19 ก.พ. 2021 เวลา 12:32 • ประวัติศาสตร์
สมุดพก
สมุดพกหรือสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนชั้นประถมศึกษาของเด็กชายปรัชญา
เหลือ ๕ เล่มเพราะฉบับชั้น ป.๔ ใช้เป็นหลักฐานการย้ายจากโรงเรียนวัดนางบวชไปเรียนที่โรงเรียนสุพรรณภูมิ
สิ่งที่น่าสนใจคือสมัยที่ผมเรียนชั้น ป.๑ - ป.๒ กระทรวงศึกษาธิการยังแบ่งการเรียนชั้นประถมศึกษาเป็น ๓ ภาคการศึกษาหรือเรียน ๓ เทอม จนขึ้นชั้น ป.๓ (พ.ศ.๒๕๓๓) จึงลดลงเหลือ ๒ ภาคการศึกษาเหมือนชั้นมัธยม
วิชาภาษาไทยกับวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในกลุ่มวิชาทักษะและวัดผลร่วมกัน ด้วยแนวคิดที่ว่า "ทักษะ" หมายถึงความชำนาญ ทั้งภาษาและการคำนวณยิ่งฝึกฝนยิ่งชำนาญ
หน้าสุดท้ายของสมุดพกเว้นที่ว่างให้ใครบางคนผู้มีใจอารี (กว่าใครอีกคน) เขียน "ความเห็นของผู้ปกครอง" ซึ่งจะเป็นคำประกาศเกียรติคุณและคำพิพากษาให้จดจำไปชั่วชีวิต
ตอนเป็นเด็กน้อยที่โรงเรียนห่างไกลปลายแดนผมเคยสอบได้ที่ ๑ อยู่บ้าง จนเมื่อเข้ามาเรียนในตัวจังหวัดจึงรู้ว่าโลกแห่งความจริงไพศาลและลึกล้ำเพียงใด
ทั้งได้เข้าใจว่า "เด็กเมือง" นั้นมี "ทักษะชีวิต" และมี "โอกาสทางการศึกษา" ดีกว่า "เด็กโรงเรียนวัด" อย่างผมมากมายนัก
ปรัชญา ปานเกตุ เขียนเผยแพร่บนเพจบุ๊คและแฟนเพจเมื่อวันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
สมุดพกชั้นป.๑ - ป.๓ โรงเรียนวัดนางบวช และชั้นป.๕ - ป.๖ โรงเรียนสุพรรณภูมิ ปรัชญาถ่ายศุกร์๔ธันวา๒๕๖๓
ผลการเรียนระดับชั้น ป.๑ ทั้ง ๓ ภาคการศึกษา ด้านล่างมีลายมือครูจำนงค์ ศรีพุกทอง ครูประจำชั้น เขียนด้วยดินสอว่าสอบได้ที่ ๑ ปรัชญาถ่ายศุกร์๔ธันวา๒๕๖๓
"ขยันอ่านหนังสือดีมาก" ตัวหนังสือแทนความรู้สึกของพ่อหนักแน่นและมีพลัง ปรัชญาถ่ายศุกร์๔ธันวา๒๕๖๓
โฆษณา