24 ก.พ. 2021 เวลา 12:21 • หนังสือ
🤖 รีวิวหนังสือ AI Superpowers : หนทางอยู่รอดของมนุษยชาติเมื่อ AI เข้ามาเปลี่ยนโลก ! 🤖
2
🌟 AI Superpowers 🌟
2
China, Silicon Valley and the New World Order 🇨🇳🇺🇸
2
เขียนโดย Kai-Fu Lee
2
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่พูดถึง “AI (Artificial Intelligence)” ที่ได้รับการแนะนำจากหลาย ๆ คนว่าดีมาก ๆ โดย หนังสือเล่มนี้เขียนมาตั้งแต่ปี 2018 แล้วแต่เนื้อหาก็ยังถือว่าค่อนข้างทันสมัยอยู่ ข้อมูลทางสถิติหรือตัวเลขต่าง ๆ ก็คงเปลี่ยนไปบ้างครับ
3
ซึ่งที่น่าสนใจเพราะผู้เขียนนั้น คือ Kai-Fu Lee บุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่คร่ำหวอดมากที่สุดคนหนึ่งในวงการ AI เลยก็ว่าได้ โดยเค้าเคยทำงานทั้งที่ Apple, Microsoft แถมเคยเป็นประธานของ Google China อีกด้วยครับ และในปี 2009 เค้าออกมาตั้งบริษัท Venture Capital ที่ชื่อว่า Sinovation Ventures ทำให้เค้าเองมีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับพัฒนาการของ AI ทั้งในสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดและเข้มข้นในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเงิน นวัตกรรม หรือกระทั่งกีฬาครับ
1
ในตอนแรกผมเองก็คิดว่าหนังสือจะเล่ารายละเอียดของ AI ในเชิงเทคนิคซึ่งน่าจะทำให้คนบ้าน ๆ แบบผมเข้าใจได้ยาก 😂 แต่พอได้ลองอ่านดูแล้ว มันไม่ใช่เลยครับ !
2
เค้าเล่าถึงวิวัฒนาการของ AI ได้แบบเข้าใจง่าย แถมประเด็นของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า AI มันพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการมาอย่างไร แต่เป็นการชี้ประเด็นให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้นี้สังคมมนุษย์จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร รวมถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อ AI มีการขยายขอบเขตและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะทำให้งานและอาชีพต่าง ๆ ที่มนุษย์เราทำอยู่นั้นโดน AI มาแทนที่ไปในที่สุด มาถึงจุดนี้แล้วสงสัยกันมั้ยครับ ว่าแล้วมนุษย์เราจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร…? 🤨
3
……………..
2
“Sputnik Moment” 🚀
ผู้เขียนเล่าว่าเมื่อก่อนนั้นอเมริกาเป็นเหมือนเจ้าแห่งเทคโนโลยีและ AI แต่เพียงผู้เดียว โดยอย่างที่เราทราบกันดีว่าที่อเมริกานั้นมี “Silicon Valley” ที่เป็นเหมือนแหล่งกำเนิดพวก startups และ Tech Company ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ตั้งแต่ Google, Facebook และอีกมากมาย โดยในตอนนั้นประเทศจีนนั้นยังไม่ได้มีความสนใจในเรื่อง AI เลย
1
แต่มาวันนึงมีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแนวความคิดของประเทศจีนโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นปี 2017 ที่มีการจัดการแข่งขันการเล่นโกะ โดยใช้ “Alpha Go” ที่เป็นคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Google (จริง ๆ ทาง Google ไปเทคโอเวอร์มาจาก startup ที่ชื่อว่า DeepMind) มาแข่งขันกับแชมป์โกะอันดับ 1 ของโลกจากประเทศจีนคือ เคอ เจี๋ย (Ke Jie) โดยอย่างที่เราทราบกันว่าแชมป์อย่างเคอ เจี๋ยนั้นแพ้ไปอย่างราบคาบ 🙀
2
การพ่ายแพ้ของมนุษย์ต่อคอมพิวเตอร์ไม่เพียงแต่เป็นการส่งสัญญาณถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีจากโลกตะวันตก แต่มันบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ในเรื่องของ AI จากฝั่งอเมริกา ซึ่งไปกระตุกต่อมให้จีนยอมไม่ได้และตั้งเป้าพัฒนา AI อย่างจริงจังนับแต่นั้นมา….
