22 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ว่าด้วยเรื่อง “ทรัพย์สิน”
ผู้ที่มหาเศรษฐีของโลก ซึ่งทุกคนทราบกันดีว่าพวกเขาเหล่านี้มีทรัพย์สินที่ถือครองกันมากมาย
แต่จะมีผู้ใดที่จะทราบได้ว่า ทรัพย์สินที่พวกเขาได้ถือครองนั้นนั้นแท้ที่จริงแล้วคืออะไร อาจจะมิใช่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
วันนี้รู้รอบขอบชิด จะขอเสนอบทความที่ว่าด้วย ทรัพย์สิน ว่ามีอยู่ด้วยกันกี่ประเภท แล้วเราสามารถถือครองและหากำไรจากมันได้มากน้อยเพียงใด
ก่อนอื่นจะขออธิบายความหมายเบื้องต้นก่อนเลยว่า
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง มีราคา สามารถจับต้องได้
ส่วนทรัพย์สิน หมายความ รวมไปถึงทรัพย์ และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งสามารถตีราคาราคาและสามารถยึดถือเอาได้เป็นของตนเองได้ เช่น รถยนต์ ที่ดิน เงินตรา ลิขสิทธิ์ สิทธิเรียกร้องต่างๆ เป็นต้น
ทรัพย์สิน แยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ
1. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น
สังหาริมทรัพย์ นั้นสามารถจะเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ เรือ สัตว์ หรือเคลื่อนย้ายด้วยแรงจากภายนอก เช่น สร้อย นาฬิกา เงิน เป็นต้น
สังหาริมทรัพย์ อาจหมายความรวมถึง สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็น หรือจับต้องได้ เช่น กระแสไฟฟ้า ก๊าซ เป็นต้น
สิทธิที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนำ สิทธิยึดเหนี่ยว เป็นต้น
2. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง
ที่ดิน
ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินที่ไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้ (โดยไม่ทำให้สูญเสียรูปร่างหรือรูปทรงเดิมไป) เช่น บ้าน ตึกแถว ถนน เป็นต้น
สิทธิที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนอง สิทธิอาศัย เป็นต้น
ทรัพย์ในพาณิชย์ และทรัพย์นอกพาณิชย์
ทรัพย์ในพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่สามารถ ซื้อขาย โอน เปลี่ยนมือกันได้ตามความต้องการของเจ้าของกรรมสิทธิ์ เช่น เงิน ทอง หรือทรัพย์สินอื่นใดโดยทั่วไป
ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาเป็นของตนได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้ หากทำการโอนถ่ายเปลี่ยมือกันไป ก็ถือตกเป็นโมฆะ
อาทิ ที่ดินป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ ถนนหลวง แม่น้ำ ที่ทำการสำเภอ อาวุธของทหาร เป็นต้น
ส่วนทรัพย์ที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินนั้น มีผลตามกฎหมาย ดังนี้
- เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้
- ครอบครองเพื่อประโยชย์ของตนเองไม่ได้
- โอนขาย เปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ หรือจำนอง จำนำ ไม่ได้
- ห้ามยกอายุความการครองครองปรปักษ์ไม่ได้
- ห้ามยึงหรืออายัดที่ดินหรือทรัพย์สินของที่ดินนั้น
ทรัพย์ที่เป็นส่วนควบ คือ
- สิ่งที่เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น
- สิ่งที่ไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรงไป เช่น ไส้ของซาลาเปา ล้อของรถยนต์ เป็นต้น
- เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้นด้วย
- ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพียวชั่วคราว ไม่ถือเป็นส่วนควบ
ดอกผลที่ได้จากทรัพย์นั้น
ดอกผลของทรัพย์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท
1. ดอกผลธรรมดา
2. ดอกผลโดยนิตินัย
1. ดอกผลธรรมดา หมายถึง สิ่งที่เกิดตามธรรมชาติของทรัพย์นั้น เช่น มะม่วงหากเด็ดออกจากต้น(แม่ทรัพย์) แล้วถือว่าเป็นดอกผลของทรัพย์ ขนสัตว์เมื่อตัดออกจากตัวสัตว์(แม่ทรัพย์)แล้วถือเป็นดอกผลของทรัพย์นั้น ดป็นต้น
ส่วนควบไม่ถือเป็นดอกผล เพราะก่อนจะเอาทรัพย์ออกมาต้องมีการทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์เดิมเปลี่ยนรูปทรงไป
2. ดอกผลโดยนิตินัย หมายถึง ทรัพย์หรืประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวจากผู้อื่น เมื่อใช้ทรัพย์นั้น เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล กำไร เป็นต้น
รู้รอบขอบชิดหวังเสมอว่า บทความนี้คงจะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบพระคุณค่ะ
โฆษณา