28 ก.พ. 2021 เวลา 13:37 • ประวัติศาสตร์
มกรา กุมภา มีนา เมษา
พฤษภา มิถุนา กรกฎา สิงหา
กันยา ตุลา พฤศจิกา พอถึงธันวา ก็กลับมา มกรา
4
สวัสดีวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ วันสุดท้ายของเดือนกุมภาในปีนี้ค่ะ
ใน 1 ปี เราอยู่แล้วว่ามี 12 เดือน
1
เดือนไหนลงท้ายด้วย คม มี 31 วัน เดือนไหนลงท้ายด้วย ยน มี 30 วัน
แต่เดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน หรือ 29 วัน เท่านั้นซึ่งทุก 4 ปี จะมี 29 วัน
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ มาดูความเป็นมากันค่ะ
เดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือนบริสุทธิ์มาจากเทพเจ้าโรมัน นามว่า เฟบรูอุส(Februus) เป็นเทพเจ้าแห่งความบริสุทธิ์ ที่แปลว่า การชำระล้าง การทำให้บริสุทธิ์
โดยกำหนดให้ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ คืนพระจันทร์เต็มดวงเป็นวันแห่งการชำระล้าง
ปฏิทินโรมันดั้งเดิม เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม-ธันวาคม มีเพียง 10 เดือน(304 วัน) ซึ่งการนับวันแบบนี้ใช้ต่อเนื่องยาวนานมาประมาณ 738 ปี ก่อนคริสตศักราช
จุดเปลี่ยนครั้งแรก เริ่มต้นที่สมัย จูเลียต ซีซาร์ ผู้นำคนใหม่ของอาณาจักรโรมัน เขามองว่าปฏิทินที่ใช้อยู่ นับเดือนตามข้างขึ้นข้างแรม มีจุดบกพร่องและไม่สมบูรณ์หลายจุด
จึงเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ เรียกว่า ปฏิทินจูเลียน ซึ่งยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
ทำให้ 1 ปี มีวันเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 2 เดือน คือ มกราคมและกุมภาพันธ์ นั่นเองค่ะ
1
โลกโคจรรอบด้วยอาทิตย์ 1 ปี ใช้เวลา 366.25224 วัน หรือประมาณ 1/4 วัน เมื่อทดรวมกันครบ 4 ปี จะเท่ากับ 1 พอดี ทำให้ทุกๆ 4 ปี มีวันเพิ่มขึ้นนั้นเอง
ซึ่งเศษที่เพิ่มจัดให้อยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเรียกปีแบบนี้ว่า ปีอธิกสุรทิน ซึ่งแปลว่า ปีที่มีวันเกิน
ภาพจาก unsplash
โฆษณา