28 ก.พ. 2021 เวลา 15:06 • ประวัติศาสตร์
เมื่อไม่กี่วันนี้เกิดแฮทแท็กนึงขึ้นมาในทวิตเตอร์ ที่สร้างความฮือฮาและความแปลกใจให้กับใครหลายๆคน นั่นก็คือ #SAVEบางกลอยนั่นเองค่ะ แอดเลยนึกขึ้นมาได้ว่าแอดเคยศึกษาและลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชนเผ่า เลยอยากจะมาเล่าให้ทุกคนฟัง เนื้อหาบางส่วนอาจมีความคิดเห็นส่วนตัวของแอด มา ! เริ่มกันเลยค่ะ
หลายคนคงรู้จักกลุ่มชาวเลมาแล้วบ้าง ซึ่งชาวเลเป็นชื่อเรียกรวมๆกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วชาวเลที่เรารู้จักกันนั้นมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย แต่วันนี้เราจะพูดถึง ชาวเลอูรักลาโว้ยกันค่ะ
ชาวเลอูรักลาโว้ยคือใคร ?
ตามประวัติศาสตร์ อูรักลาโว้ย เป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยมายาวนาน ก่อนที่ประเทศไทยจะรวบรวมแผ่นดินและประชากรเป็นรัฐชาติ เพื่อคงความเป็นเอกราชจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก พวกเขาเข้ามาตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และกระจายตัวออกไปตามหมู่เกาะ ต่างๆ ในแถบทะเลอันดามันที่เป็นอาณาเขตของประเทศไทย จากการสืบค้นได้ในหลายๆ ภาคส่วนสรุปได้ว่า “ซาตั๊ก” หรือเกาะลันตา เป็นแผ่นดิน แห่งแรกที่ชาวอูรักลาโว้ยลงหลักปักฐาน ก่อนที่จะแยกย้ายขยายถิ่นฐานไปยังพื้นที่อื่นๆ
ถิ่นกำเนิด ?
อูรักลาโว้ยซึ่งเป็นชนเผ่าที่ดำรงชีพด้วยการประมงชายฝั่งแบบพื้นบ้านในแถบทะเลอันดามัน มีประวัติศาสตร์บอกเล่าผ่านบันทึกของนักประวัติศาสตร์ตะวันตก และนิทานประจำถิ่นระบุว่า ชาวอูรักลาโว้ยมีถิ่นฐานอยู่แถบเกาะมะละกา เกาะลังกาวี อูรักลาโว้ยมีความผูกพันอยู่กับทะเล มีเรือเป็นเสมือนเพื่อน รู้ใจ เรือจึงมีความสำคัญกับชาวอูรักลาโว้ยในอดีตซึ่งเปรียบเสมือนได้กับเป็นบ้านหลังแรกที่อยู่อาศัยต้ังแต่ยุค ด้ังเดิมที่พวกเขานาเรือท่องไปตามหมู่เกาะต่างๆ มีการต้ังข้อสันนิษฐานหลายประการเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชาวอูรักลาโว้ย ทั้งท่ีสันนิษฐานว่าเป็นชนพื้นเมืองที่อพยพมาจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน โดยอพยพลงมาทางตอนใต้ล่องตามแม่น้าโขงเรื่อยมา จนถึงแหลมอินโดจีน และมีการสันนิษฐานอีกว่าอูรักลาโว้ยอาจอพยพมาจากบริเวณประเทศมาเลเซีย และจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวอูรักลาโว้ยโดยอาศัยเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะทางกายภาพ เพื่อ ต้ังข้อสันนิษฐาน อูรักลาโว้ยได้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มมาลาโย-โปลีนีเซียน แต่ก็ยังไม่มีการสรุปได้อย่างแน่นอนว่า เป็นชนพื้นเมืองเดิมของหมู่เกาะต่างๆ ตามฝั่งทะเลตะวันตกที่มีเชื้อชาติอะไร หรือเคยอยู่ในบริเวณใดอย่างแน่ชัด แต่พวกเขาเป็นพวกที่ล่องเรือไปตามท่ีต่างๆ
ชาวอูรักลาโว้ยบางกลุ่มยังมีตำนานเทือกเขา “ฆูนุงฌึรัย” ท่ีเชื่อกันว่าเมื่อ ประมาณ 500 – 600 ปีก่อน เคยเป็นถิ่นฐานของบรรพบุรุษอูรักลาโว้ย ก่อนอพยพเข้าสู่น่านน้ำไทยใน ปัจจุบัน และเป็นดินแดนศักดิ์สิทธ์ิในตำนานที่พวกเขาจะต้องทำพิธีลอยเรือไปเซ่นสรวงทุกคร้ังที่ลมมรสุมพัด เปลี่ยนทิศทาง
อ้างอิง : โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
ชาวอูรักลาโว้ยในโต๊ะบาหลิว
