24 ก.พ. 2021 เวลา 11:57 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิธีลงทุนหุ้น(ไทย) ด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจ
เริ่มต้นด้วยการฟื้นตัวหลังผ่านพ้นวิกฤติ ตามมาด้วยการเติบโตอย่างน่าตื่นเต้น
ขึ้นสู่จุดรุ่งเรืองสูงสุด ก่อนจะเริ่มหดตัว จนก่อเกิดวิกฤติอีกรอบ นี่คือเรื่องราวภายใต้สัจธรรม “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” ที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ จนเป็น ‘วัฏจักร’
1
ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นับเป็นจุดสิ้นสุดของวัฏจักรรอบก่อน และได้เริ่มต้นอีกวัฏจักร ซึ่งแน่นอนว่าวัฏจักรรอบใหม่ที่กำลังเริ่มขึ้นต้องมีวันจบลง
แต่กับนักลงทุนแล้ว เป้าหมายหลักคือ จะลงทุนอย่างไรให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงของวัฏจักร?
1. เศรษฐกิจมีขึ้นมีลง เหตุและผล
ไม่ว่าจะเปิดตำราเล่มไหนก็จะบอกเหมือนกันว่าวัฏจักรเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ประกอบด้วย ถดถอย (Recession) เริ่มฟื้นตัว (Early Recovery) ฟื้นตัวสูงสุด (Full Recovery)
และเริ่มถดถอย (Early Recession) ซึ่งมีหลายปัจจัยที่สามารถนำมาใช้แบ่งระยะของเศรษฐกิจ เช่น อัตราการขยายตัวของ GDP อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ย
1
ขณะเดียวกันตลาดหุ้นก็มีวัฏจักรซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ช่วง คือ จุดต่ำสุด (ฺBottom)
ขาขึ้น (Bull Market) จุดสูงสุด (Top) และขาลง (Bear Market) ตลาดหุ้นเคลื่อนไหวด้วยความคาดหวังของนักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งการซื้อขายกันบนความคาดหวังทำให้แต่ละช่วงวัฏจักรของตลาดหุ้นเกิดขึ้นก่อนหน้าเศรษฐกิจ
2
Source: tradingacademy.com as of 31/12/2020
2. เศรษฐกิจถดถอย / ตลาดหุ้นต่ำสุด และเริ่มเป็นขาขึ้น
1
ช่วงเศรษฐกิจถดถอย ติดตามสัญญาณได้จากตัวเลข GDP หดตัวต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ไตรมาสติดต่อกัน อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง และแตะระดับต่ำที่สุด
เมื่อตัวเลขที่กล่าวมาทั้งหมดเริ่มทรงตัว ซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึง ก็จะรู้ตัวแล้วว่ากำลังเผชิญกับ
วิกฤติอะไรอยู่
3
ช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยจนกำลังจะแตะระดับต่ำสุด ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวลงมาก่อนหน้านั้น
แล้ว จากนั้นเคลื่อนไหวในกรอบพร้อมเริ่มมีแนวโน้มขาขึ้นท่ามกลางข่าวร้าย ซึ่งช่วงนี้กลุ่ม
ธนาคาร มีความน่าสนใจ ด้วยเหตุผลก็อย่างที่กล่าวไปว่าตลาดหุ้นเป็นตลาดแห่งความ
คาดหวัง ดังนั้นตลาดหุ้นจึงมองไปถึงช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว ซึ่งธนาคารจะได้รับประโยชน์จากการปล่อยกู้ในช่วงก่อนหน้า
2
เมื่อเศรษฐกิจแตะระดับต่ำที่สุด หุ้นกลุ่มอสังหาฯ ยานยนต์ และขนส่ง เป็นกลุ่มที่เหมาะสมกับการสะสมเข้าพอร์ตการลงทุน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยแตะระดับต่ำสุดในรอบ
วัฏจักร ผู้ประกอบการและผู้บริโภคจึงกู้เงินที่มีดอกเบี้ยต่ำเพื่อลงทุนขยายกิจการ หรือใช้จ่ายกับสินค้าคงทน เช่น อสังหาฯ ยานยนต์
2
3. เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว / ตลาดหุ้นขาขึ้น
ตำรามักจะกล่าวว่าเป็นช่วงที่สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการขยายตัวทั้งเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
