21 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ว่าด้วยเรื่อง “บริษัท”
ผู้การประกอบกิจการทุกคน ล้วนต้องการที่จะทำให้กิจการนั้นประสบความสำเร็จ เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับความเชื่อถือ
แต่การทีจะได้รับความน่าเชื่อถือนั้นผู้เป็นเจ้ากิจการอาจต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงเพื่อที่จะทำให้กิจการนั้นเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับเสมอไป
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายเข้าช่วยเหลือ เพื่อเป็นการการันตีโดยมีกฎหมายรองรับความน่าเชื่อถือของกิจการนั้น
โดนการทำให้กิจการนั้น กลายเป็น นิติบุคคล
วันนี้ “รู้รอบขอบชิด” จะขอมอธิบายรู้แบบของนิติบุคคลให้ฟัง
ก่อนอื่นจะขออธิบายก่อนว่านิติบุคคลคืออะไร
นิติบุคคล คือ กลุ่มคนหรือองค์กร ที่ร่วมกันดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง แล้วก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตามวิธีที่กฎหมายกำหนด โดยมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภามีได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
นิติบุคคล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. บริษัท
มาถึงเรื่องสุดท้ายของ “นิติบุคคล” กันแล้วนะคะ วันนี้จะมาขอเสนอในเรื่องของ บริษัท จะไปยังไง เรามาเริ่มกันเลยค่ะ
“บริษัท”
คือธุรกิจซึ่งเกิดจากการร่วมทุน ของกลุ่มคนเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรมาแบ่งกัน ลักษณะของบริษัทมีดังนี้
- มีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 3 คน (จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคลก็ได้)
- ทุนจะแบ่งออกเป็นมูลค่าต่างๆ กันเรียกว่าหุ้น
- ผู้ถือหุ้นจะขาย หรือโอนหุ้นให้ใครก็ได้
- ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจำกัด เท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ (ถือหุ้นเท่าใดรับผิดชอบเท่านั้น)
- การแบ่งกำไร บริษัทจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนหุ้นที่ถือ
ข้อดี-ข้อเสียของการเป็นบริษัท
ข้อดี
- มีสภาพเป็นนิติบุคคล แยกตัวจากผู้ถือหุ้น มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีสิทธิ์ดำเนินคดีในนามบริษัท
- บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มในการขายหุ้น
- ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบเพียงมูลค่าที่ตนค้างชำระ
- ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับคนอื่นได้
-กรณีผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลมีคำสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น บริษัทก็ยังดำเนินกิจการได้
- มีความน่าเชื่อถือกว่าการจัดตั้งโดยเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน
- การเพิ่มทุนสามารถทำได้ด้วยการจดทะเบียนเพิ่มทุนและออกหุ้นขาย
ข้อเสีย
- ขั้นตอนในการจัดตั้งยุ่งยาก และหน่วยงานรัฐดูแลเข้มงวด
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูง ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป
- ความลับเปิดเผยได้ง่าย
- บางครั้งบริษัทอาจต้องจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามา ทำให้ขาดความตั้งใจ ซื่อสัตย์ และเสียสละ
การจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด
- กรณีเป็นข้อบังคับของบริษัท
- เมื่อสิ้นกำหนดเวลา กรณีที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกาล
- เมื่อเสร็จการ เมื่อบริษัทถูกตั้งขึ้นเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
- เมื่อมีมติให้เลิก
- เมื่อบริษัทล้มละลาย
- เมื่อศาลสั่งให้เลิก
การตัดสินใจเลือกรูปแบบการทำธุรกิจ
1. ประเภทของธุรกิจที่จะดำเนินการ ขนาด เงินลงทุน
2. ต้องการบริหารกิจการและตัดสินใจเอง หรือจ้างมืออาชีพ
3. เปรียบเทียบกฎหมายและภาษี ตามรูปแบบธุรกิจ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน
4. พิจารณาถึงการขยายธุรกิจหรือยกเลิกธุรกิจ
ภาษี
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด
ตาม พรบ.ทางการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังนี้
- วันเริ่มทำบัญชี ต้องเริ่มนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนป็นนิติบุคคล
- บัญชีที่ต้องจัดทำ ผู้ที่รับผิดชอบทำบัญชี จะต้องจบการศึกษาด้านบัญชี ยกเว้นผ่อนผันให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้จบบัญชีมา โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1. บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ต้องจบการศกษาด้านบัญชี โดยมีวุฒิ ปวส.(บัญชี) หรือปริญญาตรี(บัญชี)
2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิ ปวส.(บัญชี) และสำหรับทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้าน มีสินทรัพย์มากกว่า 30 ล้านบาท และมีรายได้มากกว่า 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีจะต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
3. บริษัทมหาชน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมการค้า บริษัทจดทะเบียน SET บริษัท BOI ผู้จัดทำบัญชีต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
มาถึงep.สุดท้ายของการเป็น “นิติบุคคล” กันแล้ว(ใครยังไม่ได้อ่านตามอ่านในep.ก่อนๆกันได้นะ วันนี้“รู้รอบขอบชิด”หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้อ่านไม่มาก็น้อยนะคะ
ขอบคุณสำหรับการติดตาม และยินดีรับคำติชมอย่างเต็มใจค่ะ
ขอบพระคุณมากๆค่ะ
อ้างอิงความรู้ดีๆจาก
โฆษณา