18 ก.พ. 2021 เวลา 17:14 • การศึกษา
มาเล่นรูบิคเพื่อฝึก Logical Thinking กัน
ความคิดเชิงตรรกะคือการคิดอย่างมีเหตุมีผล มีการเชื่อมโยงสาเหตุและผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาขึ้นได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์ โดยวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะนี้เช่น การทำโจทย์แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ การเล่นเกมส์ปริศนา การเล่นหมากกระดาน การเล่นรูบิคเป็นต้น
รูบิคเป็นของเล่นทรงเรขาคณิต ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยศาสตราจารย์เออร์โน รูบิค ชาวฮังการี รูบิค(3x3x3) ประกอบด้วยลูกบาศก์ขนาดเล็ก 26 ชิ้น ชิ้นกลางชิ้นที่มีการเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลางทำให้แต่ละหน้าหมุนไปมาได้
รูบิคมีจำนวนรูปแบบการเรียงตำแหน่งสับเปลี่ยนที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ (~4.33 × 1019) ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ภายในการบิด 20 ครั้งหรือน้อยกว่า
 
การแก้ปัญหารูบิคมีวิธีและสูตรการแก้มากมาย แต่วิธีที่เป็นที่นิยมต่อผู้เล่นทั่วไปคือ CFOP
1. C คือ การCross เพื่อทำสีขาวก่อน
2. F คือ F2L(First two layers) หมุน Rubik ใช้ได้
2 ชั้นในคราวเดียว มีสูตรทั้งหมด 41 สูตร
3. O = Orienting the last layer หมุนชั้นหน้าเหลือให้ถูกตำแหน่งโดยที่สีด้านข้างสีไม่ตรงก็ได้ มีสูตรทั้งหมด 57 สูตร
4. P = Permutate the last layer จัดตำแหน่งของชั้นสุดท้ายให้ถูกตำแหน่งจัดสีเหลืองให้ถูกตำแหน่ง มีสูตรทั้งหมด 21 สูตร
การเล่นรูบิคให้เร็วนั้น ผู้เล่นจะต้องมีประสาทสัมผัส(ตาและมือ) และการคิดเชิงตรรกะที่รวดเร็ว กล่าวคือ จะต้องคิดแล้วว่าเมื่อบิดแบบนี้จะเป็นเหตุให้รูปแบบรูบิคจะเปลี่ยนเป็นแบบใด และเป็นผลให้จะต้องบิดต่อด้วยวิธีใดในขั้นตอนต่อไปเพื่อให้เสียเวลาและจำนวนครั้งการบิดน้อยที่สุดได้ เกิดจากการฝึกฝนจนชำนาญจนเกิดเป็นกล้ามเนื้อความจำ (Muscle memory) และเป็นการช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะได้
Feliks Zemdegs ผู้ทำลายสถิติโลกหลายรายการ
สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดยสมาคมลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขันและสถิติ สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 3.47 วินาที โดย Yusheng Du ในการแข่งขัน Wuhu Open 2018 ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 5.53 วินาที โดย
Feliks Zemdegs ในการแข่งขัน Odd Day in Sydney 2019
โฆษณา