18 ก.พ. 2021 เวลา 09:26 • ไลฟ์สไตล์
กาว.. ประวัติสาท...
เกิดฝั่งธนแหล่งดงดอนแห่งประวัติศาสตร์แท้ๆ.. แต่ไฉนเรามักไปสนใจในเรื่องอยุธยามากกว่า
นั่นอาจเป็น เพราะคำว่าประวัติศาสตร์ในตำราเรียน มันดูเจาะจง จับเราใส่ลิ้นชัก ยัดคู่มือการการตั้งค่าโรงงานมาให้เสร็จสรรพ ว่ามันคือยุคประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
แต่พอโตขึ้น..ความสนใจเริ่มกระชับยุคให้แคบลง จนหมุดมาปักไว้แค่ต้นรัตนโกสินทร์
อีกอย่าง.. ความอยากใคร่รู้บางอย่าง มันไม่อาจสามารถจะค้นหาได้จากตำราในยุคใหม่ได้สักเท่าไรนัก
เฉกเช่น.. ข้อมูลในถิ่นกำเนิด.. ที่เคยเดินเที่ยวเล่นไปมาหาสู่กับเครือญาติ ย่านบางขุนนนท์
กาวในมือวันนี้... หาใช่กาวที่ไว้ประสานแต่อย่างใด แต่มันคือถุงกาว.. ที่จะลองมาไล่เรียงประวัติศาสตร์ผ่านความมึนเมาของข้อมูลดู..
สิ่งที่พยายามค้นหามาตลอดคือ ขุนนนท์คือใคร ทำไมต้องเรียกย่านนี้ว่าบางขุนนนท์ และที่อยู่ใกล้กันยังมีอีกขุน คือขุนศรี.. ทำไมประวัติศาสตร์ตรงนี้หายไป
มีเพียงแค่บอกว่าถ้าทุเรียนต้องขุนนนท์ มะม่วงต้องขุนศรี..
แต่เราจะไม่สืบความจากผลไม้.. แต่จะใช้มุมมองผ่านประวัติศาสตร์ด้วย.. วัด
แน่นอนหนึ่งในการแกะรอยของนักโบราณคดี มักจะเอาวัดมาเป็นตัวเชื่อม
ในหลักฐานพบว่าวัดบางขุนนนท์หรือวัดไชยชิต กับวัดไชยทิศในแขวงบางขุนศรี น่าจะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน เพราะดูจากประติมากรรมที่น่าจะอยู่ในยุคหลังพระนารายณ์ลงมา
2วัดนี้เผอิญตั้งอยู่คนละแขวงกัน ดังนั้นเรื่องราวมันจึงจะเชื่อมโยงได้ว่า ขุนนนท์และขุนศรี คือคนในยุคเดียวกัน
ด้วยสมัยก่อนหากรบชนะ ทหารที่มีคุณงามความดี ก็จะได้พระราชทานที่ดิน เมื่อได้รับ.... คนที่ได้ก็อยากจะสร้างวัดเป็นราชกุศล สร้างและทิ้งไว้แค่นั้น
ด้วยมีบันทึกอยู่ตอนว่า ที่ดินแถบนี้เดิมทีเป็นเรือกสวน.... มันรกสะดูจนจะเป็นเมืองร้างในยุคกรุงธนบุรี
เพราะในคราที่พระเจ้าตากสิน มีรับสั่งจะหาที่ดินสักแปลงที่อยู่ตามชนบทนอกกรุงธน(ชนบทไหมล่ะ เด็กๆกูเดินเล่นศิริราชบางขุนนนท์ยังไม่ทันเมื่อยขาเลยถึงแล้ว)
นั่นแปลว่า.. ที่ตรงนี้มันคงรกร้างอย่างแน่นอน ที่ท่านรับสั่งเช่นนี้ เพราะต้องการจะสร้างวัดขึ้น1แห่ง
เพื่อเป็นอนุสรณ์ต่อสนมเอกที่ชื่อ"อาม" ที่ท่านทรงสั่งประหารชีวิตเพราะคบชู้สู่ชาย แต่พอทราบว่ามันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดมันก็สายไปเสียแล้ว... เลยสร้างสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ที่กลางสวน...
