Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์และการแพทย์
•
ติดตาม
26 ก.พ. 2021 เวลา 09:11 • ประวัติศาสตร์
Peloponnesian War and the Plague of Athens : สงครามเพโลพอนีเซียน และ โรคระบาดแห่งเอเธนส์
1
โรคระบาดเป็นปัจจัยหนึ่งในการการกำหนดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์มนุษชาติ ความเจ็บป่วย ความตาย ได้เป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในสังคมในตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
โรคระบาดแห่งเอเธนส์ (the Plagues of Athens) เกิดขึ้นใน 430 ปีก่อนคริสตกาล ณ ดินแดนกรีก ในสงครามระหว่างนครรัฐเอเธนส์ และ สปาร์ตา (the Peloponnesian War) โรคระบาดที่เกิดขึ้นในเอเธนส์ได้คร่าชีวิต ประชากรและกำลังสำคัญของเอเธนส์ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงภายในเอเธนส์
เมื่อสงครามจบด้วยชัยชนะของสปาร์ตาและพันธมิตร ความเสียหายจากสงครามทำให้อำนาจและอิิทธิพลเหนือคาบสมุทรบอลข่านของทั้งสองนครรัฐได้ลดลงไป เปิดทางสู่อำนาจของอาณาจักรมาซิโดเนียในสมัยของพระเจ้าฟิลิปที่สอง บิดาของ อเล็กซานเดอร์มหาราช
1. สงครามเพลโลพอนีเซียน (431–404 BC) เกิดขึ้นหลังสงคราม Greco-Persian Wars (449 - 499 BC) ระหว่างอาณาจักรเปอร์เซียและกรีกที่มีกำลังสำคัญนำโดย นครรัฐเอเธนส์ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเล และสปาร์ตาที่มีทัพบกที่แข็งแกร่งที่สุด เอเธนส์และอีกหลายนครรัฐได้รวมตัวเป็น สันนิบาตเดเลียน (Delian League) เมื่อจบสงคราม ความสำเร็จทางการค้าทางทะเลและการสนับสนุนเงินบำรุงโดยพันธมิตรในสันนิบาต ได้ทำให้เอเธนส์เจริญรุ่งเรืองกลายเป็นที่ไม่ไว้ใจของสปาร์ตา
การเผยแพร่การปกครองแบบประชาธิปไตยของเอเธนส์ สู่นครรัฐต่างๆ ได้สร้างความไม่พอใจแก่สปาร์ตาและอีกหลายนครรัฐที่ปกครองในรูปแบบเผด็จการทหาร จึงนำมาสู่การจัดตั้งสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนโดยสปาร์ตาและพันธมิตร (Peloponnesian League) เพื่อคานอำนาจ
2. ช่วงแรกของสงคราม Archidamus war (431 – 421 BC) การแข่งขันระหว่างสองฝ่ายทวีความรุนแรงขึ้นจนถึงจุดแตกหักเมื่อ นครคอรินธ์(เพโลพอนนีเซียน) ขยายอำนาจการค้าทางทะเลจนเกิดข้อพิพาทกับ นครคอร์ซิรา(เดเลียน) การสนับสนุนโดยพันธมิตรทั้งสองฝ่ายจึงลุกลามสู่สงคราม สปาร์ตาได้นำกำลังทางบกล้อมเอเธนส์ ในขณะที่เอเธนส์ได้อพยพประชากรเข้าภายในกำแพงเมืองโดยไม่ได้เดือดร้อนมากนักเนื่องจากคุมท่าเรือ และน่านน้ำทะเลอีเจียนได้
3. โรคระบาดแห่งเอเธนส์ จนเมื่อราวปีที่สองของสงคราม จากบันทึกของ ทิวซิดิดีส (Thucydides) ซึ่งเป็นทหารชาวเอเธนส์ ได้เล่าถึง โรคระบาดที่แพร่กระจายเป็นวงกว้าง ที่มาจากเอทิโอเปีย สู่แอฟริกาตะวันตก สู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีอาการไข้ จาม เสียงแหบ เป็นอาการสำคัญ จนเมื่อโรคลุกลามจะมีอาการอาเจียนน้ำดี ผิวหนังมีตุ่มแดง ตุ่มหนอง และแฟลเปื่อย กระหายน้ำ นอนไม่หลับ ซึ่งโรคนี้ได้คร่าชีวิตคนประมาณ 75,000 - 100,000 คน ซึ่งนับเป็นกว่า 1/4 ของประชากรทั้งหมด
บรรยากาศในเมืองเอเธนส์เต็มไปด้วยความหดหู่ เมื่อผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ได้ดึงดูดแร้งมาสู่เมือง ความกลัวติดโรคทำให้การจัดการศพเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม เช่นการนำมากองไว้รวมกัน การนำมาเผารวมกันโดยวิธีการกองซ้อนๆศพขึ้นไป
การวิเคราะห์ด้วยอาการเบื้องต้นของโรคสันนิษฐานว่าเป็นโรค ไข้ทรพิษ และ รากสาดใหญ่ แต่จากการคำนวนอัตราผู้ติดเชื้อ และระยะเวลาการระบาด พบว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นสองโรคนี้ การขุดพบหลุมศพขนาดใหญ่ในปี 2001 ที่คาดว่าเป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ สามารถสกัดจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ไทฟอยด์ได้จากกระดูกกระโหลก แต่ยังไม่สามารถยืนยันว่าเป็นโรคที่ระบาดในครั้งนั้น เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นในยุคนั้น จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคใด
ภายหลังการะบาดของโรค เอเธนส์ได้ปรับกลยุทธ์โดยการหลีกเลี่ยงการรบทางบกกับสปาร์ตา โดยใช้การรบทางทะเลเป็นหลัก ซึ่งทำให้ชนะในสมรภูมิย่อยๆต่อมา
4. เริ่มต้นสงครามครั้งที่ 2 สงครามครั้งแรกจบลงด้วยการทำสัญญาสงบศึก (Peace of Nicias) ซึ่งระยะเวลาเกิดขึ้นเพียงแค่ 6 ปี เมื่อพันธมิตรของเอเธนส์บนเกาะซิซิลี่ ถูกโจมตีโดยนครซีรากูซา เอเธนส์จึงเห็นถึงช่องทางการขยายอำนาจโดยการรุกรานเกาะซิิลี่ สปาร์ต้าจึงส่งกำลังเข้าต่อต้าน สงครามนี้จบด้วยความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของ เอเธนส์
5. ช่วงสุดท้ายของสงคราม กำลังที่เหลือของเอเธนส์ และพันธมิตรยังคงทำการรบผลัดกันแพ้ชนะ ในขณะที่ฝั่งสปาร์ตาได้รับการสนุนจากพันธมิตรและอาณาจักรเปอร์เซีย ในปี 405 สงครามที่ Aegospotami เรือรบกว่า 186 ลำ และทหารของเอเธนส์ได้ถูกจับ ความหิวโหย และโรค จากการปิดล้อมเมืองเอเธนส์ ทำให้เอเธนส์ยอมแพ้สงครามในปีที่ 404 ก่อนคริสตศักราช เอเธนส์จึงถูกเปลี่ยนให้เป็นการปกครองในรูปแบบเผด็จการทหารเดียวกับสปาตาร์ นับเป็นจุดสิ้นยุครุ่งเรืองของเอเธนส์
จตุพร สุกิตติวงศ์ 26/2/21
1 บันทึก
3
1
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย