23 ก.พ. 2021 เวลา 17:03 • หนังสือ
ชื่อหนังสือ : ln Theories ในความรักเราต่างเป็นนักทฤษฎี
ผู้เขียน : กิตติพล สรัคคานนท์
สำนักพิมพ์ : SALMONBOOKS
ราคาหนังสือ : 195
จำนวนหน้า :160
ความรักเป็นสิ่งที่ซับซ้อน ซ่อนเร้น บ้างครั้งมีคนมาปรึกษาหาทางออกทางความรักกับเรา เราต่างแนะนำเสมือนว่าเข้าใจความรักแท้จริง แต่พอเจอเข้ากับตัวเราเองก็หมดหนทาง
บ้างครั้งเราก็ดูเหมือนจะเป็นนัก "ทฤษฎี" ที่เก่งมากทางความรัก
แต่เรากลับตกม้าตายในทาง "ปฎิบัติ" ในความรัก
.
ในหนังสือได้กล่าวถึงความรักในหลากหลาย รูปแบบด้วยกันไม่ว่าจะ
-ความรักในช่วงศตวรรษ 19 ความรักถูกโยงเข้ากับโลกอุดมคติที่เกิดจากการแต่งงานและการสร้างครอบครัว คืออเกี่ยวเนื่องกับ ระะบบทุนนิยมในสมัยนั้น
-ในช่วงยุคต้นศตวรรษ 20 ความรักถูกโยงเข้ากับความต้องการบริโภคสินค้าต่างๆ ร่วมถึงความเป็นครอบครัวที่มีอุปกรณ์ครัวและสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านครบครัน
ความรักที่ไม่ได้วางอยู่บนปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ถูกมองว่าเป็น"ความรักจืดจาง"
-หรือความรักอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เราหลงรักคนที่คล้ายกับเรา หรือเรียกว่าตัวตนเราอีกคนหรือ คล้ายกับเป็นสำเนาตัวเราเอง
โซเรน เคียร์เดอการ์ด : นักเขียน ได้เสนอ (ความรักในฐานะพันธกิจ)
ได้จำแนกความรักออกเป็น 3 ประเภท
1.ความรักในพระเจ้า เป็นความรักเเบบสูงส่งในเชิงศาสนา นั้นคือรักนิรันดร์
2.รักเพื่อกามารมณ์ ที่เกิดขึ้นระหว่างปัจเจกบุคคล
3.รักฉันท์พี่น้องพ้องเพื่อน
ซึ่ง โซเรนฯ มองว่ารักแบบแรกนั้นดีที่สุด เพราะมันทำคนเราเท่าเทียมกัน
ซิกมันด์ ฟรอยด์
-การรักแบบแทนที่นั้นมาจากแนวคิด (ซิกมันด์ ฟรอยด์ : นักจิตวิทยา) การที่เราพูดคุยหรือให้คำปรึกษา อาจลงเอยด้วยการเกิดความรัก อธิบายเพิ่มเติมว่า ความรักที่เกิดขึ้นกับ ฟรอยด์และคนไข้ที่มาทำการรักษากับเขานั้น มันเป็นความรักระหว่างคนไข้กับคนที่เธอ/เขาคิดว่าเข้ามาแทนที่ ผ่านความห่วงใย เอาใส่ และช่วยเหลือ เป็นต้น
.
และยังมีความสัมพันธ์ที่อาจเรียกว่าความรักได้ ในอีกหลายแบบหลายมุม ผมขอจบไว้แค่นี้ก่อน ส่วนท่านใดสนใจก็ลองหาซื้อหนังสือไปอ่านต่อกันดู
สรุปแล้ว ความรักเริ่มต้นอย่างไร และจบอย่างไร ?
มารี-ออรี แบ็ล (สต็องดาล) นามปากกา
ในศตวรรษที่ 19 หรือในปี 1822 มารี-ออรรี แบ็ล นักเขียนฝรั่งเศษ ผู้ใช้นามปากกาว่า : สต็องดาล ได้กล่าวถึงความรักไว้อย่างเรียบง่าย อย่างสมเหตุสมผลและมีความเป็นนักคณิตศาสตร์ ซึ่งได้แบ่งความรักออกเป็น 4 ประเภท
1.ความรักอย่างสุดจิตสุดใจ : ความรักอย่างหมดใจ แม้ว่าจะไม่ได้รับความรักกลับมา
2.ความรักแบบจารีตนิยม : ความรักประเภทนี้จะพัฒนาไปสู่ความรักแท้ได้ยากเพราะวางอยู่บนฐานของการคิดคำนวณถึงประโยชน์มากกว่าความรู้สึก
3.ความรักทางกายภาพ : ความต้องการเพศสูง
4.ความรักเพื่อแสดงความเหนือกว่า : เหมือนการได้ครอบครองม้า มีความสุขเมื่อเราได้สิ่งที่เราปรารถนา ความรักเช่นนี้อาจจะก่อเกิดความสุขได้ก็เมื่อนำพาเราไปสู่ความรักเชิงกายภาพ แต่ความสุขจะค่อยๆหายไป เมื่อมันกลายเป็น "ความเคยชิน"
กล่าวทิ้งท้ายว่า แทนที่เราจะแยกแยะความรักออกเป็น 4 แบบ อย่างที่เขาสรุป มนุษย์สามารถผสมรัก รูปแบบและสีสันของความรักที่แตกต่างกันได้ถึง 8 หรือ 10 เฉดสีด้วยกัน.
