22 ก.พ. 2021 เวลา 13:00 • ครอบครัว & เด็ก
💋ผู้ชายญี่ปุ่นกับความเจ้าชู้ ตอนที่ 1 💋
จากประการณ์การอยู่ญี่ปุ่นมาเกือบสิบปีของเรา
จะมาเล่าให้ฟังว่าความจริงแล้วผู้ชายญี่ปุ่นเจ้าชู้จริงมั้ยค่ะ
 
💋ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า
ทั้งหมดมาจากประสบการณ์ส่วนตัว
อาจจะแตกต่างจากสังคมที่คนอื่นเจอนะคะ
 
💋คำถามแรกที่คิดว่าทุกคนอยากรู้ ผู้ชายญี่ปุ่นเจ้าชู้จริงหรอ
คำตอบที่ถูกต้องที่สุดคือ แล้วแต่คนค่ะ
แต่ที่เรารู้สึกคือ สังคมทำให้เค้าเจ้าชู้ได้อย่างเปิดเผย
ส่วนตัวแต่ละคนนั้นจะเป็นยังไง
ขึ้นอยู่กับนิสัยและการเลี้ยงดูค่ะ
 
💋สังคมทำให้เจ้าชู้คือยังไง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในคนวัยทำงานรุ่นเรา
คือการที่สามารถใช้คำว่า งาน
มาเป็นข้ออ้างในการเที่ยวผู้หญิงได้ค่ะ
 
💋การเที่ยวผู้หญิงสำหรับแต่ละคนคงครอบคลุมได้ไม่เท่ากัน
แต่สำหรับเรา การไปเที่ยวในสถานที่ๆมีผู้หญิงแต่งตัวล่อแหลมและมีแอลกอฮอลล์มาเสิร์ฟให้
เรานับเป็นการเที่ยวผู้หญิงหมดค่ะ
ในที่นี่แม้จะเป็นแค่การนั่งคุยเฉยๆ
ไม่ได้มีการแตะต้องตัวเราก็ขออนุญาตนับนะคะ
ใครไม่เห็นด้วยยังไงไม่เป็นไรค่ะ
นี่คือมาตรฐานเราในฐานะภรรยาคนนึง
(เราไม่มีเจตนาดูถูกคนที่ทำอาชีพด้านนี้นะคะ
เป็นสิทธิส่วนบุคคลค่ะ เราขอเขียนถึงผู้ชายที่ไปใช้บริการเท่านั้นค่ะ)
 
💋ตอนมาทำงานที่ญี่ปุ่น เราทำงานสายเซลล์
ซึ่งเป็นสายที่เจอเรื่องแบบนี้เยอะที่สุด
งานเซลล์เป็นงานที่ต้องไปกินเลี้ยงกับลูกค้าเป็นเรื่องปกติ
อันนี้พยายามเข้าใจ
บริษัทแรกที่ทำเป็นบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์
ช่วงเดือนธันวาคม เป็นช่วงพีคของการกินเลี้ยงสิ้นปี
ลูกค้าก็จะมาชวน ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่สามารถปฎิเสธได้
ถ้าอยากให้เค้าอยากทำงานกับเรา
งานที่เราทำตอนนั้น ต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
ไม่อย่างงั้นจะทำงานยาก
เป็นอะไรที่ญี่ปุ่นมากกกก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้
เราเคยต้องไปกินเลี้ยงมากสุด
จันทร์ถึงศุกร์ ทุกวัน ติดกัน 3 อาทิตย์รวด
ช่วงนั้นคือกลับบ้านเที่ยงคืนทุกวัน….
 
💋แต่ก็ยังโชคดีที่เราไม่ได้อยู่ในสมัยที่ต้องถูกบังคับดื่มเหล้าเวลาไปกินเลี้ยง
(ซึ่งสมัยนั้นก็โหดหน้าดู เดี๋ยวรอได้คุยกับนายเรื่องนี้แล้วจะเอามาเขียนให้อ่านนะ)
เพราะฉะนั้นเราก็เน้นกินเหล้าแก้วแรกแก้วเดียวพอเป็นธรรมเนียม
แล้วที่เหลือก็เลือกเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลล์ไป
สำหรับเพื่อนผู้ชายที่จะได้รับความกดดันมากกว่าในการดื่มเหล้า
ก็ไม่อยากจะคิดว่าตับจะเป็นยังไง...
 
💋ตามปกติกินเลี้ยงก็จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชม.
หลังจากนั้นก็จะมีการไปต่อร้านที่ 2-3 ซึ่งตรงนี้แหละคือปัญหา
เพราะว่าหลายๆบริษัทมีการพาลูกค้าไปต่อในร้านที่มีผู้หญิงมาคอยบริการ
 
💋อย่างที่บริษัทเดิมเรามีเพื่อนร่วมงานที่อายุใกล้เคียงกัน(ตอนนั้นอายุ 28-29)
เค้าแต่งงานมีภรรยาแล้ว เพิ่งแต่งกันได้แค่ 1-2 ปี
ไม่ได้มีปัญหาชีวิตคู่แต่อย่างใด
แต่เค้าก็จะไม่ปฎิเสธหากลูกค้าชวนไปเที่ยวผู้หญิง
ซึ่งในที่นี้รวมตั้งแต่แบบที่ไปนั่งคุยเฉยๆ
และให้เค้าเสิร์ฟเหล้า แบบที่จับขาจับมือได้บ้าง
ไปจนแบบที่มีสามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศ
โดยทั้งหมดเค้าใช้คำว่า เป็นส่วนหนึ่งของ ‘งาน’
ตอนฟังครั้งแรกคิดในหัวว่า งานพ่องงงงง
 
💋จากเมื่อก่อนตอนอยู่เมืองไทย เห็นลุงญี่ปุ่นแก่ๆไปเที่ยวผู้หญิง
ก็แอบคิดว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิตอย่างนึง
ผู้ชายแก่ๆยังไงก็ชอบผู้หญิงสาวๆ
พอเจอแบบนี้ก็เลยเข้าใจว่า มันไม่เกี่ยวกว่าแก่หรือหนุ่ม
คนจะเที่ยวเค้าก็เที่ยวหมดแหละ
 
💋เราเคยถามเพื่อนว่า ภรรยารู้มั้ยว่าไปเที่ยวอะไรแบบนี้
เพื่อนบอกว่า คิดว่าไม่รู้ว่าเคยไปแบบที่มีเพศสัมพันธ์ได้
(มันบอกนานๆทีนะ เราก็ หรอออออออ)
แต่แบบที่ไปนั่งคุยเนี่ย เค้าไม่ได้ว่าอะไร
ไม่ได้บอกทุกครั้งว่าวันนี้ไปไหนมาบ้าง
แต่คิดว่าก็คงรู้เพราะกลับดึก
 
💋เราฟังแล้วก็กลับมาคุยกับไดกิเลย 555
ถามว่า ตอนก่อนแต่งงาน รักทางไกล
เราไม่อยู่เคยไปมั้ย
คำตอบคือ ไม่เคยไปแบบมีเพศสัมพันธ์อันนั้นไม่ทำ
แต่เคยไปแบบที่ไปนั่งคุยเฉยๆ
เราก็เลยแสดงเจตจำนงค์ชัดเจนว่า ห้ามไปอีก
ไดกิถามทันทีเลย แล้วถ้าต้องไปเพราะว่าที่บริษัทชวนล่ะ
นั่นแหละที่เราบอกว่า สังคมทำให้เจ้าชู้ได้อย่างเปิดเผย
 
