16 ก.พ. 2021 เวลา 05:46 • การศึกษา
สังคมไทยกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ
สวัสดีครับทุกคน วันนี้ผมได้ไปเจอข่าวข่าวหนึ่ง
คือข่าวคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟนไปรอลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์เงินเยียวยากันที่ธนาคารกรุงไทย
ตอนเห็นก็พรางคิดในใจว่า มันต้องขนาดนี้เลยหรอ ทำไมการจะได้สวัสดิการต่างๆจากรัฐมันถึงลำบากขนาดนี้ ?
ทำไมไม่ทำให้ทุกคนได้เงินง่ายๆเช่นการโอนเข้าบัญชีธนาคารไปเลย ?
ทำไมถึงไม่อยากให้เป็นเงินสด ต้องให้เป็น G-wallet ?
วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยกันครับ
ความเหลื่อมล้ำคืออะไร ?
ความเหลื่อมล้ำคือความไม่เท่าเทียมกัน
ความไม่เท่าเทียมกันปรากฎในทุกๆเรื่อง ทุกพื้นที่ ทุกภาคส่วน และทุกเวลาจนฝังรากลึกลงไปในสังคมไทย
แต่เอาจริงๆ ความเหลื่อมล้ำที่เรากำลังจะพูดกันต่อไปนี้ มันไม่มีทางที่จะขจัดออกไปให้หมดไปหรอก แต่ๆๆๆไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องทำใจให้ชินและยอมรับมันนะ อันนี้ก็ไม่ถูก
สิ่งที่เราพอจะทำได้คือ ลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้
ความเหลื่อมล้ำแบ่งหลักๆได้เป็นสามหัวข้อใหญ่ๆคือ
1.ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง (Political inequality)
2.ความเหลื่อล้ำทางเศรษฐกิจ (Economic inequality)
3.ความเหลื่อมล้ำทางสังคม (Social inequality)
• ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง คือ สถานภาพที่ในการเมืองการปกครองมีทั้งผู้มีอำนาจในการปกครอง และ ผู้อยู่ใต้การปกครอง
ถ้าเอาจริงๆแล้ว ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองสามารถทำให้หายไปได้นะ
เพียงแค่ทำให้ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร
อีกทั้งยังบัญญัติให้ราษฎรมีความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพอย่างบริบูรณ์
พูดง่ายๆคือ ราษฎรเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั่นเอง
ขอบคุณรูปจาก posttoday
• ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
ความเหลื่อมล้ำในด้านนี้จะปรากฎในเศรษฐกิจในระบบทุนิยม คือ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอำนาจเต็มในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
ผลที่ตามมาคือ เอกชนที่มีอำนาจมากจะสร้างตลาดผูกขาด สร้างภาวะที่คนจนไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ พอประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ก็จะเกิดวงจรอุบาทที่ทำให้คนรวยก็ยิ่งรวยขึ้นๆๆๆ คนจนก็จะจนลงๆๆๆ
กลับมาที่ตลาดผูกขาด
1
ตัวอย่างของตลาดผูกขาดคือ กิจการใหญ่ที่มีกำลังทรัพย์มากใช้การกินรวบผูกขาดตลาด บีบให้ธุรกิจเล็กๆอยู่ไม่ได้ (ขออนุญาตยกตัวอย่าง) เช่น 7-11 , เครือCP
ตลาดผูกขาดนี้เอื้อประโยชน์ให้กับคนแค่กลุ่มเดียว กลุ่มอื่นตายเรียบ
ถึงจะไม่มีทางทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิหายไปได้แบบ 100เปอร์เซ็น แต่ก็ยังมีวิธีทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำแคบลงได้ เช่น
นโยบายภาษีที่มีอัตราก้าวหน้า คือธุรกิจใหญ่มีรายได้มากก็เสียภาษีมาก ธุรกิจที่มีรายได้น้อยก็เสียภาษีน้อยกว่า
การเข้าถึงสินเชื่อต่างๆสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
การยกเลิกกฎหมายข้อจำกัดที่ไม่เป็นธรรม ที่เห็นชัดๆเลยคือกลุ่มธุรกิจ craft beer
.
