แต่หากพิจารณาในแง่ความต้องการของระบบสำหรับธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงบ่อย หรือมีการต่อยอดธุรกิจที่ไม่เหมือนเดิม หรือแม้กระทั่ง ความต้องการในการจัดการระบบให้รองรับการทำงานเฉพาะทางของธุรกิจนั้น ๆ Dynamics 365 น่าจะเข้ามาตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ดีกว่าแน่นอน
>_ ความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของระบบ (System Maturity)
สิ่งสำคัญในการเลือกระบบ ERP มาใช้งานที่ไม่ควรมองข้ามคือความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของระบบ เพราะเราจะต้องใช้ระบบไปนานมากกว่า 10 ปีแน่นอน
NetSuite – NetSuite ค่อนข้างได้เปรียบในเรื่องนี้ ด้วยประสบการณ์อันยาวนาน NetSuite จึงมีองค์ความรู้ ระบบที่มั่นคง และความเสถียรของระบบ ที่เชื่อถือได้ ทั้งยังมีการพัฒนาเพิ่ม Features การทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจสำหรับการใช้งานระยะยาวอย่างแน่นอน
Dynamics 365 – เดิมที Dynamics 365 เกิดจากการรวม Features และ Function เด่นของแต่ละซอฟต์แวร์ชูโรงของ Microsoft ถึงแม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า Dynamics 365 นั้นเป็นระบบที่ดี แต่ยังมีความสับสนในการเพิ่มเติม Function การใช้งานที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม Dynamics 365 ถือเป็นซอฟท์แวร์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน Function ใหม่ ๆ ที่ทาง Microsoft เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ตลอด
>_ ระบบนิเวศ (Ecosystem: in terms of Partner and Reseller)
หลายคนอาจมองข้ามประเด็น Ecosystem ของซอฟต์แวร์ไป เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับองค์กร แต่ที่จริงแล้วกลับเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากเลือกซอฟต์แวร์แล้วสิ่งที่ต้องเลือกต่อมาคือ Partner และ Reseller ของแต่ละซอฟต์แวร์เพื่อให้เข้ามาช่วยพัฒนาระบบ (Implement) ให้กับองค์กร The Enterprise ขอแนะนำว่า ไม่ควรมองข้ามข้อนี้เด็ดขาด
Dynamics 356 – ด้วยความมั่นคงและความเป็นยักษ์ใหญ่ของ Microsoft ทำให้กลุ่มของ Ecosystem ของ Partner และ ReSeller มีจำนวนเยอะและเข้าถึงได้ง่ายมาก เรียกได้ว่าสามารถหาทางเลือกของบริษัท Implement ได้เยอะมากกว่าเจ้าอื่น ๆ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นข้อดีเสมอไป เพราะทางเลือกเยอะก็มาพร้อม Option ที่อาจจะมากเกินไป และไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างชัดเจนมากเท่าไรนัก
NetSuite – ในทางกลับกัน NetSuite ที่มีตัวเลือกของ Partner และReseller น้อยกว่า และค่อนข้างจำกัด รวมถึงการ Implement หรือ Support และ Remote ก็เป็นไปได้ยาก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ แต่ทั้งนี้ ยิ่งทางเลือกน้อย ก็ยิ่งสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายและสามารถตรวจสอบอะไรหลาย ๆ อย่างได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
จากการเปรียบเทียบ เราจะเห็นได้ว่าแต่ละซอฟท์แวร์มีเอกลักษณ์และความสามารถเฉพาะตัวที่ต่างกัน และคงไม่สามาถฟันธงได้ว่าซอฟต์แวร์ตัวไหนดีกว่ากัน The Enterprise อยากให้ย้อนพิจารณาถึงปัจจัยภายในขององค์กรด้วยว่า องค์กรมีลักษณะการทำงานอย่างไร ตลอดจน Culture ขององค์กรว่าเหมาะกับลักษณะการทำงานของซอฟต์แวร์แบบไหน เพราะองค์กรจะต้องพิจารณาทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใจจึงจะสามารถ Implement ERP ได้สำเร็จ
Reference source
ติดตามเราได้ทาง
โฆษณา