ยังสร้างไม่ทันเสร็จ.. ท่านก็ต้องออกศึกสงครามตลอด แถมมีความไม่สงบในกรุง วัดที่สร้างจึงค่อยๆร้างลง
จนมาถึงยุคท่านประภาส จารุเสถียร นายกรัฐมนตรี(2512)... ท่านได้เข้ามาทำนุบำรุง .. จนในที่สุดเราก็รู้จักวัดนี้กันว่า"วัดเจ้าอาม"
เรื่องราวตรงนี้... มันดูธรรมดาหากมองผ่านๆ แต่ทว่าย่านบางขุนนนท์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มันหาใช่สวนเรือกนาอีกแล้ว
เพราะรู้จากสุนทรภู่ว่า วัดชีปะขาวคือที่ร่ำเรียนของลูกเจ้าลูกกษัตริย์ทั้งหลาย แม้แต่สุนทรภู่ยังมีโอกาสได้เล่าเรียนที่นี่
ตามคลองบางกอกน้อย ก็มีแพจอดกันเรียงราย จะว่าไปมันคือย่านเศรษฐกิจดีๆนี่เอง
หรือแม้แต่เรื่องราวในยุคราว50-80ปีที่ผ่านมา... ย่านบางขุนนนท์ก็ถูกขึ้นชื่อให้ว่าถนนสายก๋วยเตี๋ยว
เพราะริมถนนมีแต่ร้านก๋วยเตี๋ยวนานาชนิดตั้งขายกันอยู่ ที่เด่นๆก็คือเตี๋ยวหมูต้มยำ ก๋วยจั๊บ เตี๋ยวตำลึง(เตี๋ยวนับเส้น)​ร้านนี้ร้างดัง
คนพื้นที่เขาเล่ากันมาว่า... สมัยก่อนเขาก็พายเรือขายกันนั่นแหละ เพราะคนอาศัยอยู่ริมน้ำเยอะ พายตั้งแต่หัวคลองชักพระตอน9โมงเช้า กว่าจะพายกลับจากท้ายคลองก็ล่วงมาบ่าย2บ่าย3
แต่เมื่อมีการตัดถนน..... คนก็หนีจากเรือขึ้นมาบนบก... จนเกิดมาเป็นถนนก๋วยเตี๋ยวอย่างที่ว่า
เรื่องรางนี้ต้องย้อนไปสมัยจอมพลป. ที่ต้องการให้ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารประจำชาติไทย
เลยรณรงค์ทุกอย่าง... ในคลองชักพระจึงมีโรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยวใหญ่ถึง2โรง... ทำเส้นไม่พอ เพาะถั่วงอกขายอีกด้วย
ส่วนเครื่องปรุงก็หากันตามหน้าวัดต่างๆ เช่นหน้่าตลาดวัดทอง ตลาดบางขุนนนท์ บางขุนศรี หรืออยากจะไปหาเครื่องตุ๋นยาจีนก็หาได้ที่ตลาดท่าเตียน
ชุมชนแห่งนี้.. มันดูมีเรื่องราว แต่ไม่ยัก จะมีตำราไหนเขียนให้อ่านเป็นเนื้อเป็นน้ำได้เลย
เลยอยากสรุปสั้นๆผ่านถุงกาวนี้ ตามความคิดเห็นส่วนตัว ว่าขุนนนท์กับขุนศรี น่าจะเป็นคนในยุคอยุธยา... ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนในชุมชนพื้นที่
เท่ากับวัดวาอารามที่เกิดร่วมในยุคกรุงธนและรัตนโกสินทร์นัก
ความเจริญถูกผองถ่ายตาม.. สายน้ำ ก่อนจะขึ้นมาที่บก.... ดังนั้นมันจึงไม่แปลกที่ศิริราชกับบางขุนนนท์ มันจะดูไกลกันจนเรียกชนบทในสมัยกรุงธน
ส่วนใครจะเชื่อก็เชื่อ.. แล้วแต่"วิทยญาน" ของแต่ละคน..
จึงมีกาวมาแถมอีกถุงสั้นๆ.. หากใครเคยอ่านประวัติศาสตร์ก่อนการเปลี่ยนแปลง2475 ก็คงจะคุ้นๆชื่อของ ขุนศรีศรากร.. ทหารนักปฎิวัติที่อยู่เบื้องหลังในหลายเหตุการณ์สำคัญ
แต่คนจะสนใจในวลีเด็ดของเขาตอนหนึ่งในครั้งที่ถูกเชื้อเชิญให้เข้าร่วมปฏิวัติว่า...." ผมเคยร่วมปฏิวัติเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ แล้วจะให้ผมเอาตีนไปลบในสิ่งที่ผมเขียนมาอย่างนั้นรึ"
ท่านผู้นี้.. เคยให้สัมภาษณ์ในครั้งที่บวชเป็นพระหลังจากที่ปฏิเสธร่วมการรัฐประหารตอนหนึ่งไว้ว่า... ที่ผมต้องร่วมในปี2475 เป็นเพราะผมคือสายเลือดของพระยาพิชัยดาบหัก.. (คิดเอาเองว่านัยยะคืออะไร)
สิ่งนี้มันจึงพ้องกับเรื่องวัดเจ้าอามหรือไม่อย่างไร ที่จู่ๆท่านประภาสอยากจะมากอบกู้วัดร้างๆ ที่แทบไม่มีใครพูดถึงในขณะนั้น
ท่านจะสืบเชื้อสายทางตรงหรืออ้อมอย่างไรกับพระเจ้าตาก หรือสนมอามรึไม่ เราก็ไม่อาจจะไปรับรู้ได้
 
แต่นี่คือ... แง่มุมในภาพประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีเขียนเป็นตำรา...
หากแต่จะมโน ตามถุงกาวมาอย่างที่ว่า เล่าไปก็ขำไป... สนุ้กสนุก....
โฆษณา