28 ก.พ. 2021 เวลา 14:01 • การเมือง
ไทม์ไลน์ รัฐประหารเมียนมาร์ ครบรอบ 1 เดือน
เนื่องจากที่ผู้เขียนบทความอยู่ขณะนี้ กำลังอยู่ในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ช่วงที่ผมเข้ามาในประเทศพม่าเป็นช่วงโควิดกำลังระบาดหนักในพม่าและเป็นช่วงเวลา 4 วัน ก่อนที่จะมีการรัฐประหาร ผมจึงติดอยู่ในช่วงประวัติศาสตร์ของชาติพม่าและของโลก
ผมจึงอยากจะเก็บความทรงจำนี้ไว้ เป็นบันทึกการเดินทาง การผจญภัยของผมครั้งนี้อีกครั้งนึง และเป็นการรวบรวม สรุปช่วงระยะเวลา 1 เดือน(กุมภาพันธ์) ของการทำรัฐประหาร และครบ 1 เดือนของการอาศัยอยู่ในพม่า (28 ม.ค. - 28 ก.พ. 64)
Timeline
1 ก.พ. 64 วันแรกของการทำรัฐประหารของกองทัพเมียนมาร์ ทหารปฏิบัติการ เข้าจับกุมตัว อองซาน ซู จี ประธานาธิบดี วิน มินท์ และแกนนำของพรรค NLD ที่พักอยู่ในบ้านตอนเช้าตรู่ ก่อนที่คนเหล่านี้ จะเข้าประชุมสภาเพื่อรับรองผลการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ย. 63 ในวันเดียวกันนั่น
กองทัพ ซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า “ทัดมาดอว์” ประกาศสภาวะฉุกเฉิน 1 ปี ให้เหตุผลว่า มีการโกงการเลือกตั้งช่วงเดือนพฤศจิกายน 63 ซึ่งพรรค NLD ชนะแบบถล่มทลาย
นายพล มิน ออง ฮลาย ถือครองอำนาจสูงสุดทั้งหมด
หลังจากนั่น พรรค NLD ได้ปล่อยข้อความบันทึกที่เขียนโดยนาง ออง ซาน ซู จี ก่อนจะถูกจับตัวว่า ให้ประชาชนออกมาประท้วงแสดงการต่อต้านรัฐประหาร
2 ก.พ. 64 อเมริกา กำหนดว่าทหารยึดอำนาจคือการปฏิวัติ
ประชาชนเมืองย่างกุ้ง ตีกระทะ หม้อ บีบแตรให้เสียงดังทั่วเมืองช่วงเวลา 20:00-20:15 เพื่อแสดงการต่อต้านการรัฐประหาร หมอ พยาบาล จนท. สาธารณสุข และกลุ่มนักเรียน รณรงค์การประท้วงแบบอารยะขัดขืน
3 ก.พ. 64 หมอ พยาบาล จนท.ในโรงพยาบาลและองค์กรการแพทย์ทั่วประเทศพม่านัดหยุดงานประท้วง บางคนติดริบบิ้นแดงเพื่อแสดงการประท้วงเชิงสัญลักษณ์
ทหารพม่าเข้าตรวจค้นออฟฟิศพรรค NLD ทั่วประเทศและยึดเอกสาร คอมพิวเตอร์
ตำรวจพม่าตั้งข้อหา ออง ซาน ซู จี มีอุปกรณ์สื่อสาร walkie talkie ไว้ 6 เครื่องและใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตั้งข้อหา วิน มินท์ ละเมิดกฎหมายร้ายแรงช่วงโควิดระบาด
4 ก.พ. 64 ผู้ประท้วงกลุ่มใหญ่ในมันดาเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของพม่า ถูกจับอย่างน้อย 3 คน หลังจากประท้วงบนท้องถนน
สภาความมั่นคง UN เรียกร้องให้ปล่อยตัว ซูจี และคนอื่นๆ และประณามการปฏิวัติ
5 ก.พ. 64 ครูและจนท. รัฐบาลบางคน เข้าร่วม CDM(การเคลื่อนไหวอย่างอารยะขัดขืน) ด้วยการจะไม่ทำงานให้องค์กร จนกว่าจะคืนสถานะรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งกลับมา
กลุ่มเบียร์ญี่ปุ่น กิริน ระงับการร่วมลงทุนกับกลุ่มบริษัทของทหาร Myanmar Economic Holdings (MEHL)
