23 ก.พ. 2021 เวลา 09:26 • ปรัชญา
บริหารแบบอัจฉริยะ “โจโฉ”
โจโฉ ผู้นำแคว้นวุยก๊ก ที่ครอบครองพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในยุคสามก๊ก สไตล์การบริหารของโจโฉ เป็นตัวอย่างที่ดีของระบบบริหารคน ซึ่งเป็นระบบที่คัดกรองคนเข้าทำงาน และโปรโมตให้มีอำนาจ โดยดูความรู้ ความสามารถและผลงาน ซึ่งเกิดจากพรสวรรค์ สติปัญญา ผนวกกับความขยันในการทำงานและศึกษาหาความรู้ โจโฉไม่สนใจว่าคุณเกิดในตระกูลผู้ดีมีเงิน หรือมีเส้นสายใหญ่โต ขอให้เป็นคนเก่ง มีความสามารถโจโฉพร้อมรับคุณเข้าทำงาน เมื่อเข้ามาทำงาน โจโฉมีระบบการประเมินผลงาน คนที่ทำผลงานได้อย่างโดดเด่น สม่ำเสมอ จะได้รับความไว้วางใจให้ทำงานใหญ่ ถูกยกย่องในองค์กร และถูกปูนบำเหน็จอย่างเต็มที่ ทำให้ขุนพลในแคว้นวุยก๊ก ต่างแข่งขันกันสร้างผลงาน จะเห็นได้ว่า ขุนพล ของโจโฉจะแข่งขันแย่งกันทำงานกันอย่างเข๊มแข่ง แม้ยามงานไม่สำเร็จ ก็จะยอมรับถึงสาเหตุและพร้อมยอมให้ โจโฉ ทำโทษ
นอกจากนี้ โจโฉอาจถือเป็นผู้นำคนแรก ๆ ในประวัติศาสตร์จีน ที่นำกระบวนการ ในการตัดสินใจด้านการศึก รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์และวางแผน จะให้คณะที่ปรึกษาและขุนศึกแบบ “ฟูลทีม” นำเสนอไอเดียและดีเบตกันอย่างเต็มที่ โดยโจโฉจะเคาะคนสุดท้าย ว่าจะดำเนินการอย่างไร และโจโฉ ยังมีจดหมายบอกแผนลับให้ดำเนินการ เหมือนประตูฉุกเฉินให้ลูกน้องด้วย
โจโฉเป็นคนที่คิดการใหญ่ มีเป้าหมายชัดเจน บ้างที่จะถึงมาก กล้าได้กล้าเสีย หลายครั้งที่เสี่ยงตายเองไม่ว่าจะลอบสังหารตั๋งโต๊ะ หนีม้าเฉียว ขอร้องกวนอู เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตต่อเพื่อสร้างงานใหญ่ได้ต่อ ซึ่งผลของความเสี่ยงนั้นมันทำให้คุ้มค่ามากๆ
โจโฉ ฝึกลูกน้องในการออกรบสมรภูมิจริง โดยมองข้ามการพ่ายแพ้เป็นประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็น ศึกทุ่ง พ่กบ่อง ศึกผาแดง โจโฉจะไม่เสียใจนาน และพร้อมปลุกใจลูกน้อง และให้ลูกน้องสั่งสมประสบการณ์ เช่น
- จิวยี่ เสียถ้า โจหยิน
- ซุนกวน พ่ายแก่ เตี๊ยวเลี๊ยวตลอด
โจโฉ ยอมแลกเบี้ยเพื่อ กินขุน เช่น ยอมฆ่าพ่อครัว เพื่อบุกต่อ สไตล์พระเจ้าตากทุบหม้อข้าว (บ้างคนมองโจโฉว่าโหดเหี๊ยมไร้ศีลธรรม) แต่การรบย่อมมีการสูญเสียเสมอ
โจโฉ เอาสตรีมาเป็นแรงกระตุ้นให้ตัวเองอยากชนะ (อันนี้ต้องฟังหูไว้หู) เช่น กรณี เสียลูกน้อง และโจงั๊กเพราะไปชอบแม่หม้าย
โฆษณา