13 มี.ค. 2021 เวลา 05:21
เมื่อ Health is Wealth ....แค่สุขภาพดีอย่างเดียวจึงอาจไม่พอ
ช่วงนี้ผมได้ยินข้อความว่า "Health is Wealth" หลายครั้ง แปลง่ายๆ ได้ว่า “ความมั่งคั่งที่แท้จริงคือ “การมีสุขภาพที่ดี” มิใช่การมั่งมีเงินทอง” หรือจะใช้สำนวนภาษาไทยที่ใกล้เคียงกันคือ
4
"อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ"
1
สุขภาพดีมีค่ากว่าเงินทองมากมาย เพราะเงินที่กองท่วมตัวไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีให้กลับคืนมาได้ สุขภาพดีจึงเรื่องสำคัญที่เราต้องทำให้กับตัวเราเอง
พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราจะส่งผลต่อสุขภาพของเราเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง การดูแลเอาใจใส่ตัวเราทั้งร่างกายและจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ และรวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการรับความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสุขภาพอีกด้วย
สิ่งแวดล้อมรอบตัวและอาหารที่เราทานเข้าไป เป็นปัจจัยที่มีผลกับสุขภาพของเรา และเราก็อาจหลีกเลี่ยงได้ยาก เช่นคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ก็ต้องพบกับมลภาวะต่างๆ ในเมือง หรือคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีสารเคมีก็อาจรับสารเคมีเข้าไปโดยไม่รู้ตัวและสะสมอยู่ในร่างกายจนถึงจุดหนึ่ง กว่าเราจะรู้ก็เมื่อสารเหล่านี้มีผลกระทบต่อร่างกายของเราไปแล้ว
องค์การอนามัยโลกได้ทำการศึกษาและพบว่า 1 ใน 8 ของผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อมีสาเหตุจากมลพิษทางอากาศ และในอีกสามสิบปีข้างหน้า ประชากรทั่วโลกกว่า 70% จะอาศัยในเขตเมือง จึงเท่ากับมลพิษจะส่งผลต่อสุขภาพของคนมากขึ้น
Credit : Unsplash.com
Credit : ตามภาพ
อาหารก็เช่นกัน เราอาจเลี่ยงทานหวาน ทานเค็ม ทานมัน หรือปรุงอาหารทานเองจากวัตถุดิบที่ดี แต่วิถีชีวิตแบบคนเมืองก็ทำให้คนส่วนใหญ่ยังต้องซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมไปถึงพืชผักที่ปนเปื้อนสารพิษต่างๆ จากระบบเกษตรเชิงพาณิชย์ เป็นต้น
แม้เราจะดูเอาใจใส่ดูแลสุขภาพเราด้วยการออกกำลังกายและพักผ่อนเพียงพอ เราก็อาจป่วยได้จากสารพิษและสารอาหารที่ให้โทษซึ่งเรารับเข้าสู่ร่างกายโดยอาจไม่รู้ตัว รวมไปถึงกรรมพันธ์ของแต่ละคน ซึ่งเราจะสังเกตุได้จากอาการป่วยของผู้ใหญ่ในครอบครัว ตัวอย่างปัจจัยที่มีผลต่อการกเกิดมะเร็งตามภาพ
Credit : โรงพยาบาลเจ้าพระยา
ในวัยที่ร่างกายมีความแข็งแรงดี เราอาจยังไม่พบกับปัญหาด้านสุขภาพมากนักจนเราอายุมากขึ้นโดยเฉพาะในวัยหลังเกษียณ ร่างกายเริ่มอ่อนแอลงตามอายุ ความเสื่อมของร่างกายรวมกับผลของการใช้ชีวิตในวัยหนุ่มสาวทำให้โรคภัยไข้เจ็บเริ่มเกิดขึ้น
1
วัยชราจึงเป็นวัยที่เรามีโอกาสเจ็บป่วยได้มาก ประกอบกับร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาว การรักษาจึงมักใช้เวลายาวนานกว่าด้วย
1
TDRI ได้รวบรวมสถิติการเจ็บป่วยในแต่ละช่วงวัย ทำให้เห็นได้ว่าหลังอายุ 60 ปีเป็นต้นไป อัตราการเจ็บป่วยจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 46% ของคนในวัยดังกล่าว
Credit ตามภาพ
นอกจากนี้เมื่ออายุมากขึ้นต้องใช้เวลาในการรักษาและฟื้นตัวที่นานขึ้นด้วย ช่วงหนุ่มสาวการพักรักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ในขณะที่คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ต้องพักในโรงพยาบาลเฉลี่ย 8 วัน
Credit ตามภาพ
เมื่อต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล สิ่งที่ตามมาคือภาระด้านค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งขึ้นกับโรคภัยที่ประสบและระดับการให้การดูแลของสถานพยาบาล ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล สามารถดูได้ตามภาพด้านล่างนี้ ลองดูว่าเราจะบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้อย่างไรหากเราหรือคนในความรับผิดชอบเกิดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ขึ้นมาสักวันหนึ่ง
Credit : ตามภาพ
Credit : ตามภาพ
ทราบแบบนี้แล้ว เราก็ควรออกกำลังกาย และควรกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ร่างกายเราแข็งแรงได้ดี และการทานอาหารที่มีส่วนเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเมื่อมีอายุมากขึ้น
และเมื่อปัญหาสุขภาพยังเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย การมีสุขภาพดีเพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เพียงพอโดยเฉพาะเมื่ออายุเพิ่มขึ้นที่การรักษามีความยุ่งยากและใช้เวลามากขึ้น ทำให้เราต้องมีภาระด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มตามไปด้วย เราจึงควรเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาพยาบาลควบคู่ไปด้วย
การเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาพยาบาล ก็คือการเตรียมพร้อมด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับทรัพย์สินที่เรามีจนถึงระดับที่กระทบกับการใช้ชีวิตในช่วงเวลาที่ไม่ได้มีรายได้หลักอีกต่อไป
โฆษณา