โดยผู้เขียนเปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้กับเหตุการณ์เมื่อปี 1957 ที่ทางสหภาพโซเวียต (หรือที่เราเรียก ๆ กันง่าย ๆ ว่ารัสเซียนี่แหละครับ) สามารถส่งดาวเทียมดวงแรกออกไปนอกโลกได้ ชื่อว่า “Sputnik” 🚀 ซึ่งเหตุการณ์สำคัญของโลกครั้งนั้นทำให้อเมริกาตื่นตัวและพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีอวกาศและดาวเทียมอย่างจริงจัง โดยก่อตั้งองค์การ NASA ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทางรัฐบาลจนทำให้ 12 ปีให้หลังทางอเมริกาสามารถส่งมนุษย์คนแรกขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์ได้สำเร็จ ! 🌒
3
โดยหลังจากการแข่งขันโกะครั้งนั้นนั้น รัฐบาลจีนก็ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางของ AI ของโลกภายในปี 2030 โดยได้ทุ่มทั้งเงินทุนและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนมาพัฒนาในเรื่องนี้อย่างจริงจังเป็นวาระแห่งชาติ! (อิจฉาแทนจริง ๆ ครับ)
2
……………..
“Deep Learning” 💻
1
ขอเล่าย้อนกลับไปนิดนึงว่า AI นั้นโดยพื้นฐานมีอยู่ 2 แบบคือแบบ “Rule based approach” ซึ่งเป็นแบบรับคำสั่งง่าย ๆ เหมือนว่าถ้าเป็นอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้ อีกแบบคือ “Neutral networks approach” ซึ่งจะถูกสร้างให้คล้าย ๆ กับสมองมนุษย์ โดยมีการใส่ข้อมูลเข้าไปเรื่อย ๆ ให้มันจดจำรูปแบบต่าง ๆ ที่เราใส่ไปจนกระทั่งมันเรียนรู้และสามารถให้คำตอบเราหรือตัดสินใจได้เอง ซึ่งหลักการนี้มีชื่อเรียกใหม่ว่า “Deep learning”
3
การจะทำ Deep learning นั้นต้องอาศัยการใส่ข้อมูลเข้าไปจำนวนมากรวมถึงมีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถคิด คำนวณได้เร็ว ซึ่งตัว Alpha Go ที่พูดถึงข้างต้นก็เป็น Deep learning ตัวหนึ่งนั่นเองครับ
ซึ่งผู้เขียนได้บอกว่าในปัจจุบันนี้ Deep learning technology ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว ปัจจุบันไม่ใช่ยุคแห่งการคิดค้นพัฒนาหรือ “Age of Discovery” อีกต่อไปแล้ว ซึ่งเปรียบเหมือนกับการค้นพบกระแสไฟฟ้า ที่ทุกวันนี้เรียกว่า ยุคของการนำไปประยุกต์ใช้ “Age of Implementation”
4
นอกจากนี้ยังเป็นการเปลี่ยนถ่ายจาก ”Age of expertise”ยุคที่ใช้ความเชี่ยวชาญ มาเป็น “Age of data” เนื่องจากว่าปัจจัยหลักที่จะทำให้ AI นั้นประสบความสำเร็จมีอยู่ 3 อย่างได้แก่
2
📍Big Data ข้อมูลที่มหาศาล
📍Computing Power ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์
📍AI Algorithm Engineer บุคลากรหรือวิศวกรที่จะมาพัฒนา
……………..