💋ถามว่า ผู้ชายทุกคนเป็นแบบเพื่อนร่วมงานเราคนนั้นมั้ย
ตอบเลยว่า ไม่ค่ะ
รุ่นพี่ที่ทำงานหลายคน ออกตัวชัดเจนว่าไม่ชอบไปเที่ยวอะไรแบบนั้น
คนที่อาวุโสหน่อยก็จะสามารถปฏิเสธลูกค้าได้เพราะถือว่า
ได้สร้างความสัมพันธ์มาเพียงพอแล้ว
บางคนก็จะปฎิเสธการไปต่อร้านที่ 2-3 ทั้งหมด
เพราะรู้ว่า ถ้าไปคงยาวและแนวโน้มที่จะไปเที่ยวที่แบบนั้นก็จะเยอะ
ก็ไม่ต้องไปมันซะให้หมดเลย
 
💋ที่บริษัทเราตอนนั้น คนที่ไม่ต่อ
ก็จะมีภาพลักษณ์ว่า เค้าคนดี ต้องรีบกลับบ้าน
หรือว่าเนี่ยเค้ากลัวเมีย เมียดุ กลับดึกเดี๋ยวโดนด่า
ลับหลังก็มีการเหน็บแนมว่า เนี่ยไม่รู้จักสร้างความสัมพันธ์
มัวแต่จะรีบกลับบ้าน จะโดนเรียกว่า 付き合いが悪い
หรือแปลได้ประมาณว่า พวกไม่รักษาความสัมพันธ์
แต่คนที่ตอบรับทุกคำชวนก็จะได้รับการยกย่อง
และก็จะได้รับการคำชวนมากกว่า
 
💋มันเป็นธรรมเนียมที่เราโคตรจะไม่เห็นด้วย
จนเราเคยคุยกับนายเก่าเราเรื่องนี้เพราะเค้าชอบว่าคนในทีมตัวเอง
 
💋สำหรับเราการจะไปกินเลี้ยงหรือไม่ไปมันเป็นสิทธิส่วนบุคคล
เพราะว่ามันนอกเหนือเวลาทำงานแล้ว
ถ้าเค้าไม่ไปและพร้อมที่จะยอมรับผลกระทบว่าลูกค้าจะไม่ให้งาน
มันก็เป็นหน้าที่ของเค้าที่จะต้องไปหางานมากจากที่อื่น
ถ้าเค้าไม่ไป แต่สามารถทำยอดได้ตรงตามเป้า
ทำไมจะต้องไปด่าเค้าที่อยากกลับบ้านไปอยู่กับลูกเมียหรอ
ก็พูดประมาณนี้แต่คิดว่าคงซอฟท์กว่านี้นิดนึง
หลังจากนั้นนายก็เลยไม่บ่นให้เราได้ยินอีก 555
 
💋และจะบอกว่า การไปเที่ยวแบบนั้นนับเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้นะคะ
แม้ว่าพักหลังๆ หลายๆบริษัทเริ่มออกมาจำกัด
ไม่ให้พนักงานเคลมค่าใช้จ่ายจากสถานบันเทิงแบบนั้น
แต่บริษัทส่วนใหญ่ก็ยังอนุญาตให้เคลมได้เพราะถือว่า
เป็นส่วนหนึ่งของงาน
(งานพ่องงงงงงง)
อย่างบริษัทเก่าที่ไดกิเคยทำงาน เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน
ก็เคลมค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้หมด
 
💋ตอนนี้บริษัทที่เราทำงานอยู่ไม่มีนโยบายแบบนั้น
การไปกินเลี้ยงกับลูกค้าก็มีน้อยมากกกก
คิดว่า ในอนาคตสังคมการทำงานญี่ปุ่นก็คงจะได้รับการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
อย่างตอนนี้หลายๆบริษัทก็ต้องออกมาห้ามพนักงานจัดงานกินเลี้ยง
เพราะถ้าไม่ห้าม ก็กินกันแบบไม่กลัวโควิดใดๆ
 
💋ตอนหน้าจะมาต่อเรื่องการนอกใจภรรยานะคะ
ไดกิบอกคุณไม่มีเรื่องดีๆเขียนแล้วหรอ😁
2
โฆษณา