Modeling Microphone คืออะไร ดียังไง ใช้ยังไง ?
:.
ต้องยอมรับเลยว่าในยุคสมัยนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมหลายๆอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมการทำเพลง เราจะเห็นกันในหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น Plugin iZotope ที่มีระบบ AI อันชาญฉลาดที่จะช่วยให้เราทำงานได้ง่าย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น
.
Microphone เป็นอุปกรณ์หลักในการบันทึกเสียง หรือแสดงสดก็ตาม มีคาแรคเตอร์ หลากหลาย ให้โทนเสียงที่แตกต่างกัน ทำให้ถ้าเราอยากได้เสียงที่ต่างกันไป เราต้องซื้อ Microphone หลายตัว
.
แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยี Modeling Microphone ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ ในเรื่องของการลงทุนที่คุ้มค่า และ ความสะดวกสบาย วันนี้ผมจะพามารู้จักกับ Modeling Microphone จาก Townsend Labs Sphere L22
.
Modeling Microphone คือ
.
Condenser Microphone ที่มีการควบคุมด้วย Software โดยจะมีการจำลองการรับเสียง Microphone ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Condenser Microphone ดังที่หลายๆสตูดิโอต้องมี Ribbon Microphone หรือ จะเป็น Dynamic Microphone ก็สามารถทำได้
.
โดย Control โดย Software และ ยังสามารถปรับ Polar Pattern (รูปแบบการรับเสียง) อย่างอิสระอีกด้วยได้หลากหลายแบบ ไม่กำหนดตายตัวแล้วแต่ดีไซน์ของผู้ใช้งานได้เลย
.
และยังสามารถใช้ Microphone เพียงแค่ตัวเดียว บันทึกเสียงแบบ Stereo ได้อีกด้วย แค่นี้ก็ว้าวววววแล้ว
.
แต่ แต่ แต่ !!! จะดีกว่าไหม ถ้าเราซื้อ Microphone แค่ตัวเดียวแต่ใช้งานได้หลากหลายครอบคลุมการทำงานด้านบันทึกเสียง
.
Townsend Labs Sphere L22 คือ Modeling Microphone
.
ที่ตอบโจทย์ของคนที่ต้องการ Microphone หลายๆ คาแรคเตอร์ในตัวเดียว ข้อดีจริงๆแล้ว นอกจากข้างต้นแล้ว ทีเด็ดที่สุดของ Townsend Labs Sphere L22 คือ เราสามารถ ปรับและเลือก Microphone ได้
.
หลังจากเราบันทึกเสร็จแล้ว เผื่อว่าบันทึกมาแล้วยังไม่ถูกใจยังสามารถมาปรับแก้หลังจากที่บันทึกเสร็จแล้ว ได้หรือจะเลือกให้ได้เสียงที่ต้องการและบันทึกลงโปรแกรม Daw ก็ยังสามารถทำได้อีก
.
ทั้งยังสามารถใช้งาน แบบ Stereo ได้ตามที่บอกไปข้างต้น ซึ่งเหมาะกับการบันทึกเสียง Acoustic Guitar สามารถใช้งานแบบ Dual Mic
.
โดยที่จะเลือก Microphone หน้าหลังเป็นคนละรุ่น หรือรุ่นเดียวกันก็ได้ ก็จะได้คาแรคเตอร์ที่ต่างกันออกไป หรือจะใช้เป็น Microphone จับเสียง Room ในขณะที่บันทึกเสียงกลองก็ถือว่าทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว
.
ฟังค์ชั่นเด็ดที่ถูกซ่อนไว้ใน Townsend Labs Sphere L22 คือ IsoSphere เด็ดยังไง ?
.
ฟังค์ชั่นนี้เหมาะสำหรับคนที่ทำงานภายในบ้าน โดยที่ห้องไม่ได้ถูกออกแบบเพื่องานบันทึกเสียง จึงมีเสียงสะท้อนภายในห้อง หรือเสียงบ้างบ่านความถี่หายไป ดังนั้นจึงมีการจำลอง Reflexion Filter ที่ช่วยให้ป้องกันเสียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว
.
ทั้งยังมีการจำลอง ตั้งแต่ sE Reflexion Filters, Aston Halo, Kaotica Eyeball ซึ่งเป็น Reflexion ระดับมาตรฐานที่เค้าใช้กันใน งาน Studio เลยทีเดียว
.
เมื่อคุณจะเริ่มใช้งานครั้งแรก Townsend Labs Sphere L22 สามารถดาวน์โหลด Software Sphere L22 ได้จากหลังที่คุณ Register Product เสร็จนะครับ
.
Microphone ตัวนี้ ใช้งานเป็นจำนวน 2 Input เมื่อเชื่อมต่อกับ Audio Interface แล้ว ต้องทำ Track 1 และ 2 รวมกัน ให้เป็น Stereo Tracks และ เน้นย้ำว่าอย่าลืม Carlibrate ให้ตัวรับเสียงทำงานเท่ากัน เพื่อคุณภาพเสียงที่มีคุณภาพนะครับ เดี๋ยวเรามาดูกันว่า ใน Software แถม การจำลอง เสียงของ Microphone อะไรมาบ้าง
.
• LD-251
• LD-800
• D-67 NOS
• LD-87 Vintage
• LD-87 Modern
• LD-87 TK
• LD-37A
• LD-37P
• LD-414 Brass
• LD-414 Nylon
• LD-414 US
• LD-414 T2
• LD-563
• LD-017T
• SD-451
• SD-416
• RB-4038
• RB-77DX Satin
• RB-77DX Umber
• DN-57
• DN-7
• DN-20
• DN-409N
• DN-409U
• DN-421N
• DN-421S
• DN-421B
• DN-12A
• DN-12E
.
เทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ประหยัดงบมากยิ่งขึ้น คุณภาพเสียงของการจำลอง Microphone ใกล้เคียงกับตัวต้นแบบและสามารถทำงานได้อย่างสบายเลยทีเดียว ถือว่าเป็น Modeling Microphone ที่ตอบโจทย์และน่าสนใจอีกตัวนึงเลย.
เครดิต FB;ProPlugin