17 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
เรื่องของการทำแบรนด์
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาทาง CP ได้ออกมาเปิดตัวโลโก้ใหม่
1
โดยทำการรีแบรนด์จาก Tesco Lotus เปลี่ยนมาเป็น Lotus
1
วันนี้รู้รอบขอบชิด จึงขอนำเสนอความรู้ความเข้าใจในเรื่องของแบนด์ ว่ามีความสอดคล้องกับเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร
1
ก่อนอื่นจะขออธิบายในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญก่อนว่า คืออะไร
“ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1.ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม 2.ลิขสิทธิ์
1. ทรัพยสินทางอุตสาหกรรม เป็นการคุ้มครองในด้านของความคิดในการประดิษฐ์ การออกแบบ เน้นการคุ้มครองกระบวนการหรือเทคนิค ซึ้งสามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภท
1
1.1. สิทธิบัตร
1.2. อนุสิทธิบัตร
1.3. เครื่องหมายการค้า
1.4. ความลับทางการค้า
1.5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
1.6. แบบผังภูมิของวงจร
1.7. คุ้มครองพันธุ์พืช
1.8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3
2. ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
- งานวรรณกรรม
- นาฎกรรม
- ศิลปกรรม
- ดนตรีกรรม
- โสตทัศนวัสดุ
- ภาพยนตร์
- สิ่งบันทึกเสียง
- งานแพร่เสียง
- แพร่ภาพ
- งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ไม่ว่างานนั้นจะแสดงออกโดยวิธีใดก็ตาม
1
แต่ลิขสิทธิ์จะไม่คุ้มครองถึง
- วิธีคิด
- ขั้นตอน
- กรรมวิธี
- ระบบ
- วิธีการทำงาน/วิธีการใช้งาน
- แนวความคิด
- หลักการ
- การค้นพบ
- ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์/ คณิตศาสตร์
เมื่อเรารู้แล้วว่าทรัพย์สินนทางปัญญา คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ต่อไปเราจะมาเล่าเรื่องของแบรนด์กันต่อ
แบรนด์ คือ ชื่อที่เราใช้โฆษณาโปรโมทเกี่ยวกับธุรกิจหรือสินค้าของเรา เพื่อใช้ในการแนะนำสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้าสามารถจำจำเราได้
มีกรณีที่น่าสนใจอยู่ 2 กรณี คือ
1. แบรนด์ไม่ได้อยู่ในองค์ปประกอบของการที่จะได้รับความคุ้มครองของลิขสิทธิ์
2. แบรนด์ จะจดหรือไม่จดเครื่องหมายการค้าก็ได้
ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่สามารถจดทะเบียนได้
1. มีลักษณะเฉพาะ
2. ไม่เหมือนหรือคล้าย กับเครื่องหมายของผู้อื่นที่จดทะเบียนเอาไว้แล้ว
3. ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย อาทิ ชื่อประเทศ ชื่อทางภูมิศาสตร์ คำหยาบคาย หรือภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
1. เครื่องหมายการค้าคุ้มครอง นานถึง 10 ปี (เมื่อครบกำหนดสามารถต่อได้อีกเป็นคราวๆไป คราวละ 10 ปี)
2. มีสิทธิแต่เพียงในการใช้ประโยชน์ในเครื่องหมายการค้านั้น
3. เจ้าของมีสิทธิ อนุญาตหรือโอนเครื่องหมายการค้านั้นให้ผู้อื่นได้
4. เจ้าของมีสิทธิฟ้องร้องและเรียกค้าสินไหมทดแทนได้ ในกรณีมีผู้ที่ละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น
รู้รอบขอบชิด หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านในเรื่องของการรีแบรนด์หรือการสร้างแบรนด์ใหม่ ไม่มากก็น้อย
รู้รอบขอบชิด จะขอเล่าเรื่องของลิขสิทธิ์เพื่อเติมในคราวถัดไปนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ🙏🙏🙏
โฆษณา