20 ก.พ. 2021 เวลา 03:54 • ปรัชญา
หลายท่านอาจเคยโดนป้ายยามาให้ซื้อ หนังสือ walden (โดยเฉพาะจาก Readery ) และผมก็เป็นหนึ่งในนั้น
และแน่นอนเรื่องที่จะเขียนถึงในวันนี้ คือชีวิตของชายผู้บันทึกเรื่องราวข้างบึงวอลเดน ผู้ที่ผมชื่นชมว่าเป็นปราชญ์คนสำคัญคนหนึ่ง ชายผู้วางรากฐาณให้ชาว minimalist
นักวิทยาศาตร์สายธรรมชาติ นักเขียน นักคิด เฮ็นรี่ เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau)
เด็กน้อย เฮ็นรี่ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ปี 1817 ในแห่งหนซึ่งจะเป็นสถานที่สำคัญของเขาไปตลอดชีวิต นั่นคือ ณ เมืองคองคอร์ด แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เฮนรี่ เป็นลูกคนที่สามของนายจอร์น ธอโร และนาง ซินเทียร์ นัมบาร์ ธอโร และแม้นครอบครัวของเขาจะเคยบอกล่าคองคอร์ด แต่ก็ไม่รอดที่จะหวนคืนกลับมาในปี 1823
แม้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะใคร่สับสนในหมู่บ้านนี้ แต่เขามิเคยใคร่สงสัยในความรักใคร่ที่มีต่อพงไพร ไอควัญ และท้องทุ่งเลย ในปี 1828 เขาได้เข้าศึกษาในโรเงรียนประจำคองคอร์ด
เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียน เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย ฮาวาร์ด (harvard) เมื่อปี 1833 ในวิชา ประวัติศาสตร์โบราณคดี, ปรัชญา, วาทะวิทยา, คณิตศาสตร์, และวิทยาศาสตร์ ว่ากันว่า
เขามักชอบเข้าห้องสมุดเป็นประจำ
บางบทควาบอกว่า เขาได้ไปเป็นครูระหว่างเรียนอยู่แแต่บางบทความก็บอกว่าเรียนจบแล้วค่อยไปทำ แต่ทั้งสองบอกว่าเฮนรี่ลาออก ด้วยเหตุว่าเขาไม่กล้าตีเด็ก หรือขาดวินัย
หลังจากจบการศึกษาระดับกลางของชั้น ปี 1837
ในเดือนมิถุนายน ปี 1838 เฮ็นรี่ ได้ไปสร้่างโรงเรียนเล็กๆกับพี่ชายแต่ก็เจ๊งภายในสามปี แต่บางเวอชั่นก็ว่า ตอนตั้งโรงเรียน ยังเรียนไม่จบ แล้วพอเจ๊งเลยกลับไปเรียนใหม่
เฮนรี่เติบโตในธุรกิจทำดินสอของบิดา เขาในช่วงหลังจากทำงานกับพี่ชายที่โรงเรียน เขาก็ได้ช่วยปรับปรุงกราไฟในไส้ดินสอด้วย ดินสอของเขาได้รับการรับรองจากนักเคมีและศิลปินในบอสตันว่าเป็นของดีมีคุณภาพ ด้วยประกาศนียบัตร และมีอนาคตสดใส
แต่แล้ว นี่คือสิ่งสำคัญจริงๆหรือ อะไรคือสิ่งสำคัญของชีวิตจริงๆกันแน่
เฮ็นรี่ตั้งคำถาม และแล้ว เขาก็ออกเดินทาง และในเวลาต่อมา เขาก็ตัดสินใจใช้ชีวิตที่วอลเดนกว่าสองปี
ย้อนกลับไประหว่างที่ เฮนรี่ยังเป็นหนุ่มวัยใสปีสอง ราล์ฟ วอลโด อีเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson) ก็เข้ามาตั้งรกรากที่คองคอร์ด และในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี 1837 ทั้งสองก็กลายเป็นเพื่อนกัน
นายราล์ฟ มอง เฮ็นรี่ เป็นศิษย์ผู้ซื่อสัตย์ ส่วนเฮ็นรี่ มองราล์ฟเป็นดั่ง บิดา ครูอาจารย์ และมิตรสหาย ผู้ผลักดันและสนับสนุนความคิดและงานเขียนของเขาอย่างเต็มที่ ทั้งสองร่วกันให้กำเนิดลัทธิทางวรรณกรรม ชื่อว่า Trancendentalism หรือ ลัทธิอดิสัยนิยม อันว่าด้วยการค้นหาความจริงผ่านการรับรู้ หรือการเรียนรู้ผ่านประสบการ อันจะส่งผลกันเฮ็นรี่ ในเวลาต่อมา
หลังจากจากสูญเสียพี่ชายไป เขาได้พบกับความเศร้าสลดทางอารมห์ อันนำไปสู่จุดเปลี่ยนที่สองแห่งชีวิตหลังจากเดินทางมานาน เขาตัดสินใจปลูกกระท่อมไว้บนที่ดินของนายอีเมอสัน และตรงนั้นเอง ตลอดระยะเวลาสองปีที่เขาได้เรียนรู้และบันทึกเรื่องราวชีวิต ณ บึงวอลเดน
วอลเดนตีพิมพ์หลังจากที่เขาออกมาจากป่าแล้ว และหลังจากนั้น ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่เขาได้เขียนหนังสือมากมายหลายเล่ม อันส่งผลกระทบถึงโลกจนกระทั่งปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากอ่านวอลเดน ผมไม่สงสัยเลยว่า เหตุฉไน ผู้ยิ่งใหญ่อย่างมหาตมคานธีจึงชอบมันนัก เนื่องว่าทัศนะของเฮ็นรี่ เดวิด ธอโร มีความคล้ายคลึงกับคำวอนของพระพุทธศาสนาหลายอย่าง
ตามหนังสือ เฮ็นรี่ มักจะบันทึกถึงความเงียบง่ายและความงามแห่งชีวิต มนุษย์ไม่จำต้องเช่าห้องเล็กๆเท่ารูหนู เขาเปรัยบไว้ว่า ด้วยราคาเท่านั้น เราสามารซื้อกระท่อมอินเดียแดงได้ทั้งหมู่บ้าน หรือการที่บอกว้า การเดินเท้า เร็งกว้าการนั่งรถ เพราะ การเดินเท้า เราเริ่มเดินได้เลย แตถ้าขีบรถ เราต้องหาเงิน มาซื้อรถ ซื้อน้ำมัน และในยุคของเขา ที่เป็นรถม้า ก็อาจต้องมีม้า มีฟางหญ้า ต้องให้มันพักเหนื่อย
อันคล้ายคลึงกับหลักพุทธที่ว่า ควรละเว้นตัณหา และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แม้นชีวิตของเขาจะไม่สึดโต้งเช่นนั้นก็ตาม และการที่เขาต้องการค้นหาความสงบ ก็คล้ายกับที่สิทธะ พยายามจะดับทุกข์ และด้วยความสงบแห่งการตื่นรู้ทำให้เขาพบความจริง ในเวลา 6 ปี
ภาพจากที่ไหนสักแห่ง
บางที หากเขาอยู่ต่ออีกสัก 4 ปี เขาอาจได้พบความจิรบก็ได้ อย่างไรเสีย มันอาจไม่ได้เป็นว่า มีเทวามาพบนับพันนับหมื่น สู้กับยักษาด้วยฤทธาแห่งวารี หรือมีรัศมีเปล่งฤทธาออกมาจากศีรษะ
ในทัศนะของผมเพียงเท่านั้น ความจริงพระพุทธเจ้า อาจไม่เคยพบพานประสบการดังกล่าวเลยก็เป็นได้ อาจเป็นเพียงแค่ พระองค์ อาจเข้าใจชีวิตมากขึ้น พระองค์ อาจเข้าใจกฏทางฟิสิกก่อนนิวตันหรือไอซไต เพราะความจริงมิได้แต่ในทางปรัชญาหรือจิตวิญญาณ ผมขอเรียกว่า จิตวิสัย แต่ด้วยวิทยาศาสตร์ และความรู้ ซึ่งผมขอเรียกว่า กายวิสัย
อีกเรื่องคือ ความคิดของเฮ็นรี่ที่ว่า เราควรหาเลี้ยงชีพด้วยแรงง่านของตน ในทัศนะของผมนั้น แทนที่จะทำงานในห้องแคบๆ ใช้เงินไปซื้อมันฝรั่ง สู้นลงแรงปลูกมันฝรั่งน่าจะดีกว่า
ผมนึกถึงลัทธิคอมมิวนิส ที่ชอบอ้างถึงกรรมาชีพ ผองชนผู้ใช้แรงงาน ทุกคนต้องทำงาน คือคำสอนของพวกเขา
แม้นความตายและโรคภัย จะพรากชายผู้นี้จากโลกไปเสียแล้ว แต่อย่างไรเสีย ความจริงที่ว่า เขาคืออีกผู้หนึ่งที่เข้าใกล้ความจริงนั้น ยังคงเป็นอยู่ เช่นเดียวกับมนุษย์อีกหลายคน ผู้ซึ่งดำรงอยู่ในอดีต หรือ อนาคตกาล มนุษย์เหล่านั้น คือนักปรัชญา
อ้างอิงจาก แปล และเรียบเรียงจาก https://www.britannica.com/biography/Henry-David-Thoreau
อ้างอิงเพิ่มเติมจาก https://www.thaivision.com/henry-david-thoreau.html
และหนังสือ walden ฉบับ สนพ.ทับหนังสื
โฆษณา