“Advantage of China” 🇨🇳
1
👉🏻 ข้อได้เปรียบเลยที่สำคัญของจีนในการพัฒนา AI ก็อย่างที่เราทราบ ๆ กันคือด้วยความที่ประชากรเค้าที่เยอะที่สุดในโลก และเรื่องของ privacy ที่ไม่มีประเด็นเหมือนกับทางอเมริกาและยุโรป ทำให้จีนมีข้อมูลมหาศาลที่คนอื่นจะเทียบไม่ได้เลย
1
👉🏻 นอกจากนี้ในประเทศจีนมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดทำให้ผู้ประกอบการของจีนที่จะอยู่ระดับท้อปได้นั้นต้องแข็งแกร่งมาก ๆ โดยการแข่งขันที่ดุเดือดนี้นับรวมถึงการที่จีนยอมรับการลอกเลียนแบบ หรือ การก็อปปี้นั่นเองทำให้มีคู่แข่งที่ทำของประเภทเดียวกันเยอะมาก ๆ ทำให้ผู้ประกอบการที่จะเอาชนะเป็นเจ้าตลาดได้ต้องทำงานหนัก มีความโดดเด่นแล้วก็แกร่งมาก ๆ นั่นเองครับ
4
👉🏻 อีกทั้งเนื่องจากจีนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างมากในเรื่องของการทำ startup และพัฒนา AI ด้วยความที่เป็นพี่จีนเมื่อรัฐบาลประกาศอะไรเป็นวาระแห่งชาติ ทุกอย่างดูเหมือนจะไปได้รวดเร็วแบบไม่ติดเบรคเลยเสียด้วย ซึ่งผู้เขียนมองว่าข้อได้เปรียบเหล่านี้จะทำให้ในที่สุดจีนจะแซงหน้าอเมริกาในเรื่องของ AI อย่างแน่นอน 😲
4
ในปีที่เขียนนั้น (2018) ถ้าถามว่าจีนตามหลังอเมริกาอยู่เท่าไหร่ในเรื่องของการพัฒนา AI นั้น ผู้ประกอบการชาวจีนหลายคนตอบแบบติดตลกว่า ก็ตามอยู่แค่ 16 ชั่วโมง ซึ่งหมายถึงเวลาที่แตกต่างกันระหว่างจีนกับอเมริกาเท่านั้นเอง! (5555) 🤣
6
……………..
“Why Silicon Valley Giants Fail in China”
ยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ที่พยายามจะมายึดตลาดในจีนต้องมาตกม้าตายมากมาย เนื่องจากการมองว่าจีนเป็นเพียงแค่ตลาดส่วนหนึ่งในตลาดทั้งโลก จึงไม่ได้ทำการลงทุนและทุ่มทรัพยากรต่าง ๆ มาปรับปรุงสินค้าและบริการให้เข้ากับตลาดจีนมากพอ ไม่เหมือนกับผู้ประกอบการของจีนเองที่ทุ่มสุดตัวในการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อแข่งขันในตลาดที่ “ไม่ฆ่าเค้าเราก็จะถูกฆ่าเอง” 😱
2
และเนื่องด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน บริษัทจากฝั่งของ Silicon Valley นั้นจะเน้นสิ่งที่เค้าเรียกว่า “pure innovation” คือเน้นการคิดค้นอะไรใหม่เป็น “mission driven” ประมาณว่าเน้นภารกิจ การคิดค้นอะไรใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนโลกอะไรทำนองนั้น ในขณะที่ทางฝั่งจีนนั้นเน้น “market driven” เป้าหมายหลักคือการทำเงินนั่นเอง โดยไม่ได้คิดมากถึงเรื่องที่ว่าต้องคิดอะไรเอง ทำอะไรใหม่เท่านั้น
4
อีกทั้งแนวทางการพัฒนา product ของทางฝั่งอเมริกาจะเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มอันหนึ่งขึ้นมาโดยใช้เหมือนกันทั้งโลก โดยไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน หรือ “tailor made” ให้เข้ากับสังคมนั้น ๆ อีกทั้งยังไม่ได้ลงทุนมากมายไปกับการต่อยอดธุรกิจไปหา “user” ซึ่งต่างกับผู้ประกอบการของจีนที่นอกจากทำแพลตฟอร์มขึ้นมาแล้วยังต่อยอดไปทำธุรกิจแบบครบวงจร อย่างเช่น WeChat ที่เป็น “Super App” ที่มีตั้งแต่การแชท การจ่ายเงิน การสั่งอาหาร การสั่งซื้อของผ่าน application เป็นต้น
2
……………..
