22 ก.พ. 2021 เวลา 18:29 • ดนตรี เพลง
เหมือนฟ้าผ่ากลางดึก เมื่อ Daft Punk ประกาศแยกตัว
1
ส่วนตัวลมเอง รู้จัก Daft Punk ครั้งแรก จาก MV Technologic ที่ฉายทาง MTV กับ Channel V ช่วงประมาณ ปี 2000กลางๆ รู้สึกว่าเอ็มวีนี้มันช่าง แปลก แต่มีเสน่ห์มาก
หลังจากนั้นก็เลยขุดงานของ Daft Punk มาฟัง จนไปเจออัลบัม Discovery ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น Masterpiece ของ Electronic Music ชิ้นนึง ที่ทำให้ชื่อของโปรดิวเซอร์ชาวฝรั่งเศส หัวโรบอทนี้กลายเป็นอัตลักษณ์ที่ทุกคนจำได้ในนาม Daft Punk
1
โดยเพลงในอัลบัมนี้ได้ถูก Cross media เป็น Animation film ชื่อ Interstellar 5555: The 5tory of The 5ecret 5tar 5ystem ที่ร่วมกันสร้างกับ Toei Animation จากญี่ปุ่น กำกับโดย Kazuhisa Takenouchi โดยใช้เพลงจากอัลบัม Discovery ทั้งหมด14เพลง ร้อยเป็นเรื่องราวในอนิเม ความยาว 1ชมครึ่ง ซึ่งดูเพลินฟังเพลินเจริญใจสุดๆ
เพลงของDaft Punk มีลักษณะของความเป็น Timeless สูง วันก่อนที่ฟังเพลง Crescendolls ยังรู้สึกทะลุมิติอยู่เลย การใช้เสียงสังเคราะห์ เพื่อสื่อ'สาร' และการเรียบเรียงต่างๆมันคือความประทับใจสำหรับเรา และแน่นอนว่าเป็นแรงบันดาลใจให้โปรดิวเซอร์ Electronic Music หลายๆคนด้วย
ย้อนกลับไปตอนที่ได้ฟัง Get Lucky ครั้งแรกตอนปี 2013 วันนั้นนึกทายเล่นๆว่าดนตรีเจ๋งดีเหมือน Daft Punkเลย แล้วก็อ้าว ใช่นี่หว่า ตอนนั้นดีใจปนลังเลว่า หายไป 8ปี หลังจาก Human After All (2005) แล้วกลับมาตอนที่กระแสEDM มันกลาดเกลื่อนมาก จะออกมาหมู่หรือจ่า
ถ้าไม่นับ Tron: Legacy (ที่ถ้าไม่ใช่ Daft Punk ก็ไม่รู้แล้วว่าใครที่จะมาทำ OST ได้เหมาะขนาดนี้) ถือว่าห่างเหินจากอัลบัมไปนานจนไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นไง ทั้งๆที่ตลอดข่วงเวลาตั้งแต่ปี 2001-2013 (และถึงปัจจุบัน) เพลงหรือคาแรคเตอร์ของ DP ยังถูกอ้างอิงถึง หรือเปิดตลอดต่อเนื่องอยู่เนืองๆ
แต่ปรากฏว่า Get Lucky ที่ได้ Pharrell William มา featuring สอยอันดับหนึ่งของแทบจะทุกชาร์ตเพลงบนโลก ขึ้นแท่นเพลงฮิตตลอดกาลในยุค 201x era ทำให้ชื่อของ Daft Punk กลับมาถูกพูดถึงในวงกว้างอีกครั้ง
แต่ก็ทำออกมาเพลงแค่ 5เพลง ปรับตามยุคสมัยที่เป็น Digital copies
จะว่าไปอัลบัมนี้เหมือนทำออกมาเตือนสติ โปรดิวเซอร์สาย electronic music ทุกคนที่กำลังกอบโกยช่วงเวลาทองของ EDM era จนผลิตผลงานที่แทบจะเรียกว่า copy- paste (เรียกแบบง่ายๆว่าใช้เท้าเขี่ย เน้นปริมาณ เน้นเร็ว เน้นง่าย) แทบจะไม่ได้มีการใช้เสียงเพื่อMood&tone ใดๆ ไม่มีmsg และ art
เพราะฉะนั้นการกลับมาของ Daft Punk ในปีนั้น ทำให้เทรนด์ Electronic Musicที่กำลังบ้าคลั่ง กลับมามีสติ และเริ่มสนใจการวางโครงสร้างเพลงให้มีความสวยงามมากขึ้น สังเกตได้ชัดเลยว่า โปรดิวเซอร์หลายคนเริ่มเน้นที่การเรียบเรียงและ Messageที่จะส่งมากขึ้น เริ่มมีความหลากหลายในชาร์ต
จะเห็นว่า Daft Punk มีอิทธิพลมาก ในElectronic Music era 20ปีผ่านมานี้ บางทีการตัดสินใจยุบวง เพื่อทิ้งผลงานไว้เป็น Legendary อาจจะดีกับ Daft Punk มากกว่าก็เป็นได้
Random Access Memories (2013)
โฆษณา