19 ก.พ. 2021 เวลา 22:51 • ปรัชญา
🍂ลำดับแห่งการหลุดพ้น(จบ)🍂
.
. ~•🍁•~
. 🍂 สังโยชน์ 10 🍂
. ~•~
. 🔺กิเลสข้อที่ 6🔺
. คือ
. รูปราคะ
หมายถึง ความรักใคร่ ความพอใจในความสุขที่มาจากรูปสมาบัติ
.
1
cr: https://www.google.com /www.dmc.tv
พระอริยเจ้า 3 ชั้นแรก ยังไม่สามารถละความสุข ความพอใจที่เกิดจากรูปฌาณได้ จะถอนได้ก็ต่อเมื่อเลื่อนมาถึงอริยบุคคลชั้นสุดท้ายคือ พระอรหันต์
1
ความสงบสุข ที่เกิดมาจากรูปบริสุทธิ์ มีความน่าจับอกจับใจทำนองเดียวกันกับรสชาติของนิพพานที่แท้จริง เพียงแต่เป็นของชั่วคราว
1
เป็นเพียงกิเลสในความสงบรำงับ เพราะอำนาจฌาณ ไม่ใช่ว่าจะเป็นกิเลสที่หายไปจริงๆ เมื่อหมดกำลังของฌาน กิเลสก็จะกลับมาอีก
1
ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้หลงติดได้เหมือนกัน
.
. 🔺กิเลสข้อที่ 7🔺
. คือ
. อรูปราคะ
หมายถึง ความพอใจติดใจในความสุขที่เกิดจาก อรูปสมาบัติ เป็นเรื่องคล้ายกับข้อที่ 6 ผิดกันแต่ว่า ชั้นนี้ละเอียดประณีตขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง
1
ความพออกพอใจในความสงบสุข ชนิดนี้เรียกว่า อรูปราคะ
1
cr: wordyguru.com
ผู้ที่จะเป็นพระอรหันต์ จะหลงไหลในสุขเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาที่เกิดจากอะไรก็ตาม
1
พระอรหันต์ จะมองเห็นความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของความรู้สึกทุกชนิด ไม่อาจจะมีความติดใจในความรู้สึก อย่างใดอย่างหนึ่ง
1
ฉะนั้นจึงละ รูปราคะ และ อรูปราคะได้
.
1
. 🔺กิเลสข้อที่ 8🔺
. คือ
. มานะ
.
ได้แก่ ความรู้สึกสำคัญตนว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นชั้นเป็นเชิง ว่าเราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา เราดีหรือสูงกว่าเขา
1
cr: pixabay
ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่า เป็น ทิฏฐิมานะด้วยความเย่อหยิ่งจองหอง
กิเลสข้อนี้มาอยู่ในอันดับที่ 8 เกือบสุดท้าย ย่อมหมายความว่ามันละยาก จึงอยู่แทบจะรั้งสุดท้าย ซึ่งพระอริยเจ้าชั้นสูงสุดเท่านั้นจึงจะละได้ ชั้นเราๆตามธรรมดายังละไม่ได้
1
ความรู้สึกว่าตนดีกว่า หรือเสมอกัน หรือเสมอกัน ทำให้ใจหวั่นไหว จึงยังไม่ได้ความสงบสุขจริง
.
1
. 🔺กิเลสข้อที่ 9🔺
. คือ
. อุทธัจจะ
แปลว่า ความกระเพื่อม ความฟุ้ง หรือความไม่สงบนิ่ง ความกระพือขึ้นของใจ ย่อมมีได้อย่างที่เราใช้คำว่าทึ่ง ทึ่งทั้งในแง่ดีก็ได้ หรือทึ่งในแง่ร้ายก็ได้
1
คนธรรมดา ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกกับตัณหา ก็ยากที่จะระงับได้ ย่อมสนใจจนเนื้อเต้น ถ้าเป็นเรื่องเศร้าก็ทำให้ใจแฟบ เหี่ยวแห้งหมดความสุข
1
นี่คือลักษณะของ อุทธัจจะ
cr : pixabay
พระอริยะเจ้า 3 ประเภทข้างต้น ยังมีความสนใจในบางสิ่งอยู่ ยังมีความทึ่ง แต่พระอรหันต์ไม่มีเลย หมดความกระหายในสิ่งทั้งปวง หมดความกลัว หมดความเกลียด หมดความวิตกกังวล จิตใจเป็นอิสระ เพราะสิ่งเหล่านั้น ไม่มีความหมายเลยสำหรับท่าน ท่านไม่มีอะไรต้องทึ่ง จิตจึงบริสุทธิ์ สงบอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
.