“Mobile Leapfrog” 📱
ในช่วงแรก ๆ ที่ทางฝั่งจีนเน้นการก็อปปี้ของจากทางฝั่งอเมริกาอยู่นั้น คนจีนส่วนใหญ่ยังเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ได้ยาก เนื่องจากคอมพิวเตอร์ยังมีราคาที่สูง โดยเมื่อปี 2010 มีแค่ 1 ใน 3 ของประชากรจีนเท่านั้นที่ได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ต
หลังจากทางจีนมีการพัฒนาสมาร์ทโฟนราคาถูกขึ้นมาก็ทำให้คนจีนจำนวนมากสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งจุดนี้เป็นจุดก้าวกระโดดสำคัญเลยที่เปิดโอกาสให้บริษัท startup ทั้งหลายกระโดดเข้ามาเล่นในตลาดขนาดใหญ่นี้ โดย ณ ปัจจุบันมียักษ์ใหญ่ 3 เจ้าได้แก่ Baidu, Alibaba แล้วก็ Tencent (ที่เค้าเรียกกันว่า “BAT”) โดยแอปพลิเคชันอย่าง WeChat ที่พัฒนาโดย Tencent นั้นมีผู้ใช้งานถึง 300 ล้านคนในปี 2013 หลังจากเปิดใช้งานแค่ 2 ปี ไม่แน่ใจว่า ณ ปัจจุบันยอดผู้ใช้งานพุ่งไปเป็นเท่าไหร่แล้วครับ
2
……………..
“Online-to-Offline”
การเติบโตแบบก้าวกระโดดของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือทำให้เกิดการขยายธุรกิจจาก online ไปยัง offline หรือที่เรียกว่า “online to offline (O2O)” ซึ่งก็คือการทำธุรกรรมบน online เพื่อที่จะใช้บริการที่เป็น offline ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ ride sharing หรือการเรียกรถบริการแบบ Uber ซึ่งของจีนนั้นเค้าก็มี ชื่อว่า “Didi” ซึ่งก็เป็นการใช้ application บนมือถือเราเรียกรถบริการหรือแท็กซี่ 🚕
3
อีกธุรกิจที่เป็นที่ยอดนิยมก็คือธุรกิจ food delivery ซึ่งธุรกิจพวกนี้สามารถทำผ่าน WeChat ได้หมดเลยครับ เรียกได้ว่าแอปพลิเคชั่นของเค้านั้นพัฒนามาเพื่อสร้างประสบการณ์อย่างไร้รอยต่อให้กับลูกค้าอย่างแท้ทรู !
1
ซึ่งการทำธุรกรรมโดยเฉพาะการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานมหาศาลโดนเก็บไว้ ทำให้ทางผู้ประกอบการมีข้อมูลและรูปแบบการใช้งานจำนวนมากของผู้ใช้งาน ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าข้อมูลมหาศาลนี่แหละมีส่วนสำคัญในการพัฒนา AI เป็นอย่างสูง
……………..
