22 ก.พ. 2021 เวลา 23:59 • สิ่งแวดล้อม
นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในเมืองไทย!! คือการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แบนพลาสติกใช้แล้วทิ้งอีก 4 ชนิดนั่นคือ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง กล่องโฟม แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก โดยจะให้มีผลภายในปี 2565 
1
ที่ผ่านมา มีการยกเลิกการใช้พลาสติกไปแล้ว 3 ชนิด ได้แก่ 1)พลาสติกผสมสารออกโซ่ (Oxo) 2) พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม 3)ไมโครบีด
เรายังเชื่อว่าการแบนพลาสติกบางประเภทเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเปิดโอกาสให้วัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากมากกว่าได้เข้ามาแทนที่ และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนตัวของผู้บริโภค ให้หันมาพกพาอุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อใช้ซ้ำให้มากขึ้น
1
แต่การจะทำให้การแบนพลาสติกทั้ง 4 ชนิดเป็นจริงได้ ต้องมี Roadmap ที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุทางเลือกอย่างไร จะมีมาตรการทางภาษีมาช่วยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องมีรายละเอียดเพื่อให้การแบนมีผลจริงในทางปฏิบัติ
ถุงพลาสติกแบบหนา แก้วพลาสติกแบบหนายังคงใช้ได้ ดังนั้นจึงควรมีมาตรการออกมาควบคู่ด้วยว่า จะทำอย่างไรให้ใช้น้อยลง เกิดการใช้ซ้ำมากขึ้น เช่นมาตรการเก็บค่าถุงพลาสติก 2 บ. ค่าแก้วพลาสติก 5 บ. ซึ่งจะช่วยให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างแท้จริง
วันที่ 15 ก.พ.64 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ แผนการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกรวมถึงการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดการแบนพลาสติกดังนี้
1) ยกเลิกการใช้พลาสติก 4 ประเภท แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ในปี 2565
คณะรัฐมนตรี มีมติให้มีการ ลด-เลิกใช้พลาสติกโดยใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบบ "ร้อยเปอร์เซ็นต์" หรือหมายถึงการยกเลิกใช้อย่างสิ้นเชิง ภายในปี 2565 สำหรับพลาสติก 4 ประเภทดังนี้
- ถุงพลาสติกหูหิ้ว แบบบาง
- กล่องโฟมบรรจุอาหาร
- แก้วพลาสติกบาง
- หลอดพลาสติก
1
2) นำพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำพลาสติกกลับไปใช้ใหม่ ไม่น้อยกว่า 50% ในปี 2565
ประกอบด้วย
- ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบหนา
- บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว
- ขวดพลาสติกทุกชนิด
- ฝาขวด
- แก้วพลาสติก
- ถาด และกล่องอาหาร
- ช้อน ส้อม มีดพลาสติก
ทั้งนี้ตามแผนการดังกล่าว คาดว่า จะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกได้ 780,000 ล้านกิโลกรัม/ ปี และลดงบประมาณการกำจัดขยะมูลฝอย 3900 ล้านบาท/ปี รวมถึงประหยัดพื้นที่ฝังกลบ และกำจัดขยะมูลฝอยพลาสติก 2,500 ไร่ และลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 1.2 ล้านตัน
#bansingleuseplastic
โฆษณา