เฉกสีต่างๆ เปรียบได้เหมือนความรักที่ไร้รูปแบบ
.
“เพราะมนุษย์สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกที่มีระดับแตกต่างกันได้เหมือนกับที่สามารถมองเห็นและจำแนกความแตกต่างของเฉดสี”
นอกจากนี้แล้วสิ่งที่สำคัญในแนวคิดของ สต็องดาล คือ การก่อรูปอุดมคติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน
1.เรานิยมชอบใครสักคน
2.เสียงในใจบอกว่า จะดีแค่ไหนถ้าเราได้อยู่ใกล้เธอ
3. การได้ใกล้ชิดก่อสร้าง “ความหวัง” แม้ว่าจะเป็นความหวังอันน้อยนิด
4. ความรักเริ่มก่อตัวขึ้น
5.การก่อรูป อุดมคติครั้งแรก
6. เริ่มเกิดความสงสัย
7.การก่อรูป อุดมคติครั้งสอง
.
สต็องดาล อธิบายเพิ่มเติมว่าในแต่ละขั้นตอนทำงานยังไงและมีระยะเวลาเท่าไร
ขั้น 1-2 เวลาร่วม 1 ปี
ขั้น 2-3 ร่วมเดือน แต่ถ้าหาก 2 ไม่ไปสู่ 3 ก็จะเกิดความทุกข์
ขั้น 3-4 เพียงอึดใจ
ขั้น 4-5 เป็นช่วงสืบเนืองต่อกัน
ขั้น 5-6 ไม่กี่วัน
ขั้น 6-7 ไม่มีช่องว่างระหว่าง
.
นี้ก็เป็นความพยายามที่จะทำความเข้าใจความรักในห้วงเวลาที่จิตวิทยา หรือความรู้ด้านประสาทวิทยายังไม่ก่อดำเนิน ดังนั้นสิ่งที่เขาคิดและเขียน จึงเป็นความรู้เชิงประสบการณ์ในยุคสมัยนั้น เป็นทฤษฎีของนักปฎิบัติที่ล้มเหลวในการปฎิบัติการครั้งสำคัญ เพื่อจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อตอบคำถามง่ายๆว่า “ทำไมเธอจึงไม่รักเขา”
.
เราอาจจะไม่ได้”รักเก่ง”กว่าเดิมหลังจากอ่านจบ
แต่เราอาจจะ “เก่งรัก” มากกว่าเดิม เพราะได้เติมทฤษฎีรักใหม่ๆเข้าไป
.
รักที่ดี ต้องเกิดจากการเข้าใจ โดยเข้าใจว่าทุกคนต่างเป็นนักทฤษฎี
.
ความรักเป็นสิ่งสวยงาม เหมือนดอกไม้ที่แตกต่างสายพันธุ์แต่เราก็ชื่นชมมันในแบบที่มันเป็น
.
สุดท้ายผมคิดว่า อย่าเสียดายที่จะรัก เพราะเราอาจพลาดโอกาสในการเจอรักที่ใช่
“ศัตรูของความรักคือการหลงตัวเอง”
ความรักอาจจะเสี่ยงและอาจถูกคุมคามได้ ในสังคมปัจจุบันเพราะในยุคที่มี เว็บไซต์หาคู่ , Tinder หรืออื่นๆ ทำให้เราอาจจะค้นพบโดยไม่ต้องค้นหา ความรักในช่วงเวลาที่ผ่านๆมา อาจจะทำให้เราเจอคนที่ใช่ ที่คล้าย ที่ตรงตามที่เราต้องการมากขึ้น
นั้นอาจจะเป็น'ข้อดี' ที่ทำให้เราเองไม่ต้องเสียเวลา
ส่วน'ข้อเสีย' ผมมองว่า มันทำให้เราพลาดที่จะได้สัมผัสรัก ได้ลองรัก ได้ลองล้มเหลว ลองอกหัก ค่อยๆเรียนรู้ และเติมโต รักก็เหมือนการผจญภัย
โฆษณา