“AI Waves and Crisis” 🌊
1
การพัฒนาและความก้าวหน้าทาง AI นั้นเริ่มมาตั้งแต่ยุคแรกที่เรียกว่า “Internet AI” ตัวอย่างเช่น การที่เว็ปไซต์อย่าง YouTube สามารถแนะนำวิดีโอที่เราน่าจะชอบได้หรือเว็ปไซต์อย่าง Amazon สามารถแนะนำสินค้าที่เราน่าจะชอบได้
1
มาถึงยุคที่สองที่เรียกว่า “Business AI” ซึ่งคือการนำมาใช้ในธุรกิจเช่น การนำ AI มาช่วยในการวิเคราะห์การปล่อยสินเชื่อหรือใช้ในทางธนาคาร
1
จนมาถึงยุคที่สามที่เรียกว่า “Perception AI” คือการพัฒนา AI ที่ฉลาดขึ้น สามารถจดจำรูปแบบของข้อมูลได้ เช่น การใช้ face recognition นอกจากนี้ยังนำมาใช้ผสมผสาน “online-merge-offline (OMO)” เช่น ที่ร้าน KFC บางสาขาที่จีนสามารถเลือกชำระเงินได้ด้วย face recognition หรือมากไปกว่านั้น เช่น การนำไปใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่จดจำตัวเราได้จากการสแกนหน้าของเราและสามารถแนะนำสินค้าที่เราซื้อเป็นประจำได้อีกด้วย
2
จนกระทั่งมาถึงยุคที่น่าสนใจที่สุด คือ “Autonomous AI” ที่สามารถคิดและทำอะไรแทนมนุษย์ได้เลย ถึงแม้ว่ายังต้องมีการพัฒนาต่อในเรื่องของความปลอดภัยรวมถึงเรื่องของจริยธรรม ตัวอย่างของกลุ่มนี้ก็เช่น self-driving cars 🚗 ซึ่งหลายบริษัทได้พัฒนามาซักระยะหนึ่งแล้วนะครับ ทั้ง Google ที่ตั้งชื่อว่า “Waymo” (ใครสนใจว่าเค้าไปถึงไหนไปดูกันได้ที่ https://waymo.com/) หรือจะเป็น Tesla
1
💡 ซึ่งการที่ AI มีพัฒนาการมาถึงจุดที่มันสามารถคิด วิเคราะห์และตัดสินใจแทนมนุษย์ทำให้เกิดความกังวลว่าต่อไปในอนาคตนั้นจะมีอาชีพหลายอย่างที่จะโดน AI มาทดแทนมนุษย์
แน่นอนว่าเราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการนำ AI เข้ามาใช้ในธุรกิจเนื่องจากว่าความสามารถในการเก็บข้อมูลมหาศาลที่มนุษย์ไม่สามารถเก็บไว้ในสมองได้ ทั้งการช่วยทำให้งานที่ทำมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะ AI สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ไม่เหนื่อย ไม่ป่วย ไม่บ่น ไม่จำเป็นต้องพัก ซึ่งในที่สุดจะช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้ในระยะยาว แล้วทำไมเราถึงจะไม่ใช้หละครับ?
3
💥 ผู้เขียนนั้นได้เขียนแผนภาพไว้ในหนังสือให้เห็นว่าอาชีพแบบไหนที่จะโดนทดแทนได้ง่ายมากที่สุด เค้าได้อธิบายไว้ว่าก็คืออาชีพที่ไม่ต้องพบปะหรือพูดคุยกับใคร (Asocial) และก็ทำงานอยู่ในรูปแบบเดิม ๆ เช่น งาน customer service (ซึ่งทุกวันนี้โดนทดแทนไปเยอะแล้วนะครับ) งานแคชเชียร์ งานล้างจาน งานด้านการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในโรงงาน (เช่น ในโรงงานประกอบรถยนต์) หรือพนักงานขับรถในอนาคต
3
……………..
“AI Inequality Machine” 🤖
อย่างที่เล่าไปข้างต้นนะครับว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีด้าน AI ส่วนใหญ่จะแข่งกันอยู่สองประเทศคือจีนกับอเมริกา แม้แต่ทางยุโรปเองก็ยังพัฒนาในส่วนนี้น้อยอยู่ โดยในอนาคตผู้เขียนมองว่ามันจะมีลักษณะเหมือนการผูกขาดจากผู้เล่นแค่ไม่กี่เจ้า ประเทศที่เต็มไปด้วยการใช้ AI ก็จะพัฒนาไปไกลแบบฉุดไม่อยู่ เนื่องจากการมี “competitive edge” ที่สูง มีต้นทุนที่ต่ำ มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า เค้าบอกให้ลองนึกภาพบริษัท Apple หากใช้หุ่นยนต์มาทำ iPhone โดยไม่ต้องจ้างคนเลยจะประหยัดต้นทุนได้ขนาดไหน 🤔
1
ส่วนประเทศที่ไม่มีก็จะยิ่งลำบากและยากจนขึ้นไปเรื่อย ๆ ทำให้ยิ่งนานไป ก็จะยิ่งเกิดความไม่เท่าเทียมกันหรือช่องว่างเพิ่มมากขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศที่มีกับไม่มี AI
นอกจากนี้ก็จะมีมนุษย์ส่วนหนึ่งที่ต้องตกงานจากงานที่ถูกแทนที่ด้วย AI และไม่สามารถปรับตัวได้ ก็อาจจะเป็น “useless class” เหมือนที่ Yuval N. Harari เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง Homo Deus
……………..
