25 ก.พ. 2021 เวลา 04:17 • การศึกษา
ครูและผู้ปกครองอาจเคยพบปัญหาเด็กมีผลการเรียนตกต่ำ เรียนช้า หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้บ้างมั้ย?
ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดเรื้อรังและส่งผลกระทบในระยะยาวกับเด็ก หากครูผู้ปกครองละเลยและขาดความเอาใจใส่
Cr.canva.com
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( Learning disorders; LD ) แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
🌡️บกพร่องด้านการอ่าน
🌡️บกพร่องด้านการเขียน
🌡️บกพร่องด้านทักษะทางคณิตศาสตร์
ลักษณะความบกพร่องทั้งหมดนี้มีพฤติกรรมที่สามารถบ่งชี้ได้คือ เด็กมีพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ และคิดวิเคราะห์ ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
Cr.piczabay
✍️สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดความบกพร่องในการเรียนรู้ นั้นมีทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมได้แก่การบาดเจ็บ ที่ศีรษะ การได้รับสารพิษ ส่วนปัจจัยที่ขัดขวางการเกิดได้แก่ การศึกษาของผู้ปกครอง การอ่านหนังสือ ในบ้าน เป็นต้น
✍️ครูและผู้ปกครองสามารถสังเกตลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่มีความบกร่องทางการเรียนรู้ได้ดังนี้
👉หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
👉ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จทำงานสะเพร่า
👉ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง
👉รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
👉ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า “ทำไม่ได้” “ไม่รู้”
👉อารมณ์ ขึ้นๆ ลงๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
👉ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
👉ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
✍️การดูแลรักษา
การดูแลรักษาเด็กที่มีความผิดปกติในการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้ง เด็ก ผู้ปกครอง ครูประจำชั้นและครูประจำวิชาของเด็ก ครูการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด แพทย์จึงมี บทบาทสำคัญในการประสานงานการดูแลรักษา (care coordination) เพื่อผลการรักษาและคุณภาพ ชีวิตของเด็กที่ดีขึ้นโดยมีแนวทางในการดูแลรักษาที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. อธิบายเด็กและผู้ปกครองในเข้าใจถึงความผิดปกติที่ส่งผลต่อการเรียนของเด็ก แพทย์ควรเขียน จดหมายถึงครูเพื่ออธิบายถึงข้อบกพร่องและจุดแข็งของเด็กที่ได้จากการประเมินเพื่อการดูแลรักษาร่วมกัน
2. แนะนำถึงสิทธิที่เด็กจะได้รับตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ พ.ศ. 2551 ซึ่งให้สิทธิทางการศึกษาที่สำคัญ ได้แก่การได้รับสื่อและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หรือการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แก่เด็กทั้งนี้แพทย์ควรถามความสมัครใจจากผู้ปกครองในการออกใบรับรองความพิการเพื่อใช้ยื่นขอรับสิทธิดังกล่าวแก่โรงเรียนหรือศูนย์ การศึกษาพิเศษ เด็กที่มีความผิดปกติในการเรียนรู้นี้ถือเป็นความรับผิดชอบของโรงเรียนในการ จัดการศึกษาแบบเรียนร่วม และมีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
3. ดูแลรักษาโรคร่วมที่พบได้ เช่น การให้ยาหากพบว่ามีโรคซนสมาธิสั้น หรือการปรึกษาจิตแพทย์
4. ส่งเสริมทักษะที่เด็กถนัดนอกเหนือจากการเรียนเช่นกีฬา ดนตรีหรือศิลปะ ซึ่งทำให้เด็กมีความ นับถือตนเองมากขึ้นเนื่องจากมีความสามารถที่เป็นที่ยอมรับ และมีประโยชน์ในการประกอบ อาชีพในอนาคต
5. ให้เวลาเด็กในการท างานที่ต้องใช้ทักษะที่เด็กบกพร่องนานขึ้น ประเมินผลโดยค านึงถึงความ
บกพร่องของเด็ก
6. การดูแลรักษาเฉพาะด้าน เนื่องจากความผิดปกติในการเรียนรู้มีความแตกต่างกันในแต่ละด้าน
6.1 การบำบัดรักษา(Intervention) คือการฟื้นฟูทักษะที่จำเพาะในด้านที่บกพร่อง
6.2 การช่วยเหลือ(Accommodation) คือการดูแลช่วยเหลือให้เด็กสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้ ทำงานหรือประกอบอาชีพได้แม้ยังมีความบกพร่องในการเรียนรู้อยู่ โดยวิธีการหรือเทคโนโลยีสิ่งอ านวยความสะดวก (assistive technology) การดูแลเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ จ าเป็นต้องท าทั้งสองด้านไปพร้อมๆกันโดยในช่วงแรกจะเน้นการบำบัดรักษาเพื่อการฟื้นฟูทักษะส่วนในช่วงหลังหรือเมื่อเด็กโตขึ้นแล้วจะเน้นการช่วยเหลือมากขึ้น
🤱การช่วยเหลือจากครอบครอบครัว
💪อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
💪เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
💪ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
หากครูและผู้ปกครองเข้าใจ ทราบสาเหตุและวิธีการรักษาที่ถูกต้องก็จะช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุขในอนาคต😊
References:
.
"โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล" https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/09042014-1907
.
โฆษณา