23 ก.พ. 2021 เวลา 05:15 • การศึกษา
'โควิด-19' สำหรับวงการอุดมศึกษา ได้ช่วยตั้งคำถามถึง "คุณค่าแท้จริง" ของมหาวิทยาลัย
2
โควิด-19 คือ มรสุมทำให้มหาวิทยาลัยต้องตื่นตัว ปรับตัวเร็วขึ้น . . . แต่โควิด-19 ยังเป็นเพียงมรสุมเล็ก เมื่อเทียบกับมรสุมใหญ่อีกหลายลูก ที่กำลังรออยู่ข้างหน้า เป็นความท้าทายใหม่ว่า มหาวิทยาลัยจะยัง "คุณค่า" ไว้ได้อย่างไร?
1
อุดมศึกษาไทยกำลังเจอมรสุมทั้งเล็กทั้งใหญ่...
มรสุมเล็ก คือ โควิด-19 ที่เร่งให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวสอนออนไลน์
แต่ อีกไม่นาน โควิด-19 จะบรรเทาลดผลกระทบลง จึงต้องมองไปอนาคตข้างหน้าที่ มรสุมใหญ่กำลังตามมา คือ ค่านิยมในใบปริญญากำลังหมดไป บวกกับจำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีน้อยลง
1
ที่ผ่านมา แม้ไม่มีโควิด-19 การศึกษาไทยก็ถูกท้าทายด้วยเทคโนโลยีพลิกผัน (disruptive technology) ให้ต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรให้ทัน
เมื่อยิ่งเจอกับโควิด-19 ได้เพิ่มปัญหาด้านการเงิน ทำให้งบประมาณของรัฐที่ต้องจัดสรรเพื่อการศึกษาลดลง รวมทั้งกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจะลดน้อยลงไปด้วย
1
ปัญหานี้ถูกซ้ำเติมด้วย จำนวนเด็กเกิดมีลดลงเรื่อยๆ จำนวนผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็ลดลงอีก
ดังนั้นในอนาคต (อีกไม่นาน) การมีอยู่ของมหาวิทยาลัย จะยังจำเป็น? และจะยังมีคุณค่าอะไรเหลืออยู่?
1
จะตอบคำถามนี้ หรือทำให้มหาวิทยาลัยยังมีคุณค่า ต้องกลับไปทบทวนว่ามหาวิทยาลัยเคยมีคุณค่าอะไรต่อผู้เรียน
1
คุณค่าของมหาวิทยาลัย มีอย่างน้อย 3 เรื่อง
1
1. ใบปริญญา คือ สิ่งที่จับต้องง่ายที่สุด ที่ผู้เรียน/นายจ้าง ต้องการ
2. ประสบการณ์ ทั้งได้ความรู้ ได้มิตรภาพรู้จักเพื่อน ครู อาจารย์
3. ทักษะต่างๆ
3
การมาของ โควิด-19 ได้ตั้งคำถามถึงคุณค่าทั้ง 3 นี้ คือ ความจำเป็นของใบปริญญา ที่แม้มีก็ยังหางานทำได้ยาก
4
ประสบการณ์ที่จะได้จากการรู้จักเพื่อน ซึ่งได้พบปะ แลกเปลี่ยน ภายในสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยก็เป็นไปได้ยากเมื่อมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องสอนออนไลน์
1
การสอนออนไลน์ ยังส่งผลให้การสอนทักษะบางอย่าง โดยเฉพาะหากต้องปฏิบัติ มีประสิทธิภาพน้อยลง ไม่เท่าการสอนในห้องเรียนจริง
2
ดังนั้นแล้ว มหาวิทยาลัยจะยังเหลือคุณค่าอะไร?
1
อีก 10 ปีข้างหน้า มรสุมใหญ่คือ โครงสร้างประชากรของไทย จำนวนเด็กเกิดใหม่จะลดลงอีกจำนวนมาก
2
มหาวิทยาลัยจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากเรื่องนี้ การประมานการณ์ของ ทีดีอาร์ไอ พบว่าจะกระทบมหาวิทยาลัยไทยแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน
1
มหาวิทยาลัยวิจัย (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่จำกัดจำนวนผู้เรียน) จะยังรักษาจำนวนนักศึกษาได้
3
มหาวิทยาลัยเอกชน กำลังปรับตัวรับเรื่องนี้ จะยังทรงๆ พอรับมือกับจำนวนนักศึกษาที่น้อยลงได้
แต่มหาวิทยาลัยราชภัฏในหลายจังหวัด และมหาวิทยาลัยเปิด จะถูกกระทบอย่างมาก
1
ปัญหานี้อาจทำให้มหาวิทยาลัยที่ยังคงไปรอด พยายามเปิดรับนักศึกษามากขึ้น และอาจส่งผลต่อคุณภาพการคัดเลือก จนถึงการศึกษา และการทำงานจริง
ดังนั้น ภายใน 10 ปีนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องทบบวนคุณค่าที่เคยมี โดยต้องสร้างทักษะ ให้ใช้ได้จริง (ดูเพิ่มเติมที่ https://tdri.or.th/2021/02/thinkx_384/)
เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น มหาวิทยาลัยกลับมาเปิดได้ ต้องมีกิจกรรมเพิ่มประสบการณ์ให้นักศึกษา เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ใบปริญญา
ภายใน 10 ปี หากมหาวิทยาลัยปรับตัวได้ทัน คุณค่าของมหาวิทยาลัยจะยังอยู่ และยังเป็นที่ต้องการของผู้เรียน ทักษะที่ได้จะสามารถนำไปใช้งาน ตอบโจทย์นายจ้าง การแข่งขันและพัฒนาประเทศ
1
เพิ่มเติมใน https://tdri.or.th/2021/02/thinkx_385/ โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
1
โฆษณา