“The Three R’s : Reduce, Retrain and Redistribute”
ผู้เขียนได้ให้แนวทางในการจัดการการมาทดแทนมนุษย์ของ AI ไว้เป็น 3R ดังนี้คือ reduce, retrain และ redistribute
💡 “Reduce” ก็คือการลดชั่วโมงการทำงานของคนลงเลย เนื่องจากว่าการนำ AI เข้ามาแทนทำให้ต้องการใช้คนน้อยลง ซึ่งการลดชั่วโมงการทำงานลงจะยังพอช่วยให้บริษัทยังสามารถเลี้ยงคนไว้ได้เท่าเดิม โดยที่ยังไม่ต้องลดคนลง
6
💡 “Retrain” ก็คือการฝึกทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานแบบใหม่ คนที่โดนทดแทนด้วย AI ต้องปรับตัวเองและไปทำงานใหม่ ซึ่งจะยังช่วยให้คนเหล่านั้นยังสามารถมีงานทำได้อยู่ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายจากการมี AI ด้วยเช่นกัน ตั้งแต่ AI Engineer, Machine Trainer หรือ AI Ethicist (นักวิเคราะห์จริยธรรมของ AI)
5
💡 “Redistribute” เป็นขั้นตอนสุดท้ายหากเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายสุด ๆ คือ AI เข้ามาทดแทนมนุษย์ได้เร็วมากจนแม้แต่การลดจำนวนชั่วโมงทำงานก็ไม่เพียงพอ อีกทั้งการฝีกทักษะใหม่ ๆ ก็ไม่สามารถทำได้ทัน (เนื่องจากการฝึกทักษะให้เชี่ยวชาญนั้นใช้เวลานาน) ก็จะทำให้มีคนจำนวนมากตกงาน ซึ่งในที่สุดเราอาจจะต้องมีการกระจายรายได้ไปสู่คนที่ตกงานซึ่งแน่นอนว่าเงินนั้นก็จะต้องมาจากการสนับสนุนจากบริษัทที่เป็นยักษ์ใหญ่ที่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นสูงลิ่วอะไรทำนองนี้ ซึ่งแน่นอนว่าแนวทางหรือนโยบายในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องหารือร่วมกันเป็นวงกว้างในอนาคต (😢 น่ากลัวเหมือนกันครับ)
……………..
