28 ก.พ. 2021 เวลา 12:42 • ปรัชญา
EP110 : อุ ป า ท า น ขั น ธ์ ห้ า
มองให้เห็นตัวตนที่แท้จริง และทางพ้นออกจากทุกข์ หากคุณกำลังทุกข์กายหรือทุกข์ใจ ควรอ่านเพื่อตอบคำถาม…
ตอบ 5 คำถามที่เกี่ยวกับตัวเราเองให้ได้ จากการพิจารณาตัวเองผ่านธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และบอกสอนในสมัยพุทธกาล เหมือนท่านได้มาเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้
2
คำถามแรก -๑ : เ ร า คื อ ใ ค ร กั น แ น่ ?
(รู้ จั ก ก า ร ก่ อ ขึ้ น แ ห่ ง อุ ป า ท า น ขั น ธ์ ห้ า)
มนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ได้คำตอบจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทหนึ่ง ติดยึดตัวตนสามอย่างคือ 1)จิตวิญญาณ 2)รูปธรรม 3)นามธรรม
ทั้งสามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปอยู่ในโลกแห่งการปรุงแต่งที่เรียกว่า”สังสารวัฏ”
ธรรมชาติเหล่านี้ถูกเรา”หลงยึด” หรือ “อุปาทาน” ว่าเป็นตัวตน
เมื่อเราสังเกตุตัวเองตามคำสอนพระตถาคต ทุกคนต่างมีธรรมชาติอยู่ในตัวตนคือ จิตวิญญาณ และนามรูป ได้แก่ รูปร่างกาย ความรู้สึก ความคิดความจำ และความคิดอนาคต รวมเรียกว่า”ขันธ์ห้า”
ท่านสอนให้เราสังเกตการทำงานของธรรมชาติต่างๆเหล่านั้น ในชีวิตปกติทั่วไปอาจมองเห็นหรือตามทันได้ยาก แต่สามารถเรียนรู้ความจริงของเราได้ทีละหน่อยๆอย่างสม่ำเสมอทุกๆวันด้วยการนำสติมาอยู่กับกายหรือลมหายใจ ”กายคตาสติ””อานาปานสติ”
มันเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อเรามีสติอยู่กับลมหายใจ รู้เท่าทันลมหายใจที่เข้าและออกผ่านจมูกไป…
2
จิตเพ่งไปที่ลมหายใจ…
มโนใจโน้มไปที่ลมหายใจ…
วิญญาณไปรู้เห็นลมหายใจ…
เกิดความพอใจ (ฉันทะ)
เกิดความกำหนัด (ราคะ)
เกิดความเพลิน (นันทิ)
เกิดความอยาก (ตัณหา)
เกิดความหลงยึด (อุปาทาน)
วิญญาณได้เสวยลมหายใจหรือ”รูป”เป็นอารมณ์
สำคัญว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา เป็นอะไรที่เป็นเรา
นี่คือกระบวนการการหลงยึดของเราต่อร่างกาย นอกจากนี้ในลักษณะการก่อเกิดซึ่งการหลงยึดคล้ายๆกันนี้ต่อธรรมชาติอื่นที่เราหลงยึดอยู่คือ
รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, และวิญญาณไปตั้งอยู่เป็นอารมณ์นั้นๆ
ตลอดชีวิตเราดำรงอยู่ด้วยการหลงยึดแบบนี้
เราคือ “สัตต” ผู้มี”อวิชชา”ความไม่รู้ความจริงเป็นเครื่องกั้น มี “ตัณหา”ความอยากเป็นเครื่องผูก
“…คิดถึงสิ่งใด
ดำริถึงสิ่งใด
จิตฝังลงไป
สิ่งนั่นเป็นอารมณ์
เพื่อการตั้งอยู่ของ
วิญญาณ...”
1
คำถามที่สอง -๒: จิ ต มโ น วิ ญ ญ า น คื อ อ ะ ไ ร กั น แ น่ ?
