LIV.D อยากเห็นทุกคนมีสุขภาพที่
สนใจ แอดไลน์ : @698vxleb
การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ
ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันเกาะตับในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนมากจะไม่มีอาการใดๆ โดยมักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ หรือ พบโดยบังเอิญจากการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ หรือจากทำอัลตราซาวนด์ จากข้อบ่งชี้อื่นๆ โดยการตรวจเลือดวัดการทำงานของตับอาจเป็นปกติ หรือมีค่าเอนไซม์ตับส่วนมากจะมีค่าสูงกว่าปกติไม่มากนัก (2-5 เท่า ของค่าปกติ) การตรวจร่างกายอาจพบ ตับโต และอ้วนลงพุง มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกระหว่างภาวะไขมันเกาะตับชนิดธรรมดา (simple steatosis) และ ภาวะไขมันเกาะตับที่มีการอักเสบ (non-alcoholic steatohepatitis (NASH)) ออกจากกัน เนื่องจาก 2 ภาวะนี้มีการดำเนินโรคที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะตับชนิดธรรมดา จะมีไขมันสะสมในตับ โดยไม่ทำให้เกิดการอักเสบ หรืออาจมีการอักเสบเล็กน้อย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าประชากรทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุง (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง) ส่วนอัตราการเสียชีวิตจากโรคตับนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติทั่วไป ในขณะที่ผู้ป่วยภาวะไขมันเกาะตับที่มีการอักเสบจะมีไขมันสะสมในตับร่วมกับการอักเสบที่รุนแรง จนส่งผลให้เกิดพังผืดขึ้น ซึ่งในที่สุดสามารถกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ถึงร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วย การตรวจอื่นๆ ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้แก่ การตรวจทางรังสี รวมถึงการตรวจชิ้นเนื้อตับ
การรักษา
1
แม้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับจะมีการดำเนินโรคค่อนข้างช้า แต่การตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับการให้การรักษาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย เป้าหมายของการรักษาอยู่ที่การลดไขมันสะสมในตับและลดการอักเสบของตับในรายที่มีการอักเสบร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งการดำเนินโรคต่อไป
และต้องเสริมด้วย #LIV.D ดูแลตับ บำรุง ฟื้นฟู ตับ
สนใจสอบถาม แอดไลน์ : @698vxleb
โฆษณา