26 ก.พ. 2021 เวลา 16:39 • ปรัชญา
ประเมินผลประจำปี น้ำตาและรอยยิ้ม V.2
จากภาคที่แล้ว มีเพื่อนใน Facebook ที่ได้อ่าน แล้วส่งข้อความส่วนตัวมาบอกว่า มันยังไม่สุดขออีกนิด เลยถามกลับไปว่า ยังไม่สุดตรงไหน ได้คำตอบว่า แล้วหลังจากได้รับผลการประเมินประจำปีแล้ว จะทำยังไงต่อ HR ต้องทำให้สุดดิ อย่าทิ้งไว้กลางทางแบบนี้ มันไม่โอเค เลยเขียนเรื่องนี้ต่อใน V.2 จริงๆ ตั้งใจว่าจะเขียนสัปดาห์ละเรื่อง แต่ขอบคุณมากที่เข้ามาอ่านแล้วมี Feedback ครับ
มาต่อกันดีกว่า เอาละ พนักงานมาปรึกษาเรื่องผลการประเมินประจำปี ที่ตัวเองรู้สึกไม่โอเค ทำงานหนัก ทุ่มเท รักองค์กร แต่สุดท้ายได้ ต่ำกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ เอาดิทำไงดี ด้วยความเป็น HR ผมมักจะแนะนำ เป็นแนวทางใหญ่ 2 แนวทางคือ
1. เราทำงานแบบไม่ถูกต้อง ยังให้ความสำคัญผิดจุด ผิดเป้าหมาย ในมุมมองของหัวหน้า ทำให้ได้ผลการประเมินแบบนี้ พูดง่ายๆ คือเหนื่อยฟรีนะที่ทุ่มเท แต่ไม่กล้าพูดตรงๆ กับพนักงาน ลองคุยกับหัวหน้าและพัฒนาปรับปรุงการทำงานใหม่ ผลการประเมินปีหน้าอาจจะได้ดีกว่านี้ (คำแนะนำที่คิดบวกสุดๆๆ รักองค์กรโคตรๆ) คิดว่าพนักงานจะคิดเหมือนที่ผมแนะนำมั้ย มีครับ เพราะหัวหน้าเป็นคนเก่งและดี และมีการแนะนำ พนักงานที่ผมแนะนำแบบนี้ส่วนใหญ่ ก็ยังอยู่และทำงานต่อไป
2. ย้อนกลับไปข้อ 1 ผมก็แนะนำแบบนั้น แต่หัวหน้าไม่ใช่คนเก่งและดี และอื่นๆ อีกมายมายตามแต่สภาพความเป็นไปของบริษัท ความจำเป็นต้องอยู่รอดของหัวหน้า พฤติกรรมนิสัยส่วนตัวและความสามารถในการทำงาน จนถึงกับมีคำถามว่า มาถึงระดับนี้ได้ยังไง ฝีมือหรือฝีปาก เมื่อพนักงานแย้งผมมาด้วยเหตุผลนี้ ผมแนะนำแบบข้อ 1 ต่อไป คงจะไม่ใช่อะไรที่ดีแน่ เลยลองดูว่า การโอนย้ายภายในน่าจะเป็นทางออกที่ดี สำหรับการรักษาพนักงานที่ทุ่มเทในการทำงานให้อยู่กับองค์กรต่อไป ภายใต้ปัจจัยการโอนย้ายที่ไม่ใช่อภิมหาอำนาจ เงื่อนไขจากต้นทาง ปลายทาง ที่ดูแล้วเป็นการเสียหน้าซึ่งกันและกัน และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งถ้ามันโอนย้ายยากนัก พนักงานส่วนใหญ่ ก็จะพิจารณาตัวเอง คือ ลาออก
องค์กรมักจะไม่สนใจถ้าผลการประเมินประจำปีไม่ดี เป็นเรื่องปกติ HR ก็ต้องหามาทดแทนให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าก็มีคนรับผิดชอบแทนสักช่วงเวลา ผมมักจะบอกพนักงานเสมอๆ ว่า องค์กรที่เราทำงานเป็นองค์กรที่ดี แต่ควรอยู่กับความรักและความสุขกับตัวเอง มากกว่า การมอบความรัก ความสุขให้กับองค์กรมากกว่าที่มีให้กับตัวเอง.........
โฆษณา