27 ก.พ. 2021 เวลา 11:12 • สุขภาพ
มาคุยกันเรื่องวัคซีนโควิด-19 กันครับ ประเด็นนี้ได้เกิดการถกเถียงอย่างมากในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีประเด็นที่น่าสนใจหลายๆประเด็นครับ
1. ว่าด้วยเรื่อง Vaccine passport ฉีดวัคซีนแล้วสามารถเปิดประเทศได้หรือไม่
ต้องเข้าใจก่อนว่าการฉีดวัคซีน มีผลทำให้การติดโรคน้อยลงและทำให้โรคที่ติดมีอาการรุนแรงน้อยลง ไม่ได้มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น เมื่อ 2-3 วันที่ผ่าน บริษัท Pfizer ออกมาแถลงว่าผลการศึกษาวัคซีนPfizer ในอิสราเอล ออกมาอ้างว่าวัคซีนของ Pfizer สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ด้วย อันนี้ต้องรอข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ส่วนวัคซีนของบริษัทอื่น ยังไม่มีข้อมูลที่อ้างว่าป้องกันการแพร่เชื้อได้
ในกรณีที่เปิดประเทศ ถ้าประเทศต้นทางฉีดวัคซีนครบทั้งประเทศแล้ว แต่ประเทศปลายทางยังไม่ได้รับวัคซีน ครอบคลุม ประเทศปลายทางอ่วมแน่ๆ
ดังนั้นวัคซีน passport เหมาะกับประเทศที่ทำ Travel Bubble เท่านั้น
2. แนวทางประเทศอื่นๆที่ฉีดวัคซีนแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
ไม่มีประเทศไหนที่เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วก็ตาม แถมยังต้องกักกันตัวและSwab ก่อนเข้าประเทศเหมือนเดิม
3. มีข้อเสนอว่า ให้คนที่ฉีดวัคซีนได้รับการตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเข้าประเทศ ดีหรือไม่
ปัญหาอยู่ที่ว่าภูมิคุ้มกันคือความสามารถในการป้องกันและรักษาโรคเท่านั้น แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าไม่แพร่เชื้อ ดังนั้น ตรวจไปก็ไม่ได้ช่วยให้เบาใจขึ้นเลย
4. มีข้อมูลชัดว่าหลังจากที่เริ่มฉีดวัคซีนโดสที่ 2 ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด มีแนวโน้มลดลง แสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพหรือไม่
มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านออกมาวิเคราะห์ว่าจริงๆแล้ว แต่ละประเทศได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรน้อยมาก อย่างประเทศอิสราเอลที่ฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลก เพิ่งฉีดไปเพียง 37 % ขณะที่เซอร์เบีย ฉีดไป 7.2% อเมริกา 6.2% ขณะที่ประเทศที่ฉีดวัคซีนเป็นประเทศแรกอย่างอังกฤษ เพิ่งฉีดไปได้เพียง 1.1% ของประชากร นั่นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
.
ตัวเลขที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากวัคซีนแน่นอน แต่เกิดจากมาตรการLockdown ที่เข้มงวดมากกว่า
5. ประเทศไทย ทำไมต้อง Astrazeneca และ Sinovac
บอกตามตรงว่าผมไม่เห็นด้วยที่ไทยจะมีวัคซีนเพียง 2 ชนิด จริงๆเราน่าจะมีตัวเลือกมากกว่านี้ แต่ปัญหาในการจัดการของรัฐบาลและอย. เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรายังไม่ได้วัคซีน
ส่วนตัวผมมองว่าเอกชนควรมีส่วนร่วมในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
แต่ก็เกิดคำถามมากมายเรื่องการควบคุมคุณภาพ การขนส่งและการกระจาย ตรงนี้รัฐน่าจะจัดคณะกรรมการควบคุมคุณภาพเข้ามาดูแลและควบคุมร่วมกับบริษัทเอกชน เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกมิติ ทั้ง ความรวดเร็ว มาตรฐาน ประสิทธิภาพและความปลอดภัย
เรามีCargo ของการบินไทย ที่พัฒนารองรับการกระจายวัคซีนมาแล้วส่วนหนึ่ง น่าจะต่อยอดให้มากกว่านี้
ส่วนคำถามว่าทำไมเราถึงได้ astrazeneca และ sinovac
เนื่องจากกระบวนการสายพานการผลิตวัคซีนของไทย มีโรงงานที่ระบบการผลิตมีความคล้ายคลึงกันกับบริษัท astrazeneca เช่น โรงงานสยาม ไอโอไซเอนด์ นั่นทำให้ไม่ต้องลงทุนมากนัก และสามารผลิตและกระจายวัคซีนในภูมิภาคอาเซียนได้เลย
ส่วนของ Sinovac เนื่องจากบริษัทSinovac ของจีน กำลังพยายามทำตลาดในเอเชีย จึงให้ไทยเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดครั้งนี้ เราเลยได้วัคซีนมาโดยง่าย(กว่าบริษัทอื่นๆ) แต่ราคา อันนี้ไม่ทราบจริงๆ
.
6. ทำไมประเทศไทยจึงเริ่มฉีดวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่นๆ
ต้องยอมรับว่าการบริหารจัดการของรัฐบาลของไทย พลาดที่เจรจากับบริษัทต่างๆน้อยเกินไป แถมยังติดปัญหาเรื่องการส่งออกของวัคซีน เพราะทั้งอเมริกาและสหภาพยุโรปต่างกีดกันการส่งออกวัคซีนออกนอกภูมิภาค
อีกทั้งอย.ยังกีดกันเอกชนในการนำเข้าวัคซีนเพราะเป็นห่วงเรื่องมาตรฐาน ทำให้ต้องรอแต่ฝั่งรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ประเทศสิงคโปร์ แม้จะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่ 11 มกราคม 2021 แต่นับมาถึงปัจจุบัน มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสเพียง 110,000 คน คิดเป็น 1.93% ของประชากร ทั้งๆที่สิงคโปร์มีอำนาจในการต่อรองมากกว่าไทย การจัดวัคซีนยังทำได้อย่างยากลำบาก
ดังนั้น อย่าไปคาดหวังอะไรมากนัก
โฆษณา