เอาจริงๆตลาดเบียร์ของไทยผูกขาดมากนะ มีแค่สองบริษัทหลักๆที่ขายแข่งกัน ทั้งๆที่ craft beer แบรนด์อื่นๆของคนไทยก็อร่อยไม่แพ้กัน เผลอๆอร่อยกว่าอีก ส่วนรายละเอียดเจาะลึกเรื่อง craft beer ไว้เราจะมาคุยกันในบทความถัดไปนะครับ
craft beer คนไทยรสชาติดีๆเยอะนะ
• ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้นเมื่อทรัพยากรส่วนรวมถูกนำไปกระจายใช้งานอย่างไม่เสมอภาค แทนที่ทุกคนจะเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ทรัพยากรดันถูกจัดสรรให้เข้าถึงได้แค่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
ยกตัวอย่าง
เด็กโรงเรียนเอกชนใหญ่ๆมีครูแก่งๆคอยประกบ ย่อมมีผลการเรียนดีกว่าเด็กนักเรียนชายขอบ ยังไม่นับค่าสมัครสอบแพงๆที่ตัดสิทธิ์ผู้สมัครจนๆไปอีกไม่รู้เท่าไหร่
พื้นที่ที่ขาดแคลนขนส่งมวลชนที่พึ่งพาได้ ย่อมเสียโอกาสการพัฒนามากกว่าพื้นที่ที่ขนส่งมวลชนเข้าถึง
คนที่ได้รับการเยียวยาจากสาธารณภัย ย่อมมีโอกาสฟื้นฟูความเสียหายมากกว่าคนที่ไม่ได้รับ การที่ชาวบ้านต้องมาดิ้นรนแย่งสิทธิ์ดยียวยาเงินจากรัฐบาลทั้งๆที่ทุกคนเดือดร้อนเหมือนกันหมด ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของความเหลื่อมล้ำทางสาธารณสุข
ขอบคุณรูปจาก The standard
เมื่อความเหลื่อมล้ำทั้งสามมารวมกันก็ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลกกกก !!!
ขอบคุณรูปจาก ไทยรัฐ
ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือ ความเหลื่อมล้ำทำให้คนรวยอยู่สูงมาก สูงจนมองไม่เห็นคนจน
ทำให้เรามักได้ยินคำพูดที่ว่า ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเองได้บ้างล่ะ คนจนคือคนไม่พยายามบ้างล่ะ ทั้งๆที่คนที่พูดประโยคเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างอะไรเลย
ผมกล้าพูดเลยว่า คนจนส่วนมากไม่ใช่คนที่ไม่พยายาม คนจนส่วนมากไม่ใช่คนที่ขี้เกียจ
กลับกันเขาเป็นคนที่ทั้งพยายาม ทั้งขยันเลย
หลายๆคนที่ผมรู้จัก เขาต้องตื่นไปทำสวนตั้งแต่ตี4ตี5 กว่าจะได้พักก็เกือบเที่ยง (พักกินข้าว) พักเสร็จก็ทำสวนต่อจนเย็นถึงจะได้กลับบ้าน ผลตอบแทนที่เขาได้คือ ราคาผลผลิตที่จะพอจ่ายค่าปุ๋ยรึป่าวก็ไม่รู้
ในระบบทุนนิยมนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะกำจัดความเหลื่อมล้ำให้หมดไป
จะยังมีคนรวยและคนจน เป็นไม่ได้ที่ทุกคนจะมีเงินในกระเป๋าเท่ากัน
แต่ประเด็นอยู่ที่ทุกคนควรได้รับโอกาสเท่ากันต่างหาก ไม่ว่าจะรวยหรือจนทุกคนเป็นคนเท่ากัน ควรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนกัน เข้าถึงการศึกษาที่ดีได้เหมือนกันและมีสวัสดิการที่มีคุณภาพได้เหมือนกัน
เมื่อคุณภาพชีวิตพัฒนาคนระดับล่างก็จะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และเมื่อไม่ต้องห่วงว่าพรุ่งนี้จะมีข้าวกินไหม จะอดตายรึป่าว
1
อำนาจต่อรองทางการเมืองก็จะมากขึ้นและนำมาสู่ความเท่าเทียมทางสังคมได้ในที่สุด
จบแล้วครับกับหัวข้อ "สังคมไทยกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ"หากใครชอบก็กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความครั้งต่อไปของเรานะครับ
ข้อมูลจาก
โฆษณา