21 ก.พ. 2021 เวลา 01:43 • ประวัติศาสตร์
รถไฟเหาะแห่งความตาย Euthanasia Coaster
10
ผมเชื่อว่าหลายท่านที่ได้เคยได้มีโอกาสเล่นรถไฟเหาะที่สวนสนุก คงจำความรู้สึกตื่นเต้น หวาดเสียว จนอดไม่ได้ที่จะกรีดร้องออกมาในช่วงไปกี่นาทีแห่งความหฤหรรษ์ในห้วงการตีลังกาท้าแรงโน้มถ่วงของโลก เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไว้มาพูดคุยเฮฮาเมื่อลงมาถึงยังพื้นเบื้องล่าง
9
ภาพประกอบจาก https://blog.govoyagin.com/fuji-q-highland/
แต่คุณจะรู้สึกอย่างไรหากรู้ว่าการก้าวขึ้นไปนั่งบนเบาะของรถไฟเหาะตีลังกาที่อยู่ตรงหน้า คุณจะไม่มีวันได้กลับมาบนพื้นอีกเลย เพราะนี่คือเรื่องราวรถไฟเหาะมรณะที่มีไว้สำหรับส่งคุณไปสู่ปรโลกเมื่อคุณไม่ต้องการที่จะใช้ชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์สีน้ำเงินที่สวยงามใบนี้อีกต่อไป
6
ภาพประกอบจาก Katrina Clarke
รถไฟเหาะนี้มีชื่อว่า Euthanasia Coaster หรือถ้าแปลเป็นไทยก็คือ รถไฟเหาะการุณยฆาต ถูกออกแบบในปี 2010 โดยยูลิโยนัส เออร์โบนัส (Julijonas Urbonas) ศิลปินชาวลิทัวเนีย ผู้มีพื้นเพมาจากการทำงานในสวนสนุก
4
หลักการทำงานก็คือ รถไฟเหาะดังกล่าวจะทำการไต่ระดับปีนขึ้นเนินแรก ที่มีความสูงราว ๆ 500 เมตร โดยใช้เวลา 2 นาที ซึ่งในช่วงเวลานี้เอง Urbonas มองว่าเป็นโอกาสอันดี ที่ผู้นั่งจะหวนนึกย้อนกลับไประลึกถึงชีวิตตัวเองก่อนหน้านี้ที่ผ่านมา ก่อนที่จะดำดิ่งลงด้วยความเร็วที่ 354 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไปตีลังกาต่อ 360 องศา อีก 7 รอบ ส่งผลให้เกิดแรง g บนร่างของผู้นั่งถึง 10 g ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 60 วินาที
12
โดยแรง G นั้นก็คือ Gravity force อัตราเร่ง คือ การเปลี่ยนแปลงความเร็วที่มีทิศทางต่อหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น เมตร/วินาทีกำลัง2 ใช้อักรษรย่อ g ซึ่ง 1g มีค่าเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาทีกำลัง2 ซึ่งเป็นค่าคงที่โดยกำหนดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ยิ่งตัวเลขค่าgสูงขึ้นมากเท่าใด ยิ่งทำให้ความเร่งที่กระทำต่อร่างกายสูงตามไปเป็นเท่าตัว
9
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมที่ 1g เมื่อถูกเหวี่ยงด้วยแรง 4gและถูกกดติดกับเก้าอี้ ณ ขณะนั้นคุณจะรู้สึกเสมือนกับว่าหนัก 280 กิโลกรัม นั้นหมายความว่าหากคุณตีตั๋วขึ้นรถไฟเหาะขบวนนี้ ณ แรงเหวี่ยงที่อัตราเร่งสูงสุดที่ 10 g อัตราเร่งขนาดนั้นจะส่งน้ำหนักของคุณไปถึง 700 กิโลกรัม แต่ไม่ต้องกังวลใจว่าจะตกใจกับน้ำหนักมหาศาลขนาดนั้น
9
เพราะยิ่งเผชิญหน้ากับค่าgสูงเท่าไหร่และนานมากเท่าใดก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เกิดอาการที่เรียกว่า G-LOC หรือ Gravity induced loss of consciousness คืออาการหมดสติจากการเพชิญแรงจีบวกที่มีค่าสูงๆ เกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ครับ ส่วนมากจะพบตั้งแต่ 5G ขึ้นไป เนื่องจากความเร่งที่สูงมากๆจากหัวสู่เท้า ทำให้เลือดถูกดันลงสู่ขา และไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ ส่งผลทำให้ผู้นั่งสูญเสียความสามารถในการมองเห็นสี การมองเห็นสิ่งรอบข้าง สูญเสียการมองเห็นทั้งหมด ก่อนที่จะหมดสติไปในที่สุด เหมือนคลิปเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกที่มีคนกรี๊ดแล้วสลบตื่นมากรี๊ดแล้วสลบ แบบนั้นเลยครับ
14
ซึ่ง Urbonas ได้นำไอเดียการเกิดสภาวะ G-LOC นี้มาปรับใช้ โดยเชื่อว่า หากคงสภาวะสมองขาดออกซิเจนในลักษณะดังกล่าวต่อเนื่องไปได้ระยะหนึ่ง จะทำให้ผู้นั่งรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว และเมื่อเดินทางผ่านวงหมุนที่เล็กลงเรื่อย ๆ ท้ายที่สุด ผู้นั่งก็จะเสียชีวิตเนื่องจากสภาวะการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองนั่นเอง
13
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเด็นเรื่องการการุณยฆาตยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ คอนเซปต์ดังกล่าวนี้ ก็ได้รับเสียงค้านจากทางฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับการการุณยฆาต ว่ามันไม่มีการพรากชีวิตมนุษย์รูปแบบไหนที่เมตตากรุณา พร้อมทั้งสง่างาม และสร้างความรู้สึกสบายได้ แต่ในกรณีนี้ น่าจะเป็นการเสียชีวิตที่เต็มไปด้วยอาการวิงเวียน และความหวาดกลัวมากกว่า
8
นอกจากนั้น วิศวกรคนหนึ่งของ NASA ก็ยังได้ลงความเห็นว่า เนื่องจากการเสียชีวิตในกรณีนั้น ต้องอาศัยการทำงานของค่า g เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้นั่งที่ขาด้วน หรือขาสั้น อาจจะรอดชีวิตจากรถไฟเหาะครั้งนี้ได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่ขามากพอ ที่จะดึงเลือดจากร่างกายทั้งหมดไปไว้ได้ ทำให้เลือดจะยังสามารถไปเลี้ยงสมองได้ตลอดระยะเวลาการเดินทางทั้ง 3 นาทีนี้
9
อีกทั้งในปัจจุบัน รถไฟเหาะการุณยฆาตดังกล่าวนี้ ก็ยังคงเป็นเพียงแค่คอนเซปต์เท่านั้น ยังไม่เคยถูกสร้างและยังไม่มีใครที่ตกลงจะเป็นผู้สร้างคนแรก
7
เก้าอี้ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่ต้องการประสบการณ์หวาดเสียวสุดขั้นก่อนตาย
ที่มาข้อมูลสำหรับศึกษาเพิ่มเติม
1
โฆษณา