2
“Human Love and Compassion” 👨‍👩‍👧‍👦
 
ผู้เขียนนั้นมีจุดพลิกผันครั้งใหญ่ในชีวิตเมื่อตอนที่เค้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ทำให้เค้าย้อนกลับมาคิดถึงความสำคัญของครอบครัว ความสำคัญของการเป็นมนุษย์และสิ่งที่มนุษย์นั้นมีแต่ AI นั้นไม่มีและไม่มีวันมาทดแทนได้ ซึ่งก็คือการให้ความรักและการเห็นอกเห็นใจกันนั่นเอง ❤️
สิ่งเหล่านี้นี่เองจะทำให้มนุษย์อย่างเรายังเป็นที่ต้องการในสังคมในอนาคตที่เต็มไปด้วย AI ยกตัวอย่างเช่น ทางการแพทย์ ในอนาคต AI คงสามารถวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคได้ดีกว่าหมอคนหนึ่งอย่างแน่นอน เนื่องจากฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ใส่ไปให้ AI รวมถึงความสามารถในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคนั้นจะสูงกว่ามนุษย์อย่างแน่นอน แต่ทว่ามนุษย์เราก็น่าจะยังคงต้องการหมอที่เป็นมนุษย์อยู่เพื่อที่จะมาคุยกับเรา แชร์ความรู้สึกให้ฟัง เล่าเรื่อง และแสดงความเห็นอกเห็นใจกันอยู่ 👨‍⚕️ ซึ่งเค้าบอกว่าอาชีพหมอในอนาคตอาจจะเปลี่ยนชื่อเป็น “compassionate caregiver” ซึ่งต้องอาศัยทักษะการสื่อสารกับคน การเห็นอกเห็นใจ รวมถึงจิตวิทยาด้วยครับ
1
อีกตัวอย่างคืองานด้านที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย ก็อาจจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการคุยให้คำปรึกษากับลูกค้ามากกว่าการหาข้อมูลเรื่องกฎหมายที่ AI สามารถทำได้ดีและเร็วกว่า ในขณะที่ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตคงไม่ต้องการแคชเชียร์อีกต่อไป แต่ต้องการพนักงานต้อนรับที่พูดคุย แนะนำ และดูแลให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การซื้อของที่ดี
1
📌 ในอนาคตความเป็นมนุษย์ส่วนนี้เองที่ผู้เขียนมองว่าจะทำให้มนุษย์ยังสามารถอยู่ร่วมกับ AI ได้อย่างมีคุณค่าและมีความหมาย งานหลายประเภทยังมีความต้องการมนุษย์มาทำอย่างที่กล่าวมาแล้วพวกงานดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ หรืองานกิจกรรมเพื่อสังคม อย่างไรก็ตามการจะปรับเปลี่ยนสังคมไปสู่รูปแบบอย่างที่ว่านี้ต้องใช้เวลาและการปรับเปลี่ยนตั้งแต่แนวคิดและนโยบายสาธารณะ รวมถึงการค่อย ๆ สร้าง “ecosystem” ให้กับการก้าวสู่สังคมรูปแบบใหม่
❓ถ้าถามว่าทุกคนในเวลานี้ว่ามีใครสนใจไปลงทุนในบริษัทที่ทำบริการเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุบ้างมั้ยครับ? คงแทบจะไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจเลยซักนิด...
💡 ดังนั้นสังคมในอนาคตจะเป็นอย่างไรมันก็อยู่ในมือของมนุษย์เราเองนี่แหละครับว่าเราจะตัดสินใจเขียนเรื่องราวในอนาคตของพวกเราอย่างไร
“We are not passive spectators in the story of AI – We are the authors of it”
……………..
📚 สุดท้ายนี้ต้องบอกว่าหนังสือเล่มนี้อ่านสนุก ได้ความรู้ และน่าติดตามมากครับ ทำให้เราได้เห็นภาพที่เราอาจจะยังนึกไม่ถึงในอนาคตว่าสังคมที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นเปลี่ยนโฉมไปขนาดไหน ไม่ใช่แค่ความรู้ทางด้านพัฒนาการของ AI แต่ทำให้เราได้คิดและตระหนักถึงเรื่องของสังคมในอนาคตมากขึ้น
📌📌📌 เราคงหลีกเลี่ยงการเข้ามาอยู่ร่วมกันระหว่าง AI กับมนุษย์ไม่ได้อยู่แล้ว ดังนั้นผมมองว่าสิ่งที่เราควรจะทำก็คือการเตรียมพร้อม การปรับตัว การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างมีคุณค่า ที่สำคัญที่ผู้เขียนเน้นย้ำก็คือ อย่าลืมจุดแข็งของความเป็นมนุษย์ก็คือการให้ความรักและการเห็นอกเห็นใจคนอื่นครับ 📌📌📌
“Let us choose to let machines be machines, and let humans be humans”
#AISuperPowers #BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook - facebook.com/TheCrazyBookReader
โฆษณา