6 ก.พ. 64 ทัดมาดอว์ มีคำสั่งบล็อค ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ซึ่งผู้ประท้วงใช้แชร์ภาพ ข้อมูลการประท้วง และเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ต
ผู้ประท้วงราวหมื่นคนออกมาเดินประท้วงรัฐประหารบนท้องถนนในเมืองย่างกุ้งและอื่นๆ
7 ก.พ. 64 ประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในพม่านับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งพระเป็นผู้นำให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตย
อินเตอร์เน็ตกลับมาใช้งานได้ แต่โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มยังคงบล็อคอยู่
8 ก.พ. 64 กองทัพประกาศเคอร์ฟิวในย่างกุ้ง มัณดะเลย์ และเมืองอื่นๆ และแบนการชุมนุมมากกว่า 5 คนในที่สาธารณะ
มิน ออง หล่าย ออกทีวีครั้งแรก เพื่อแถลงการณ์และสัญญาว่าจะเลือกตั้งใหม่ใน 1 ปี และมอบอำนาจแก่ผู้ชนะเลือกตั้ง
9 ก.พ. 64 ตำรวจยิงปืนขึ้นฟ้า และใช้รถฉีดน้ำ กระสุนยาง เพื่อเคลียร์ผู้ประท้วงในกรุงเนปิดอว์ มีนักศึกษาหญิงถูกยิงเข้าที่หัวระหว่างประท้วง
นิวซีแลนด์ ระงับสัญญาระดับสูงกับพม่าและแบนการเดินทางเข้าประเทศของนายทหารชั้นสูงของพม่า
11 ก.พ. 64 อเมริกา ประกาศคว่ำบาตรประธานาธิบดีแต่งตั้งและทหารระดับสูง และเตือนการว่าจะลงโทษพม่าด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ
มิน ออง หล่าย ออกมาเตือนให้ลูกจ้างของรัฐบาลกลับมาทำงาน หลังจากประท้วงหยุดงาน
12 ก.พ. 64 ประชาชนนับแสนคนออกมาแสดงพลังทางการเมืองบนท้องถนน มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 3 คนจากกระสุนปืนยาง
13 ก.พ. 64 สภาของพม่า ประกาศงดใช้กฏหมายชั่วคราว เพื่อจับกุมผู้ต้องสงสัยและเข้าค้นที่พักโดยไม่ต้องขอหมายศาล และสั่งการให้มีการจับกุมผู้สนับสนุนการประท้วงด้วย
16 ก.พ. 64 ตำรวจแจ้งข้อหาที่สองแก่นางซูจี ตามกฏหมายปราบปรามป้องกันความรุนแรงและภัยพิบัติของพม่า
19 ก.พ. 64 นักศึกษาหญิงผู้ประท้วงและโดนยิงเข้าที่หัวระหว่างการสลายการชุมนุมเสียชีวิตหลังจากรักษาตัว 10 วัน
21 ก.พ. 64 มีผู้ประท้วงตาย 2 คนใน มัณฑะเลย์
22 ก.พ. 64 เกิดการประท้วงอย่างสงบเพื่อชัตดาวน์ธุรกิจทั่วประเทศ
23 ก.พ. 64 มาเลเซียส่งชาวพม่า 1,086 คนกลับประเทศ ด้วยเรือของกองทัพเรือพม่า ตามคำตัดสินของศาล
25 ก.พ. 64 แพลตฟอร์ม facebook แบนเพจรัฐบาลพม่า
26 ก.พ. 64 ตัวแทนพม่าใน U.N. ออกมาแสดงถ้อยคำพร้อมชูสามนิ้ว “ให้ทำทุกทางที่จำเป็นเพื่อหยุดรัฐประหาร” วันต่อมา เขาก็ถูกไล่ออก
27 ก.พ. 64 ตำรวจใช้กำลังกวาดล้างและจับกุมผู้ประท้วงจำนวนหลักร้อยและยิงผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 1 คน
28 ก.พ. 64 อย่างน้อย 18 คนตายจากการยิงผู้ประท้วงของตำรวจ
นักกิจกรรมทั่วเอเชียร่วมกันเดินประท้วงเพื่อสนับสนุนผู้ประท้วงในพม่า
ฝากกดอีโมติคอน กดแชร์ คอมเม้นท์ เพื่อเป็นกำลังใจด้วยครับ
โฆษณา