1
. 🔺กิเลสข้อที่ 10🔺
. คือ
. อวิชชา
อันเป็นข้อสุดท้าย แปลว่า ภาวะที่ปราศจากความรู้ หมายถึงความรู้จริง ความรู้ที่ถูกต้อง ถ้าเป็นความรู้ผิด ก็มีค่าเท่ากับไม่รู้ คนจึงมีอวิชชาหรือ รู้ผิด เป็นประจำจึงมืดมน ถ้ารู้จริงแล้วก็เรียกว่าคนนั้นไม่มีอวิชชา
1
ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็มีขอบเขตอยู่ในวงเรื่องที่ควรรู้ ในบรรดาสิ่งที่ควรรู้ พระองค์ทรงรู้ทั้งหมด ไม่ใช่จะครอบคลุม ไปถึงสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ สำหรับดับทุกข์
1
อวิชชาทำให้คนต้องเวียนว่ายในกองทุกข์เพราะหลงเอาทุกข์ว่าเป็นความสุข บางครั้งอาจหลง เอาความสงบในสมาธิ หรือฌาณสมาบัตว่าเป็นความดับทุกข์สิ้นเชิง
1
คนที่ไม่รู้ ก็ย่อมทำไปตามความเขลา ตามอำนาจกิเลสตัณหา
แม้จะเป็นชาวพุทธโดยกำเนิด ก็ยังไปหลงได้ถึงขนาดนั้น
.
cr: ผู้จัดการ
ก็เพราะอำนาจของอวิชชานั่นเอง ทำให้ไม่เข้าใจ ไม่ยินดีในการดับทุกข์โดยการปฏิบัติมรรค8
1
แต่ไปใช้วิธีจุดธูป จุดเทียน นั่งบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทน
คำบาลีได้อุปมา อวิชชาว่า เป็นเหมือนเปลือกหนาที่หุ้มโลกไว้ทั้งหมด ไม่ให้ใครเห็นแสงสว่างที่แท้จริง
2
พระอรหันต์จึงตัดกิเลส 5 อย่างข้างท้ายได้หมด เพราะกำจัดกิเลสข้อสุดท้ายคือคืออวิชชานั่นเอง
1
การตัดสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 ข้อ ก็จะกลายเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาคือ พระอรหันต์ นั่นเอง
1
cr: pantip
พระอริยเจ้าทั้ง 4 ประเภทคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จัดอยู่ในโลกุตระภูมิ
ธรรมที่ได้บรรลุเรียกว่า โลกุตระธรรม
แยกเป็น 9 อย่างคือ ภาวะของโสดาบัน ขณะปฏิบัติ เรียกว่าโสดาปัตติมรรค เมื่อตัดกิเลสแล้ว เรียกว่า โสดาปัตติผล
1
จึงเป็นคู่ ๆ คือ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกิทาคามีมรรค สกิทาคามิผล
อนาคามีมรรค อนาคามีผล
อรหัตมรรค อรหัตผล
นับเป็น 4 คู่ เรียงเป็น 8 บุคคล
🔺รวม นิพพาน อีก 1 จึงเป็นโลกุตระธรรม 9 นั่นเอง🔺
💛นิพพาน หมายถึง สภาพหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับสิ่งใดๆ ในโลก
.
cr: goodlifeupdate
กล่าวคือ สภาพตรงกันข้ามกับโลกด้วยประการทั้งปวง
เป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งใดปรุงแต่ง และไม่ปรุงแต่งสิ่งใด เป็นภาวะที่ปราศจากการเผาลน
1
ทิ่มแทง ร้อยรัด ครอบงำ ผูกพัน เหตุให้ร้อนอก ร้อนใจ ถูกทำลายไปหมดอย่างนี้ เรียกว่า นิพพาน
1
นิพพาน เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีขอบเขต ไม่ต้องอาศัยเนื้อที่ ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ไม่เหมือนกับอะไรในโลก
2
แต่เป็นที่ดับของภาวะแบบโลกๆ เป็นดินแดนที่ดับของสิ่งปรุงแต่งทั้งปวง จึงเป็นธรรมชาติที่อิสระปราศจากเครื่องผูกมัด
.
1
cr: pixabay
นี่คือลักษณะของโลกุตระธรรมข้อสุดท้ายเป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา
เป็นเรื่องสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนา
หนังสือ คู่มือมนุษย์
แต่งโดย พุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสภิกขุ/cr: Facebook
ย่อความโดย
คุณ ปุ่น จงประเสริฐ
สรุปมานำเสนอโดย
พงศ์เล่าเรื่อง
1
ธรรมะสวัสดี
โฆษณา