19 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ว่าด้วยเรื่อง “ห้างหุ้นส่วนสามัญ”
ผู้การประกอบกิจการทุกคน ล้วนต้องการที่จะทำให้กิจการหรือธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับความเชื่อถือ
แต่การทีจะได้รับความน่าเชื่อถือนั้นผู้เป็นเจ้ากิจการอาจต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงเพื่อที่จะทำให้กิจการนั้นเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับเสมอไป
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายเข้าช่วยเหลือ เพื่อเป็นการการันตีโดยมีกฎหมายรองรับความน่าเชื่อถือของกิจการนั้น
โดนการทำให้กิจการนั้น กลายเป็น นิติบุคคล
วันนี้ “รู้รอบขอบชิด” จะขอมอธิบายรู้แบบของนิติบุคคลให้ฟัง
ก่อนอื่นจะขออธิบายก่อนว่านิติบุคคลคืออะไร
นิติบุคคล คือ กลุ่มคนหรือองค์กร ที่ร่วมกันดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง แล้วก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตามวิธีที่กฎหมายกำหนด โดยมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภามีได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
นิติบุคคล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. บริษัท
ความเป็น “ห้างหุ้นส่วน” ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- มีบุคคล 2 คนขึ้นไป
- ตกลงกันเพื่อดำเนินกิจการ
- รับผิดชอบเรื่อผลกำไรและการขาดทุนร่วมกัน แต่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแต่ละคน
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สามารถจัดตั้งขึ้นง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะกับกิจการขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง
“ห้างหุ้นส่วนสามัญ”
คือ หุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนแบบ “ไม่จำกัดความรับผิด” กล่าวคือ กรณีที่ห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ “หุ้นส่วนทุกคน” ต้องรับผิดชอบร่วมกันตามสัดส่วน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ แยกได้เป็นอีก 2 กรณี คือ
1). แบบจดทะเบียน
2). แบบไม่จดทะเบียน
(จดทะเบียนที่ว่านี้ คือ การจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจด/ไม่จดทะเบียน มีความแตกต่างกัน ดังนี้
1). ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจดทะเบียน (นิยมเรียกกันว่า ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล)
ข้อดี
- มีเงินทุนมาประกอบกิจการมากกว่าการเป็นเจ้าของคนเดียว
- ความเสี่ยงน้อย เพราะมีหุ้นส่วนมาช่วย ในกรณีที่กิจการขาดทุน
- การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลง่าย และปิดกิจการง่าย
- น่าเชื่อถือกว่าห้างหุ้นส่วนแบบไม่จดทะเบียน
- สามารถรวบรวมเงินทุนได้มากกว่า
- เสียภาษีน้อยกว่า ห้างหุ้นส่วนแบบไม่จดทะเบียน อีกทั้งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้
ข้อเสีย
- ต้อง ”รับผิดชอบหนี้สิน” ของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล “อย่างไม่จำกัด”
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจะปิดตัวลงทันที ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง ถอนตัว หรือ เสียชีวิต
2). ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบไม่จดทะเบียน (นิยมเรียกกันว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ)
ข้อดี
- มีเงินทุนมาประกอบกิจการมากกว่าการเป็นเจ้าของคนเดียว
- ความเสี่ยงน้อย เพราะมีหุ้นส่วนช่วยจ่าย
- การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญง่าย และก็ปิดกิจการง่าย
ข้อเสีย
- เงินทุนมีเฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเท่านั้น
- ผู้เป็นหุ้นส่วนถอนตัวหรือเสียชีวิต ห้างหุ้นส่วนต้อง “ปิดตัวลง”
- น่าเชื่อถือน้อย เพราะไม่ได้เป็นนิติบุคคล
- เสียภาษี 2 ทาง คือ
- ภาษีบุคคลธรรมดา
- เมื่อแบ่งกำไรที่ได้จากธุรกิจ ต้องนกำไรำส่วนนั้นมาเสียภาษีอีก
ภาษี
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
-ไม่ต้องทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีจะประกาศให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด
ตาม พรบ.ทางการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังนี้
- วันเริ่มทำบัญชี ต้องเริ่มนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนป็นนิติบุคคล
- บัญชีที่ต้องจัดทำ ผู้ที่รับผิดชอบทำบัญชี จะต้องจบการศึกษาด้านบัญชี ยกเว้นผ่อนผันให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้จบบัญชีมา โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1. บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ต้องจบการศกษาด้านบัญชี โดยมีวุฒิ ปวส.(บัญชี) หรือปริญญาตรี(บัญชี)
2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิ ปวส.(บัญชี) และสำหรับทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้าน มีสินทรัพย์มากกว่า 30 ล้านบาท และมีรายได้มากกว่า 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีจะต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
3. บริษัทมหาชน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมการค้า บริษัทจดทะเบียน SET บริษัท BOI ผู้จัดทำบัญชีต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน วันนี้ “รู้รอบขอบชิด” ขอนำเสนอในส่วนของ “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” เพียงเท่านี้ก่อน แล้วจะมาเล่าในส่วนของ ห้างหุ้นส่วนจำจัด และบริษัท ในวันถัดไป
“รู้รอบขอบชิด” ขอบคุณทุกๆคนเป็นอย่างยิ่ง และยินดีรับคำติชมด้วยความเต็มใจ
ขอบคุณค่ะ
โฆษณา