เมื่อตัวเลข GDP ที่กลับมาขยายตัว อัตราการว่างงานลดลง และที่สำคัญ นั่นคือเป็นภาวะที่ ‘ดอกเบี้ยต่ำและมีเงินเฟ้ออ่อนๆ’
2
ช่วงนี้รายได้จะเพิ่มขึ้นส่งผลให้การบริโภคภายในฟื้นตัว ซึ่งส่งผลดีต่อกลุ่ม ค้าปลีก โรงแรม
ร้านอาหาร ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง เมื่อฟื้นตัวได้ระยะหนึ่ง การลงทุนจากเงินที่กู้ยืมไปช่วงก่อนหน้าประกอบกับการบริโภคภายในที่ฟื้นตัว ทำให้ต้องเพิ่มกำลังการผลิตในภาค
อุตสาหกรรม ซึ่งกลุ่มนิคม จะได้รับประโยชน์
3
4. เศรษฐกิจฟื้นตัวสูงสุด / ตลาดหุ้นปลายขาขึ้นจุดสูงสุด และเริ่มขาลง
เป็นช่วงที่จะเห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับดีที่สุดของรอบวัฏจักร ไม่ว่าจะเป็น GDP
เติบโตด้วยอัตราสูงที่สุด อัตราการว่างงานลดลงแตะระดับต่ำที่สุด อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องจากช่วงก่อนที่อุตสาหกรรมเพิ่มกำลังการผลิต ความต้องการวัตถุดิบย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หนุนกลุ่มพลังงาน และโลหะที่เป็นวัตถุดิบ ดังนั้นหากหุ้นกลุ่มดังกล่าวทำผลตอบแทนโดดเด่นในตลาด นั่นหมายความว่าตลาดหุ้นขึ้นสู่ระดับสูงสุดแล้ว
1
5. เศรษฐกิจเริ่มถดถอย / ตลาดหุ้นขาลง
เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องจนอัตราการเติบโตเริ่มไม่เปลี่ยนแปลง และมีสัญญาณการลดลงอีกด้วย นอกจากนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อสร้างแรงกดดัน
ด้านภาระการเงินต่อภาคธุรกิจ ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปตัวเลขเศรษฐกิจจะเริ่มแย่ลง
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ตัวเลขการบริโภคลดลง ข่าวเชิงลบเพิ่มขึ้น ธุรกิจหลายกลุ่มที่ได้ประโยชน์ไปในช่วงก่อนหน้าเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว
ในช่วงที่มีสัญญาณชะลอตัว ข่าวเชิงลบเพิ่มขึ้น นักลงทุนย่อมมองหาธุรกิจที่รายได้และกำไรมีความแน่นอน มีอัตราการปันผลที่สูง เช่นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4
และชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงไฟฟ้า อาหาร
จากนั้นเศรษฐกิจก็ถดถอยไปเรื่อยๆ จนแตะระดับต่ำที่สุด อันเป็นจุดสิ้นสุดรอบวัฏจักรเก่า
และเริ่มวัฏจักรใหม่อีกครั้ง
1
ทำไมวัฏจักรของหุ้นกับเศรษฐกิจถึงแตกต่างกัน?
นั่นเป็นเพราะนโยบายการเงิน ทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยและการทำ QE ซึ่งเริ่มมีบทบาทใน
ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ที่มีผลต่อต้นทุนการเงินของบริษัท การประเมินมูลค่าสินทรัพย์
หรือแม้กระทั่งความน่าสนใจเชิงเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์การเงิน
ตัวอย่างผลของนโยบายการเงิน เช่น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวร้อนแรงจนเกินไป ธนาคารก็ปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะไปกดดันตลาดหุ้น หรือในระยะหลังที่เมื่อเกิดวิกฤติแล้วธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนไม่สามารถปรับลดได้อีก จึงทำ QE หรืออัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวก่อนเศรษฐกิจอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีนโยบายการคลังเป็น
อีกปัจจัยที่ทำให้วัฏจักรของหุ้นและเศรษฐกิจแตกต่างกัน โดยเฉพาะการขาดดุลการคลัง
ไม่ว่าจะเป็น ลดการเก็บภาษีหรือเพิ่มงบภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ชอบ "กดถูกใจ" ใช่ "กดแชร์"
แล้วพบกับบทความดี ๆ จาก SkillLane อีกมากมาย
กดติดตามไว้ได้เลย!
โฆษณา