20 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ว่าด้วยเรื่อง “ห้างหุ้นส่วนจำกัด”
ผู้การประกอบกิจการทุกคน ล้วนต้องการที่จะทำให้กิจการนั้นประสบความสำเร็จ เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับความเชื่อถือ
แต่การที่จะได้รับความน่าเชื่อถือนั้นผู้เป็นเจ้ากิจการอาจต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงเพื่อที่จะทำให้กิจการนั้นเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับเสมอไป
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายเข้าช่วยเหลือ เพื่อเป็นการการันตีโดยมีกฎหมายรองรับความน่าเชื่อถือของกิจการนั้น
โดนการทำให้กิจการนั้น กลายเป็น นิติบุคคล
วันนี้ “รู้รอบขอบชิด” จะขอมอธิบายรู้แบบของนิติบุคคลให้ฟัง
ก่อนอื่นจะขออธิบายก่อนว่านิติบุคคลคืออะไร
นิติบุคคล คือ กลุ่มคนหรือองค์กร ที่ร่วมกันดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง แล้วก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตามวิธีที่กฎหมายกำหนด โดยมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภามีได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
นิติบุคคล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. บริษัท
ความเป็น “ห้างหุ้นส่วน” ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- มีบุคคล 2 คนขึ้นไป
- ตกลงกันเพื่อดำเนินกิจการ
- รับผิดชอบเรื่อผลกำไรและการขาดทุนร่วมกัน แต่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแต่ละคน
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สามารถจัดตั้งขึ้นง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะกับกิจการขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง
จากบทความครั้งก่อนทุกคนคงจะมีความเข้าใจในเรื่องของ”ห้างหุ้นส่วนสามัญ”กันมาแล้ว(ใครยังไม่ได้อ่าน ไปตามอ่านได้นะคะ)
วันนี้ถึงคราวของ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” กันบางค่ะ
“ห้างหุ้นส่วนจำกัด”
คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีความรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงเอาไว้ ซึ่งมีบังคับว่าจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โดยกำไรที่ได้นั้นต้องแบ่งให้กับหุ้นส่วนทุกคน หากขาดทุนก็จะต้องรับผิดชอบผลการขาดทุนและหนี้สินร่วมกัน
โดยแบ่งผู้รับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วนคือ
1). หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด
- รับผิดชอบในหนี้สิน ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนนำมาลงทุบไว้
- ไม่มีสิทธิ์เข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มีเพียงสิทธิ์ในการออกความคิดเห็นเท่านั้น
- กฏหมายห้ามใช้ชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนมาตั้งเป็นชื่อของห้างหุ้นส่วน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทนี้เสียชีวิต หรือถอนหุ้น กิจการยังคงดำเนินการต่อไปได้
2). หุ้นส่วนเภทไม่จำจัดความรับผิด
- รับผิดในหนี้สินอย่างไม่จำจัดจำนวน (ซึ่งในห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทนี้อย่างน้อย 1 คน)
- มีสิทธิ์ในการจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
ข้อดี
- ระดมเงินทุนง่าย
- มั่งคง น่าเชื่อถือกว่าการเป็นเจ้าของคนเดียว
- การจัดตั้งไม่ยุ่งยาก เพราะการเป็นหุ้นส่วนไม่จำเป็นต้องมีลายลักษณ์อักษรก็ได้
- ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำจัดความรับผิด ต้องดำเนินงานคล้ายกับกิจการของตน มีอิสระในการบริการ
- การเลิกกิจการทำได้ง่าย
ข้อเสีย
- มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
- ถอนเงินทุนออกยาก
- อายุของธุรกิจถูกจำกัดจากผู้เป็นหุ้นส่วน
- หุ้นส่วนก่อหนี้ได้อย่างไม่จำจัด
- อาจเกิดความขัดแย้งกับผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วน
ภาษี
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีการเสียภาษีเช่นเดียวกับ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด คือ
ตาม พรบ.ทางการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังนี้
- วันเริ่มทำบัญชี ต้องเริ่มนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนป็นนิติบุคคล
- บัญชีที่ต้องจัดทำ ผู้ที่รับผิดชอบทำบัญชี จะต้องจบการศึกษาด้านบัญชี ยกเว้นผ่อนผันให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้จบบัญชีมา โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1. บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ต้องจบการศกษาด้านบัญชี โดยมีวุฒิ ปวส.(บัญชี) หรือปริญญาตรี(บัญชี)
2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิ ปวส.(บัญชี) และสำหรับทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้าน มีสินทรัพย์มากกว่า 30 ล้านบาท และมีรายได้มากกว่า 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีจะต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
3. บริษัทมหาชน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมการค้า บริษัทจดทะเบียน SET บริษัท BOI ผู้จัดทำบัญชีต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
มาถึงตรงนี้ทุกคนคงจะพอทราบถึงความแตกต่าง หลักเกณฑ์ และข้อดี ข้อเสีย ของนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนกันแล้ว ในวันพรุ่งนี้ “รู้รอบขอบชิด” จะขอเสนอนิติบุคคลประเภทบริษัทกันบ้าง ซึ่งจะเป็นเรื่องสุดท้ายของ นิติบุคคล นะคะ
“รู้รอบขอบชิด” ขอขอบคุณทุกการติดตามและยินดีรับคำติชมด้วยความเต็มใจ
ขอบคุณค่ะ
โฆษณา