1 มี.ค. 2021 เวลา 06:35 • ปรัชญา
กฏ 20 ไมล์ พลังแห่งการทำน้อยแต่สม่ำเสมอ
กฏ 20 ไมล์ พลังแห่งการทำน้อยแต่สม่ำเสมอ
กฏ 20 ไมล์ หรือ The 20 Mile Rule คืออะไร ?
1
กฏ 20 ไมล์นี้มาจากเรื่องจริงซึ่งต้องย้อนกลับไปในปี คศ.1911
มีนักสำรวจจาก 2 ชาติจากนอร์เวย์และอังกฤษได้แข่งขันกันว่า
ใครจะเดินทางถึงขั้วโลกใต้ได้เร็วกว่ากัน ?
1
ซึ่งทีมแรกได้แก่ นักสำรวจชาวอังกฤษ นำทีมโดย
โรเบิร์ต ฟอลคอน สก๊อต (Robert Falcon Scott)
และอีกทีมเป็นนักสำรวจชาวนอร์เวย์ นำทีมโดย
โรอัลด์ อมุนด์เซน (Roald Amundsen)
สิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างสองทีมนี้ก็คือ
ทั้ง 2 ทีมมีอายุ ความแข็งแรง ประสบการณ์
และการเผชิญกับสภาพอากาศในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน
แต่จุดที่แตกต่างกันคือ การเลือกวางแผนกลยุทธ์
ในการเดินทางของทั้งสองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
2
ในวันที่อากาศไม่ดี ทีมของโรเบิร์ต ฟอลคอน สก๊อต
จะพักอยู่ในเต็นท์ไม่ออกเดินทางไปไหน
แต่จะเดินทางเฉพาะวันที่อากาศดีเท่านั้น
ยิ่งอากาศดีมากเท่าไหร่สก๊อตก็จะบุกตะลุยเดินทางให้ได้
ระยะไกลที่สุดมากเท่านั้น เพื่อชดเชยวันที่ไม่ได้เดินทาง
ซึ่งบางวันเดินไกลสุดถึง 45 ไมล์เลยทีเดียว
2
ในขณะที่ทีมของโรอัลด์ อมุนด์เซน จะเดินทางทุกวัน วันละ 20 ไมล์
ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไรก็ตาม แม้ว่าเวลาเจออากาศดีๆ
สามารถเดินทางได้วันละ 30 ไมล์ แต่อมุนเซนด์ก็ยังเลือก
ที่จะเดินทางไม่เกิน 20 ไมล์อยู่ดี แต่ในวันที่อากาศเลวร้ายมากๆ
อมุนเซนด์ก็ยังออกเดินทาง แม้จะไปได้ไม่ถึง 20ไมล์
แต่แค่ขอให้ได้ออกเดินทางตามกลยุทธ์ที่วางไว้ในทุกๆวัน
ทั้งที่ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าทีมสก๊อตอยู่ที่ไหน ใกล้จะถึงขั้วโลกเเล้วหรือยัง
2
บทสรุปของการแข่งขันนี้ ทุกคนคิดว่านักสำรวจชาติไหนที่ชนะ??
ในวันที่ 14 ธันวาคม 1911 ทีมของอมุนด์เซ็นสร้างประวัติศาสตร์
นำธงชาตินอร์เวย์ไปปักถึงขั้วโลกใต้เป็นทีมแรกสำเร็จ
และกลับถึง Basecamp อย่างปลอดภัยทุกคน
แต่ทีมของสก๊อตกลับไม่มีใครเหลือรอดกลับมาที่ Basecamp
เลยซักคนเดียว ทุกคนเสียชีวิตระหว่างทางอันเนื่องมาจาก
สภาพอากาศที่เลวร้าย
3
เรื่องนี้สอนอะไรเราบ้างหากเปรียบในเรื่องของการทำธุรกิจ ?
1. ทิศทางสำคัญกว่าความเร็วเสมอ
4
“เราอยู่ที่ไหน” “เรากำลังจะไปที่ไหน” “เราจะไปถึงตรงนั้นได้ยังไง”
คำถามเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของธุรกิจของคุณ
หากคุณต้องการไปให้ถึงเป้าหมาย คุณก็ต้องเดินทางไปตาม
ทิศที่เป้าหมายนั้นอยู่ แม้ว่าคุณจะสามารถวิ่งได้เร็วแค่ไหน
แต่ถ้าผิดทิศทางถึงอย่างไรก็ไม่ถึงเป้าหมายแน่นอน
2. ทัศนคติในการมองปัญหาของเจ้าของธุรกิจ
ทัศนคติของคุณเป็นได้ทั้งเพื่อนที่แสนดี หรือขณะเดียวกัน
ก็เป็นศัตรูที่น่ากลัว ดังเช่นเรื่องราวของนักสำรวจทั้งสองคณะนี้
ที่สะท้อนให้เราเข้าใจว่า การประสบความสำเร็จนั้น
ไม่ได้วัดกันเพียงแค่...ในช่วงเวลาดีดี อารมณ์ดีดี
วันมือขึ้นของชีวิตว่าเรามีทัศนคติและการกระทำที่สุดยอดดีเลิศแค่ไหน
แต่ที่มันสำคัญกว่านั้นก็คือ ในวันที่มรสุมพัดผ่านเข้ามาในชีวิต
วันที่มองไปทางไหนก็ดูเหมือนจะไม่ใช่วันของเราไปซะทุกอย่าง
เมื่อนั้น เรายังคงสามารถยืดหยัดประคองสิ่งที่เรายึดมั่น
ทำมันไปได้ตลอดหรือเปล่า
3
3. การวิเคราะห์สถานการณ์และมีแผนการรองรับที่ระบุด้วยเวลาชัดเจน
ถ้าคุณสามารถวิเคราะห์และมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ครบ
ในทุกๆแง่มุม คุณก็จะสามารถเลือกใช้กลยุทธ์
การวางแผนให้เหมาะกับคนในองค์กร การจัดการทำงานด้านต่างๆ
ตามระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง
นำไปสู่ผลลัพธ์ที่สามารถดึงศักยภาพของทุกคน
ในองค์กรมาใช้ได้อย่างเต็มที่
4
4. เล็กน้อยแต่ต่อเนื่องสำคัญกว่าทำๆหยุดๆ
ต่อให้คุณจะเป็นเต่าที่เดินช้าแต่ตราบใดที่คุณไม่หยุดเดิน
ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์อะไร วันนึงคุณก็จะถึงเส้นชัย
แต่หากคุณเป็นกระต่ายที่เดินตามอำเภอใจวันไหนอารณ์ดีก็เดินมาก
วันไหนอารณ์ไม่ดีก็เดินน้อย คุณจะไม่สามารถวางแผน
ทั้งเรื่องของเป้าหมายและร่างกายตัวคุณเองได้เลย
เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าวันพรุ่งนี้อากาศจะดีขึ้น
หรือไม่หรือจะเลวร้ายลงไปอีก
3
เรื่องจริงของกฎ 20 ไมล์นี้หากเปรียบกับการทำธุรกิจแล้วจะเห็นว่า
คนที่มีเป้าหมายชัดเจน มีการวางแผนกำลังคนกลยุทธ์อยู่ตลอด
รวมถึงการเดินไปข้างหน้าในทุกๆวันไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ต่อให้อาจจะไม่ได้เดินเร็วมากมายแต่ถ้าไม่หยุดเดินวันนึง
ก็จะถึงเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้อย่างแน่นอน
2
ติดตามTorpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
โฆษณา