อูรักลาโว้ย แปลว่า คนของทะเล (อูรัก =คน / ลาโว้ย = ทะเล) หลายคนมักเรียกชาวอูรักลาโว้ยว่าชาวน้ำ ซึ่งนั่นเป็นที่ผิด เพราะชาวน้ำในความหมายของชาวอูรักลาโว้ย คือคนที่เกิดจากน้ำเชื้อสืบพันธุ์ของหญิงชาย ชาวอูรักลาโว้ยได้ยินแล้วอาจมีตะหงิดๆในใจ ฉะนั้นเราไม่ควรเรียกชาวอูรักลาโว้ยว่าชาวน้ำนะคะ เรียกว่าชาวเลอาจจะเพราะกว่า
ชาวอูรักลาโว้ยในชุมชนโต๊ะบาหลิว ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เดิมทีไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่โต๊ะบาหลิว อดีตอาศัยอยู่บริเวณคลองลัดบ่อแหน ซึ่งเป็นอีกฟากนึงของที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน หลายคนอาจสงสัยทำไมจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่อยู่ในปัจจุบันนั่นก็คือชุมชนโต๊ะบาหลิวนั่นเอง สาเหตุเนื่องมาจากอดีตบริเวณพื้นที่คลองลัดบ่อแหน เป็นพื้นที่สัมปทานถ่านไม้โกงกาง และชาวอูรักลาโว้ยเดิมทีเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง เมื่อมีการสัมปทานจึงมีการจ้างงาน ดังนั้นเกิดการตั้งถิ่นฐานขึ้นบริเวณชุมชนคลองลัดบ่อแหน จากการจ้างงานของนายจ้าง ซึ่งพวกเขาคิดว่ามีรายได้ที่มั่นคงกว่า และดีกว่า แต่ไม่ได้ละทิ้งวัฒนธรรม และประเพณีในการเดินเรือหาปลา หลังจากนั้นได้ไม่นานก็หมดสัญญาในการสัมปทาน ทำให้ชาวอูรักลาโว้ยที่อาศัยอยู่บริเวณคลองลัดบ่อแหนอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณชุมชนโต๊ะบาหลิว ‘ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน’ เนื่องจากง่ายต่อการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และภายหลังมีการประกาศเขตพื้นที่ป่าชายเลน แต่เนื่องด้วยชาวอูรักลาโว้ยนั้นอาศัยอยู่ก่อนการประกาศเขตอนุรักษ์ จึงอนุญาตให้อยู่อาศัยต่อได้ แต่มีการจำกัดพื้นที่มิให้ขยายอาณาเขต ก็คือไม่สามารถที่จะสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างเลยเขตที่รัฐกำหนดให้นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ยังมีกฏหมายอื่นๆ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติการประมง พศ.2490 มีการจำกัดพื้นที่ในการประมง ทำให้ชาวอูรักลาโว้ยในชุมชนมีพื้นที่จำกัดในการหาปลา
2. การเก็บภาษี กฏหมายได้ระบุให้มีการจัดเก็บภาษีเครื่องมือหาปลาของชาวประมงพื้นบ้านทุกชนิด ทั้งแห อวน ซึ่งวัดเป็นเมตร เมตรละไม่กว่า 100 บาท
อันที่จริงมีกฏหมายที่เป็นข้อจำกัดของการทำประมงพื้นบ้านมากกว่านี้ แต่ที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คือ 2 ข้อนี้ ซึ่งในเรื่องกฏหมายแอดไม่แน่ใจว่าในปัจจุบันยังมีอยู่หรือเปล่า อันนี้ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะคะ และยังไม่มีการเข้าถึงของน้ำประปา ปัจจุบันชาวบ้านอาศัยใช้น้ำโดยการซื้อน้ำถังจากพื้นที่ด้านนอก แต่มีไฟฟ้าใช้แล้ว แต่ค่าบริการไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น2เท่า หรือแพงกว่าพื้นที่ภายนอก เนื่องจากพื้นที่ที่ชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่นั้นเป็นพื้นที่ป่าชายเลน
ประเพณีของชาวอูรักลาโว้ยมักจะมีความเกี่ยวข้องกับทะเล และบรรพบุรุษ เช่น ประเพณีลอยเรือปราจัก ประเพณีอาบน้ำมนต์ ประเพณีแต่งเปลว เป็นต้น
หากใครไปเกาะลันตาแล้วอยากล่องเรือ สามารถอุดหนุนชาวอูรักรักลาโว้ยที่โต๊ะบาหลิวได้นะคะ หากใครอยากให้แอดนำเรื่องไหนมาเล่าสู่กันฟังสามารถคอมเม้นบอกไว้ได้เลยค่า
ข้อความบางส่วนอาจเป็นเนื้อหาปฐมภูมิ
โฆษณา