(รู้ จั ก ก า ร ตั้ ง อ ยู่ ไ ม่ ไ ด้ ข อ ง อุ ป า ท า น ขั น ธ์ ห้ า)
เกิด ตั้งอยู่ และดับไป “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”
ธรรมชาติที่ไม่เคยเปลี่ยนแม้อดีตกาล อนาคต และปัจจุบัน นั่นคือการเกิดและดับในโลกแห่งการปรุงแต่งขึ้นมาแห่งนี้ที่เรียกว่า “สังสารวัฏ”
 
ธรรมธาตุทั้งหลายต่างไม่มีความเที่ยงแท้เกิดและดับอยู่อย่างนั้น
ตรงข้ามกับ”อสังขตธาตุ” สิ่งที่ไม่เกิดและดับ เที่ยงแท้อมตะอยู่อย่างนั้น
รูปกายของเราในยุคนี้มีอายุเฉลี่ยร้อยปีจึงจะดับไปในกรณีมนุษย์ทั่วไป(แต่ความตายหรือร่างแตกสลายไปนั้นก็อาจอุบัติขึ้นได้ทุกเวลา) ในขณะที่เวทนา สัญญา สังขาร นั้นพร้อมจะเกิดและดับทุกเมื่อที่จิตวิญญาณจะเข้าไปตั้งอยู่และดับไปเรียกว่า “อารมณ์”
ขณะที่เรากำลังเพ่ง”จิต”ให้ตั้งอยู่ที่”ลมหายใจ”ของเรา การจดนิ่งอยู่อย่างนั้นไม่ให้เคลื่อนไปไหนเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้
จิตเป็นธาตุรู้ เกิดและดับอย่างรวดเร็ว ณเวลาหนึ่งจิตอาจโน้มไปสู่ที่ตั้งใหม่ตลอดเวลา “ลหุปริวรรต”
ไม่ไช่เรื่องแปลกที่เรานั่งสมาธิเพียรใช้สติให้ระลึกอยู่กับลมหายใจเพียงอย่างเดียว แต่จิตใจของเราก็เคลื่อนไปธรรมธาตุอื่น เช่นความรู้สึก ความคิดอดีต การคิดปรุงอนาคตต่างๆ อยู่เสมอแม้ชั่วเวลาไม่กี่วินาทีก็เปลี่ยนแปลงได้ อยู่เป็นห้านาทีสิบนาทีก็ยังมี และบางครั้งด้วยเราหลงเพลินพอใจไปอาจนานเป็นหลายนาที เราจึงค่อยมีสติระลึกกลับมาอยู่ที่ลมหายใจอีกครั้ง
เกาะไปเกาะมาเหมือนลิงโหนเถาวัลย์ จิตเป็นสิ่งเกิดดับ แต่เรามองเห็นเหมือนการมาการไปของจิต
ลิงจับ โน้ม ปล่อย จับ โน้ม ปล่อย ไปเรื่อยๆในการเดินทางของมัน
จิตเพ่ง ใจโน้ม วิญญาณกระทบ วิญญาณตั้งอยู่ ไปเรื่อยๆในอุปาทานขันธ์ห้าเหมือนกัน
คำถามที่สาม -๓ : ทํ า ไ ม เ ร า จึ ง มี ค ว า ม รู้ สึ ก ?
(รู้ จั ก ร ส อ ร่ อ ย ข อ ง อุ ป า ท า น ขั น ธ์ ห้ า)
เมื่อมีร่างกาย จะมีระบบ “สฬายตนะ”คือ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ และรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสและธรรมารมณ์
เมื่อมีสฬายตนะ จะมี”ผัสสะ” หรือการกระทบ
เมื่อมีการกระทบ จะมี”เวทนา”ความรู้สึก
เวลาตาเราเห็นรูปอาหาร หูได้ยินเสียงทำอาหาร จมูกได้กลิ่นอาหาร ลิ้นยังไม่ได้ลิ้มรสแต่ก็น้ำลายไหลแล้ว
“กามฉันทะ” ความรู้สึกเมื่อเห็นไปจนถึงได้ลิ้มรสอาหาร ช่วงนี้จะเห็นธรรมธาตุต่างๆทำงานกันอย่างรวดเร็วจนตามไม่ทัน ตั้งแต่พอใจ เพลิน อยาก ใน ”กามคุณ”เช่นรสชาดดีๆของอาหาร มีความสุขเพลินติดใจในรสชาดนั้น
ความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบทำให้เกิดความรู้สึก3อย่างคือ สุข ทุกข์ และเฉยๆไม่ทุกข์ไม่สุข
คำถามที่สี่ -๔ : ทํ า ไ ม เ ร า จึ ง มี ค ว า ม ทุ ก ข์ ?
(รู้ จั ก โ ท ษ อั น ร้ า ย ก า จ ข อ ง อุ ป า ท า น ขั น ธ์ ห้ า)
เมื่อเกิดปัจจัย3อย่างมารวมกัน คือ ตา รูป และวิญญาณ ก็จะเกิด”ผัสสะ”หรือการกระทบ
เมื่อเกิดการกระทบ จะมี”เวทนา”หรือความรู้สึก
เมื่อเวลาที่เรารู้สึกสุข เราหลงไหลมัวเมา ย้ำสรรเสริญ เพลิดเพลินต่อไป
เราจะเกิดนิสัยไม่ดีคือมี”ราคะ” ความกำหนัด
1
เมื่อเวลาที่เรารู้สึกทุกข์ เราย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำครวญรำพัน ย่อมตีอกรำพัน ย่อมหลงเพลินต่อไป
เราจะเกิดนิสัยไม่ดีคือ”ปฏิฆะ” คือการเพิ่มความเคยชินให้การเป็นทุกข์นั้น ยอมนอนตาม
เมื่อเวลาที่เรารู้สึกเฉยๆไม่ทุกข์ไม่สุข “อุเบกขา” เราไม่รับรู้ตามความเป็นจริง ไม่รู้เหตุของความรู้สึกนั้น (สมุทัย)
ไม่รู้การดับไม่เหลือของความรู้สึกนั้น (อัตถังคมะ)
ไม่รู้รสอร่อยของความรู้สึกนั้น (อัสสาสะ)
ไม่รู้โทษของความรู้สึกนั้น (อาทีนวะ)
ไม่รู้อุบายเครื่องพ้นออกไปของความรู้สึกนั้น (นิสสรณะ)
เราจะเกิดนิสัยไม่ดีคือ”อวิชชา” คือการเพิ่มความเคยชินในการไม่รับรู้ตามความเป็นจริง ยอมนอนตาม
คำถามที่ห้า -๕ : ท่ า น ส อ น ใ ห้ เ ร า พ้ น ทุ ก ข์ อ่ ย า ง ไ ร บ้ า ง ?
(รู้ จั ก อุ บ า ย ที่ ไ ป ใ ห้ พ้ น อุ ป า ท า น ขั น ธ์ ห้ า)
สาระสำคัญของพุทธวจนะหรือคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า พระสูตรต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องของอริยสัจสี่ ความจริงตามที่เป็นจริง และแนวทางเพื่อพ้นทุกข์ เปิดทางกลับบ้านเก่าของ”สัตต”ไปสู่”อสังขตธรรม”การดับเย็น นิพพาน อมตะ
การเข้าถึงซึ่งธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ เข้าถึง”วิชชา” สั่งสมความเข้าใจในสัทธรรม “สุตตะ”
การหมั่นเพียรปฏิบัติทางสายกลางที่เรียกว่า”มรรคแปด”
การเพียรศึกษาและผึกหัด การเจริญสติและสัมปชัญญะในแต่ละวัน สิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอแม้ครั้งหนึ่งเพียงช่วงเวลาสั้นไม่ถึงวินาที คือการละความเพลินในเวทนาต่างๆแล้วกลับมาอยู่กับลมหายใจ “กายคตาสติ” “อานาปานสติ”
แม้กาลแห่งพุทธได้ล่วงเลยไปแล้ว พระธรรมจะเป็นกัลยานิมิตรของเราต่อไป
“พึ่งตนพึ่งธรรม” “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”
1
มีคีย์เวิร์ดมากมายที่เราสามารถเข้าไปศึกษาในบทธรรมพุทธวจนะ บางเรื่องเราเสพคบ อ่านใคร่ครวญก็เข้าใจได้ทันที บางบทก็ใช้เวลา คนเราอินทรีย์ไม่เท่ากัน เหตุปัจจัยไม่เหมือนกัน ไม่ไช่สาระสำคัญ สิ่งที่สำคัญคือ ศรัทธา วิริยะ สุตตะ จาคะ ปัญญา
การหันหลังให้สัทธรรมไม่ใคร่ครวญพิจารณาเรียนรู้ในวันนี้ ถึงวันหนึ่งอาจมืดมิดไร้หนทางไป และโอกาสสั่งสม
ถ้าจะรอศึกษาในชาติหน้า ต้องเข้าใจก่อนว่ามนุษย์ที่ไม่รู้ความจริงที่แท้ “ปุถุชน”นั้นเกิดครั้งหน้าส่วนใหญ่ไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เสียมาก พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นมาอีกองค์ต่อไปนั้นมีครับ แต่อีกหลายกัลป์ คือเป็นหมื่นๆปี
1
แนะนำนะครับ “พุทธวจน” ในandroid store, apple store, YouTube,Facebook ก็มีครับ
คีย์เวิร์ดแนะนำ #พุทธวจน #อานาปานสติ #อินทรียสังวร #โสดาบัน #อิทัปปจยตา #ปฏิจจสมุปบาท
1
โฆษณา